นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
อิติปิโสภควา .....
สวากขาโต .....
สุปฏิปันโน .....
โอม ศรี คะเณศายะ นะมะ ฮา ขอความสำเร็จในด้านต่าง ๆ มีโชค มีทรัพย์ เงินทอง สมปรารถนา
โอม นะโม นารายะณายะ นะมะ (ณะ มัช)
โอม ลักษะ มะไย นะมะ
โอม นะมะ (นะมัส) ศิวายะ ขอพรคุ้มครองป้องกันสรรพภัย
โอม ปาระวัต ตไย นะม
โอม ศรี พรัม หมะ เณ นะมะ (พรหมา ยะ ณะมัช) ขอลาภขอผลและเป็นสิ่งมงคลดีงามกับเรา
โอม สะรัส วะ ตไย นะมะ /พระสุนทรีวาณี:อีกภาคหนึ่งของทางฮินดูคือพระแม่สุรัสวดี เทพแห่งปัญญา การเจรจาค้าขาย
คาถาพระสุนทรีวาณี (หัวใจพระอาการวัตตาสูตร)
ตั้ง นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ จบ)
มุนินทะ วะทะนัมพุชะ คัพภะสัมภะวะ สุนทะรีปาณีนัง สะระณัง วาณี มัยหัง ปิณะยะตัง มะนังฯ
(ท่อง สาม ห้า หรือ เจ็ด จบพร้อมคำแปล)
ทำการค้าขาย โชคลาภ ให้ภาวนาเพิ่มว่า...
เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก
โส มานิมา ฤ ฤา ฦ ฦา
สา มานิมา ฤ ฤา ฦ ฦา
คำแปล:นางฟ้า คือพระไตรปิฎกอันเกิดจากดอกอุบล คือพระโอษฐ์ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้พึ่งพำนักของสรรพสัตว์ทั้งหลาย ขอจงยังใจของข้าพเจ้าให้เอิบอิ่มปรีดาปราโมทย์ รู้แจ่มแจ้งแทงตลอดจำได้ ปฏิบัติตามได้ ในพระไตรปิฏกทั้งโลกียะและโลกุตตระนั้นเทอญ
ข้าพเจ้าทำผิด ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ
ต่อหน้า ลับหลัง เจตนา พลังเผลอ รู้เท่าไม่ถึงการณ์ กรุณาอภัยโทษ อย่าได้ถือโทษโกรธเคือง
และอย่างสร่างซึ่งเมตตาเลย
ข้าพเจ้ากราบอาราธนา
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 5 พระองค์ นะโมพุทธายะ
พระพุทธเจ้า พระปัจเจกโพธิ์ พระธรรม พระสงฆ์ บิดามารดาทุกภพทุกชาติ
ครูบาอาจารย์ทุกภพทุกชาติ พระโพธิ์สัตว์
พระบรมสารีริกธาตุ สังเวชนียสถาน 4
หลวงพ่อโสธร หลวงพ่อวัดไร่ขิง หลวงพ่อวัดบ้านแหลม หลวงพ่อโตบางลี หลวงพ่อทองวัดเขาตะเครา
พระพุทธชินราช พระแก้วมรกต พระพุทธสิหิงค์
หลวงพ่อพุทธมงคล และพระประธานในพระอุโบสถที่ข้าพเจ้าได้ไปนมัสการมา
ท่านเจ้าประคุณหลวงปู่อรุกขเทวาจักระพรหมมุนี อิกะวิติพุทโธ อะมะมะวา
พระครูฤษี พ่อครูฤษีปลัยโกฎิมหาพรหมฤษี อิติปิโสภควา โชคดี
พระฤษีนารอท พระฤษีนารายณ์ พระฤษีกไลยโกฎิพระฤษีพุทธมงคล พระฤษีสิงหดาบส พระฤษีสัจจพันธ์คีรี
พระฤษีมุนีดาบส พระฤษีหน้าวัว พระฤษีตาไฟ พระฤษีกสสป พระฤษีศรีจันทร์ พระฤษีทั้ง 108 พระองค์
พรหม อรูปพรหม เทพไท้เทวา เทวสตรี ทุกรูปทุกนาม แม่พระธรณี แม่รวงข้าว
สิ่งศักดิ์สิทธิ์ในสถานที่นี้และในสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ที่
ข้าพเจ้าเคยได้ไปอธิษฐานไว้ จะสวดมนต์ถวาย ขอหลวงปู่ได้
โปรดเมตตาน้อมนำท่านทั้งหลาย ร่วม ฟัง สวดพระอาการวัตตสูตร
เพื่อเพิ่มกำลัง เพิ่มบารมีและอนุโมทนาบุญ ณ กาลบัดเดี๋ยวนี้ด้วยเถิด
และผู้ที่ต้องการบุญนี้จงอนุโมทนาบุญได้ทันทีเทอญ สาธุ สาธุ สาธุ
ข้าพเจ้าขอสวดเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา
บิดามารดาบูชา ครูบาอาจารย์บูชา
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโน สัมมาสัมพุธธัสสะ
เอวัเม สุตัง เอกัง สะมะยัง ภะคะวา ราชะ คะเห วิหาระติ คิชฌะกูเฎ ปัพพะเต อะถะโข อายัสมา
สาริปุตโต เยนะ ภะคะวา เตนุปะสังกะมิ อุปะสังกะมิตตะวา ภะคะวันตัง อะภิวาเทตวา เอกะมันตัง นิสิทิ
ตัง โข ปะนะ ภะคะวันตัง เอวัง กัลยาโณ กิตติสัทโท อัพพุคคะโต
อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทธโธ วิชชาจะระนะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ
โส อิมัง โลกัง สะเทวะวัง สะมาระกัง สะพรัมะกัง สัสสะมะณะพราหมะณิง ปะชัง
สะเทวะมะนุสสัง สะยัง อภิญญา สัจฉิกัตวา ปะเวเทสิ
โส ภะคะวา จักขุภูโต ญาณะภูโต ธัมมะภูโต ตัสสะทา ปะวัตตา
อัสสะ ชะเนนตา อะมะตัสสะ ทาตา
ธัมมะสามิ ธัมมะราชา ธังมัง เทเสสิ อาทิกัลยาณัง มัชเฌกัลยาณัง ปะริโยสานะกัลยาณัง
สาตถัง สะพยัญชะนัง เกวะละ ปะริปุณณัง ปะริสุทธัง พรัหมะจะริยัง ปะกาเสสิ
1. อิติปิโสภะคะวา อะระหัง
อิติปิโสภะคะวา สัมมาสัมพุทโธ
อิติปิโสภะคะวา วิชชาจะระณะสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สุคะโต
อิติปิโสภะคะวา โลกะวิทู
อิติปิโสภะคะวา อะนุตตะโรปุริสะธัมมะสาระถิ
อิติปิโสภะคะวา สัตถาเทวะมะนุสสานัง
อิติปิโสภะคะวา พุทโธ
อิติปิโสภะคะวา ภะคะวาติ
(พุทธะคุณะวัคโค ปะฐะโม)
คำแปล พระพุทธคุณวรรคที่1 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงครอบงำความทุกข์ได้ ทรงไม่มีความลับ ทรงบริสุทธิ์ หมดจดดี เป็นผู้ไกลจากกิเลส ทรงฝึกฝนจิตจนถึงแก่น
ทรงฝึกฝนจิตจนรู้ชอบ ทรงปฏิบัติจิตจนเห็นแจ้งด้วยตนเอง ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
ทรงสมบูรณ์พร้อมด้วยวิชชา การแสดงคุณค่าของจิตให้ปรากฎจรณะ เครื่องอาศัยให้วิชชาได้ปรากฎ
ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ทรงดำเนินไปในทางดี คือ อริยมรรค-ปฏิปทา เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี ทรงรู้แจ้งโลก
เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง ทรงบังคับยานขึ้นจากหล่มได้อย่างยอดเยี่ยม
เป็นผู้ฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า ทรงนำเวไนยนิกร ออกจากแดนมนุษย์และแดนเทพ
เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทรงฝึกฝนจิตจนถึงแก่น ทรงปฏิบัติจิตจนรู้แจ้งจิต
ทรงพลังการฝึกปรืออันถูกชอบเป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานด้วยธรรม
พระผู้ทรงธรรมเป็นผู้จำเริญจำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์
2. อิติปิโสภะคะวา อะภินิหาระ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อุฬารัชฌาสะยะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปะนิธานะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา มะหากะรุณา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปะโยคะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ยุติ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ชุติ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา คัพภะโอกกันติ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา คัพภะฐิติ ปาระมิสัมปันโน
(อะภินิหาระวัคโค ทุติโย)
คำแปลอภินิหารวรรคที่2 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมีคือ พระบารมีเกี่ยวกับอภินิหาร พระบารมีเกี่ยวกับอัชฌาสัยอันโอฬาร
พระบารมีเกี่ยวกับพระปณิธาน พระบารมีเกี่ยวกับพระมหากรุณา พระบารมีเกี่ยวกับพระญาณ
พระบารมีเกี่ยวกับการประกอบความเพียร พระบารมีเกี่ยวกับข้อยุติของข้องใจ พระบารมีเกี่ยวกับจิตใจ
โชติช่วงชัชวาลย์ พระบารมีลงสู่พระครรภ์ พระบารมีดำรงอยู่ในพระครรภ์
3.อิติปิโสภะคะวา คัพภะวุฏฐานะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา คัพภะมะละวิระหิตะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อุตตะมะชาติ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา คะติ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะภิรูปะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สุวัณณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา มะหาสิริ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อาโรหะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปะรินาหะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สุนิฏฐะ ปาระมิสัมปันโน
(คัพภะวุฏฐานะวัคโค ตะติโย)
คำแปล คัพภวุฏฐานวรรคที่3 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีอยู่รอดจากพระครรภ์ พระบารมีปราศจากมลทินในการคลอด พระบารมี
มีพระชาติอันอุดม พระบารมีที่ทรงดำเนินไป พระบารมีทรงพระรูปอันยิ่งใหญ่ พระบารมีทรงมีผิวพรรณงาม
พระบารมีทรงมิ่งขวัญอันยิ่งใหญ่หลวง พระบารมีเจริญวัยขึ้น พระบารมีผันแปร พระบารมีในการคลอดสำเร็จ
4. อิติปิโสภะคะวา อะภิสัมโพธิ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สีละขันธะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สะมาธิขันธะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปัญญาขันธะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ทะวัตติงสะมะหาปุริสะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
(อะภิสัมโพธิวัคโค จะตุฏโฐ)
คำแปล อภิสัมโพธิวรรคที่4 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีในการตรัสรู้เองยิ่ง พระบารมีในกองศีล พระบารมีในกองสมาธิ
พระบารมีในกองปัญญา พระบารมีในมหาปุริสลักขณะสามสิบสอง
5. อิติปิโสภะคะวา มะหาปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปุถุปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา หาสะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ชะวะนะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ติกขะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปัญจะจักขุ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อัฏฐาระสะพุทธะกะระ ปาระมิสัมปันโน
(มะหาปัญญาวัคโค ปัญจะโม)
คำแปล มะหาปัญญาวรรคที่5 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีในมหาปัญญา พระบารมีในปัญญาอันหนาแน่น พระบารมีในปัญญาอันร่าเริง
พระบารมีในปัญญาอันแล่นเร็ว พระบารมีในปัญญาอันกล้าแข็ง พระบารมีในดวงตาทั้งห้า คือ ตาเนื้อ ทิพพจักษุ
ปัญญาจักษุ ธรรมจักษุ พระบารมีในการทำพุทธอัฏฐารส
6. อิติปิโสภะคะวา ทานะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สีละ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา เนกขัมมะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา วิริยะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ขันตี ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สัจจะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะธิษฐานะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา เมตตา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อุเปกขา ปาระมิสัมปันโน
(ปาระมิวัคโค ฉัฏโฐ)
คำแปล ปาระมิวรรคที่6 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีในการให้ปัน พระบารมีในการรักษากาย วาจา ใจ ให้เป็นปกติ
พระบารมีในการเว้น ขาดจากความประพฤติแบบประชาชนผู้ครองเรือน พระบารมีกำกับศรัทธาคือปัญญา
พระบารมีในความกล้าผจญทุกสิ่งด้วยความมีสติความพากเพียร พระบารมีในความต้องการเป็นพุทธะด้วยความมีสัจจะ
ความจริงใจต่อตนเองและผู้อื่น พระบารมีในการตั้งจิตไว้ในฐานอันยิ่ง พระบารมีในความเมตตา
พระบารมีในความอดทน พระบารมีในความวางใจตนได้
7. อิติปิโสภะคะวา ทะสะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ทะสะอุปะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ทะสะปะระมัตถะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สะมะติงสะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ตังตังฌานะฌานังคะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะภิญญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สะติ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สะมาธิ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา วิมุตติ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา วิมุตติญาณะ ปาระมิสัมปันโน
(ทะสะปาระมิวัคโค สัตตะโม)
คำแปล ทสบารมีวรรคที่7 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีสิบขั้นต้นบำเพ็ญด้วยวัตถุสิ่งของ
พระบารมีสิบขั้นกลางบำเพ็ญด้วยอวัยวะร่างกาย พระบารมีปรมัตถ์สิบขั้นสูงบำเพ็ญด้วยชีวิต
พระบารมีสามสิบทัศสมบูรณ์ พระบารมีในฌาน และองค์ฌานนั้นๆ พระบารมีทรงญาณอภิญญายิ่ง พระบารมี
มีสติรักษาจิต พระบารมีทรงสมาธิมั่นคง พระบารมีในวิมุตติความหลุดพ้น
พระบารมีที่รู้เห็นความหลุดพ้นของจิต
8. อิติปิโสภะคะวา วิชชาจะระณะวิปัสสะนาวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา มะโนมะยิทธิวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อิทธิวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ทิพพะโสตะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปะระจิตตะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปุพเพนิวาสานุสสะติวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ทิพพะจักขุวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา จะระณะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา จะระณะธัมมะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะนุปุพพะวิหาระ ปาระมิสัมปันโน
(วิชชาวัคโค อัฏฐะโม)
คำแปล วิชชาวรรคที่8 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีในวิปัสสนา วิชชาในวิชชา3 และจระณะ15 พระบารมีในวิชชามโนมยิทธิ
พระบารมีในอิทธิวิชชา พระบารมีในทิพพโสตวิชชา พระบารมีในปรจิตตวิชชา พระบารมีในปุพพนิวาสานุสสติวิชชา
พระบารมีในทิพพจักขุวิชชา พระบารมีในจรณวิชชา พระบารมีในวิชชาจรณธรรมวิชชา พระบารมีในอนุปุพพวิหารเก้า
9. อิติปิโสภะคะวา ปะริญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปะหานะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สัจฉิกิริยา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ภาวะนา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปะริญญาปะหานะสัจฉิกิริยาภาวะนา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา จะตุธัมมะสัจจะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปะฏิสัมภิทาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
(ปะริญญานะวัคโค นะวะโม)
คำแปล ปริญญาณวรรคที่9 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเพียบพร้อมในพระบารมี คือ พระบารมีกำหนดรู้ทุกข์ พระบารมีละเหตุให้เกิดทุกข์ คือ ตัณหา
พระบารมีทำจิตให้แจ่มแจ้ง คือ นิโรธ พระบารมีอันเป็นมรรคภาวนา
พระบารมีในการกำหนดรู้การละการทำให้แจ้งและการอบรมให้มีให้เป็น พระบารมีในธรรมสัจจะทั้งสี่
พระบารมีในปฏิสัมภิทาญาณ
10. อิติปิโสภะคะวา โพธิปักขิยะธัมมะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สะติปัฏฐานะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สัมมัปปะทานะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อิทธิปาทะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อินทรียะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา พะละปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา โพชฌังคะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อัฏฐังคิกะมัคคะธัมมะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา มะหาปุริสะสัจฉิกิริยา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะนาวะระณะวิโมกขะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะระหัตตะพะละวิมุตติ ปาระมิสัมปันโน
(โพธิปักขิยะวัคโค ทะสะโม)
คำแปล โพธิปักขิยะวรรคที่10 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีในโพธิปักขิยธรรม พระบารมี มีพระปัญญาในสติปัฏ-ฐาน พระบารมี
มีพระปัญญาในสัมมัปปธาน พระบารมี มีพระปัญญาในอิทธิบาท พระบารมี มีพระปัญญาในอินทรีย์หก พระบารมี
มีพระปัญญาในพละห้า พระบารมี มีพระปัญญาในโพชฌงค์เจ็ด พระบารมี มีพระปัญญาในมรรคแปด
พระบารมีในการทำแจ้งในมหาบุรุษ พระบารมีในอนาวรณวิโมกข์ พระบารมีในวิมุตติอรหัตตผล
11. อิติปิโสภะคะวา ทะสะพะละญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ฐานาฐานะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา วิปากะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สัพพัตถะคามินีปะฏิปะทา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา นานาธาตุญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา นานาธิมุตติกะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อินทริยะปะโรปะริยัตตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา นิโรธะวุฏฐานะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปุพเพนิวาสานุสสะติญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา จุตูปะปาตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อาสะวักขะยะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
(ทะสะพะละญาณะวัคโค ทะสะโม)
คำแปล ทศพลญาณวรรคที่11 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระทศพลญาณบารมีอันได้แก่ พระบารมีรู้ฐานะและอฐานะ
พระบารมีรู้วิบากโดยฐานะโดยเหตุ พระบารมีรู้ปฏิปทายังสัตว์ไปสู่ภูมิทั้งปวง
รู้โลกมีธาตุอย่างเดียวและมากอย่าง พระบารมีรู้อธิมุตของสัตว์ทั้งหลาย
พระบารมีรู้อินทรีย์ยิ่งและหย่อนของสัตว์ พระบารมีรู้ความเศร้าหมองและความผ่องแผ้วเป็นต้น
แห่งธรรมมีฌานเป็นต้น พระบารมีรู้ระลึกชาติได้ พระบารมีรู้จุติและอุบัติของสัตว์
พระบารมีรู้การกระทำให้แจ้งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะมิได้
12 . อิติปิโสภะคะวา โกฏิสะหัสสานังปะกะติสะหัสสานังหัตถีนังพะละธะระ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปุริสะโกฏิทะสะสะหัสสานังพะละธะระ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปัญจะจักขุญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ยะมักกะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สีละคุณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา คุณะปาระมิสะมาปัตติ ปาระมิสัมปันโน
(กายะพะละวัคโค ทะวาทะสะโม)
คำแปล กายพลวรรคที่12 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีทรงกำลังช้างทั้งหลายตั้งพันโกฏิพันปโกฏิ
พระบารมีทรงพลังแห่งบุรุษตั้งหมื่นคน พระบารมีหยั่งรู้จักขุห้า คือ ตาเนื้อ ตาทิพย์ ตาญาณ ตาปัญญา
ตาธรรม พระบารมีรู้การทำยมกปาฏิหาริย์ พระบารมีในสีลคุณ พระบารมีแห่งคุณค่าและสมาบัติ
13. อิติปิโสภะคะวา ถามะพะละ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ถามะพะละญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา พะละ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา พะละญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปุริสะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะตุละยะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อุสาหะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา คะเวสิญาณะ ปาระมิสัมปันโน
(ถามะพะละวัคโค เตระสะโม)
คำแปล ถามพลวรรคที่13 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีที่เป็นกำลังเรี่ยวแรงแห่งจิต พระบารมีกำลังเรี่ยวแรง
พระบารมีที่เป็นพลังภายใน พระบารมีเรี่ยวแรงแห่งจิต พระบารมีรู้กำลังเรี่ยวแรง พระบารมีที่เป็นพลังภายใน
พระบารมีรู้กำลังภายใน พระบารมีไม่มีเครื่องชั่ง พระบารมีญาณ พระบารมีอุตสาหะ
พระบารมีการแสวงหาทางตรัสรู้
14. อิติปิโสภะคะวา จะริยา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา จะริยาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา โลกัตถะจะริยา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา โลกัตถะจะริยาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ญาณัตถะจะริยา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ญาณัตถะจะริยาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา พุทธะจะริยา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา พุทธะจะริยาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ติวิธะจะริยา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปาระมิอุปะปาระมิปะระมัตถะ ปาระมิสัมปันโน
(จะริยาวัคโค จะตุระสะโม)
คำแปล จริยาวรรคที่14 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีที่ทรงประพฤติ พระบารมีรู้การที่ทรงประพฤติ
พระบารมีที่ทรงประทานให้เป็นประโยชน์แก่ชาวโลก(สังคมโลก) พระบารมีรู้สิ่งที่ควรประพฤติแก่ชาวโลก
พระบารมีที่ควรประพฤติแก่ญาติวงศ์ พระบารมีรู้สิ่งที่ควรประพฤติให้เป็นประโยชน์แก่พระญาติพระวงศ์
พระบารมีที่เป็นพุทธ-จริยา พระบารมีรู้สิ่งที่ควรประพฤติโดยฐานเป็นพระพุทธเจ้า พระบารมีครบทั้งสามอย่าง
พระบารมีครบทั้งบารมีอุปบารมีและปรมัตถบารมี
15. อิติปิโสภะคะวา ปัญจุปาทานักขันเธสุอะนิจจะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปัญจุปาทานักขันเธสุทุกขะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปัญจุปาทานักขันเธสุอะนัตตะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อายัตตะเนสุติลักขะณะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อัฏฐาระสะธาตุสุติลักขะณะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา วิปะรินามะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
(ลักขะณะวัคโค ปัณณะระสะโม)
คำแปล ลักขณวรรคที่15 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีเห็นอนิจจลักขณะในการยึดติดขันธ์ห้า
พระบารมีเห็นทุกขลักขณะในการยึดติดขันธ์ห้า พระบารมีเห็นอนัตตลักขณะในการยึดติดขันธ์ห้า
พระบารมีรู้ลักษณะสามในอายตนะทั้งหลาย พระบารมีรู้ลักษณะสามในธาตุสิบแปดทั้งหลาย
พระบารมีรู้ลักษณะอันแปรปรวนไป
16. อิติปิโสภะคะวา คะตัตถานะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา คะตัตถานะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา วะสิตะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา วะสิตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สิกขา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สิกขาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สังวะระ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สังวะระญาณะ ปาระมิสัมปันโน
(คะตัตถานะวัคโค โสฬะสะโม)
คำแปล คตัฏฐานวรรคที่16 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีในสถานที่ไปแล้ว พระบารมีหยั่งรู้สถานที่ไป
พระบารมีอยู่จบพรหมจรรย์ แล้วพระบารมีหยั่งรู้ว่าอยู่จบพรหมจรรย์แล้ว พระบารมีในการตระหนัก
พระบารมีรู้ในการตระหนัก พระบารมีสำรวมระวังอินทรีย์ พระบารมีรู้ในการสำรวมระวังอินทรีย์
17. อิติปิโสภะคะวา พุทธะปะเวณี ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา พุทธะปะเวณีญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ยะมะกะปาฏิหาริยะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ยะมะกะปาฏิหาริยะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา จะตุพรหมวิหาระ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะนาวะระณะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะปะริยันตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สัพพัญญุตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา จะตุวีสะติโกฏิสะตะวัชชิระ ปาระมิสัมปันโน
(ปะเวณีวัคโค สัตตะระสะโม)
คำแปล ปเวณิวรรคที่17 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีในพุทธประเวณี พระบารมีรู้ถึงพุทธประเวณี
พระบารมีในการทำยมกปาฏิหาริย์ พระบารมีรู้ในการทำยมกปาฏิหาริย์ พระบารมีการอยู่อย่างประเสริฐ
พระบารมีรู้อย่างไม่มีอะไรกั้นกาง พระบารมีรู้อย่างไม่มีขอบเขต พระบารมีรู้สรรพสิ่งทั้งปวง
พระบารมีวชิรญาณประมาณยี่สิบสี่โกฏิกัปป์หนึ่งร้อย
พุทธคุณโดยพิศดาร (บทสวดคู่ พระอาการวัตตาสูตร)
อิติปิโส ภะคะวา กัมมัฏฐานัง สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ยะมะโลกา สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ปะฐะวีธาตุ สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อาโปธาตุ สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา เตโชธาตุ สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา วาโยธาตุ สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อากาสะธาตุ สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา วิญญาณะธาตุ สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา โลกะธาตุ สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา จักกะวาฬะธาตุ สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา จาตุมหาราชิกา เทวา สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ตาวะติงสา เทวา สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ยามา เทวา สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ตุสิตา เทวา สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา นิมมานะระตี เทวา สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ปะระนิมมิตะวะสะวัตตี เทวา สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา พรัหมะปะริสัชชา เทวา สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา พรัหมะปะโรหิตา เทวา สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา มหาพรัหมา เทวา สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ปะริตตาภา พรัหมา เทวา สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อัปปะมาณาภา พรัหมา เทวา สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อาภัสสะรา พรัหมา เทวา สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ปะริตตะสุภา พรัหมา เทวา สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อัปปะมาณาสุภา พรัหมา เทวา สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา สุภะกิณหะกา พรัหมา เทวา สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อะสัญญิสัตตา พรัหมา เทวา สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา เวหัปผะลา พรัหมา เทวา สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อะวิหา พรัหมา เทวา สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อะตัปปา พรัหมา เทวา สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา สุทัสสา พรัหมา เทวา สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา สุทัสสี พรัหมา เทวา สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อะกะนิฏฐะกา พรัหมา เทวา สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อากาสานัญจายะตะนะ พรัหมา เทวา สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา วิญญานัญจายะตะนะ พรัหมา เทวา สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา อากิญจัญญายะตะนะ พรัหมา เทวา สัมมาวิชชาจะระณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา เนวะสัญญานาสัญญา ยะตะนะ พรัหมา เทวา สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา โสตาปัตติมัคโค สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา โสตาปัตติผะโล สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา สะกิทาคามิมัคโค สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา สะกิทาคามิผะโล สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อะนาคามิมัคโค สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อะนาคามิผะโล สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อะระหัตตะมัคโค สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อะระหัตตะผะโล สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา นิพพานัง ปะระมัง สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา นะโมเมสัพพะพุทธานัง สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา นะโมโพธิมุตตะนัง สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ตัณหังกะโร นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา เมธังกะโล นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา สะระนังกะโร นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ทีปังกะโร นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา โกญฑัญโญ นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา มังคะโล นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา สุมะโน นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา เรวะโต นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา โสภิโต นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อะโนมะทัสสี นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ปะทุโม นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา นาระโท นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ปะทุมุตตะโร นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา สุเมโธ นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา สุชาโต นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ปิยะทัสสี นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อัตถะทัสสี นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ธัมมะทัสสี นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา สิทธัตโถ นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ติสโส นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ปุสโส นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา วิปัสสี นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา สิขี นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา เวสสะภู นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา กะกุสันโธ นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา โกนาคะมะโน นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา กัสสะโป นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา โคตะโม นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
พระอาการวัตตาสูตร 5 วรรค
๑.อิติปิโส ภควา ทานปารมี ทานอุปปารมี ทานคตัสสริยะ สัมปันโน
โส ภควา สมติงสปารมีโย ปุโต โส ภควา
น ตัสส ภควโต อรหันตา สัมมาสัมพุทธัสส
อิติปิโส ภควา อรหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจรณสัมปันโน สุคโต โลกวิทู
อนุตตโร ปุริสทัมมสารถิ สัตถาเทวมนุสสานัง พุทโธ ภควาติ
อันนี้ชื่อว่า นะวะหะคุณวรรคที่ ๑
๒.อิติปิโส ภควา อุเปกขาปรมัตถปารมีโย
โส ภควา อุเปกขาปรมัตถปารมีโย
โส เทโส อนันตาทิคุโณ โส ภควา
อิติปิโส ปมาทัสส พลาพโล ปัญญาปัญญัง
โส ภควา พลังพลา
ปัญญังปัญญา ภาวนา เตชัง เตชา ทุปัญญัง ปัญญา สีลัญจ คุณะคุณัง จ โหตุ ปัจจโย
โส ภควา สัมปัณโน อิติปิโส อุตตมัง อุตตมา มหาทสพลังพลา
ปัญญัง ปัญญา เตชังเตชา ปุญญัง ปุญญา สีลัญจ คุณะคุณัง จโหตุ ปัจจโย
โส ภควา สัมปันโน โส ภควา อิติปิ สุขุมัง สุขุมา มหาทสพลังพลา
ปัญญังปัญญา เตชังเตชา ปุญญัง ปุญญา สีลัญจ คุณะคุณัง จโหตุ ปัจจโย สัมปันโน
โส ภควา อิติปิ สุขุมัง สุขุมา มหาทสพลังพลา
ปัญญังปัญญา สีลัญจ คุณะคุณัง จโหตุ ปัจจโย สัมปันโน
โส ภควา อิติปิ พุทธัสสะ สัมพุทโธ มหาทสพลังพลา
มุนีมุนา มหาคุณังคุณา ราชังปัญญาสีลัญจ คุณังวทัมมัง อภินิทารสัมปันโน
อิติปิโส ภควา อัตถชยสัมปันโน อิติปิโส ภควา ปณิธานะสัมปันโน
อิติปิโส ภควา ยนสัมปันโน อิติปิโส ภควา โยคะสัมปันโน อิติปิโส ภควา ปัพพะโยคะสัมปันโน
อิติปิโส ภควา ยุตตะสัมปันโน ยุตติสัมปันโน อิติปิโส ภควา โชติสัมปันโน
อิติปิโส ภควา โอคัณฑะสัมปันโน อิติปิโส ภควา กัมพินิสัมปันโน อิติปิโส ภควาติฯ
อันนี้ชื่อว่า ภังคนิวันตา วรรคที่ ๒
๓.อิติปิโส ภควา อะหะรังสัมปันโน อิติปิโส ภควา คัพภวุตถานัง สัมปันโน
อิติปิโส ภควา กัมพิชาติ สัมปันโน อิติปิโส ภควา สัมปุกุสลสัมปันโน
อิติปิโสภควา อรหสัมปันโน อิติปิโส ภควา ตะสัมปันโน อิติปิโส ภควา ปริวาระสัมปันโน
อิติปิโส ภควา นิอิมสมปุปัพพชายสัมปันโน อิติปิโส ภควา อภิสัมโพธิสัมปันโน อิปิโส ภควา ฯ
อันนี้ชื่อว่า ปริสัตตวันวรรคที่ ๓
๔.อิติปิโส ภควา สัมมาทิสัมปันโน
อิติปิโส ภควา ปัญญาสโน
อิติปิโส ภควา วิมุติสัมปันโน
อิติปิโส ภควา วิมุติยาสัมปันโน
อิติปิโส ภควา อภิคุณสัมปันโน
อิติปิโส ภควา สังขารักขันโธ อนิจจังลักขณสัมปันโน
อิติปิโส ภควา รูปักขันธา อนัตตา ลักขณปารมี สัมปันโน
อิติปิโส ภควา เวทนาขันธา อนัตตาลักขณปารมีสัมปันโน
อิติปิโส ภควา สังขารักขันธา อนัตตาลักขณปารมี สัมปันโน อิติปิโส ภควา ฯ
อันนี้ชื่อว่าปารสีตวรรคที่ ๔
๕.อิติปิโส ภควา ทาน ปารมีสัมปันโน
อิติปิโส ภควา อภิญญา ปารมีสัมปันโน
อิติปิโส ภควา สติยาระ ปารมีสัมปันโน
อิติปิโส ภควา สมิทาน ปารมีสัมปันโน
อิติปิโส ภควา สัมพิทา ปารมีสัมปันโน
อิติปิโส ภควา สัมปมาญาณ ปารมีสัมปันโน
อิติปิโส ภควา วิมุตติ ปารมีสัมปันโน
อิติปิโส ภควา ทวัตติงสมหาปุริสลักขณสัมปันโน
อิติปิโส ภควา อสีติพลปัญญา ลักขณสัมปันโน
อิติปิโส ภควา ทาน ปารมี
อิติปิโส ภควา ทาน อุปปารมี
อิติปิโส ภควา ทานปรมัตถ ปารมีสัมปันโน
อิติปิโส ภควา สัจจ ปารมี
อิติปิโส ภควา สัจจ อุปปารมี
อิติปิโส ภควา สัจจปรมัตถ ปารมีสัมปันโน
อิติปิโส ภควา เมตตา ปารมี
อิติปิโส ภควา เมตตา อุปปารมี
อิติปิโส ภควา เมตตา ปรมัตถปารมี สัมปันโน
อิติปิโส ภควา อุเปกขา ปารมี
อิติปิโส ภควา อุเปกขา อุปปารมี
อิติปิโส ภควา อุเปกขา ปรมัตถ ปารมีสัมปันโน
อิติปิโส ภควา สัมมุติ ปารมีสัมปันโน
อิติปิโส ภควา นิรุตติ ปารมีสัมปันโน
อิติปิโส ภควา สัมพิทาญาณ ปารมีสัมปันโน
อิติปิโส ภควา อิติปฏิพิทาญาณ ปารมีสัมปันโน
อิติปิโส ภควา ปัตตติสวารโพธิปักขยา ปารมีสัมปันโน
อิติปิโส ภควา โสตถาน ปารมีสัมปันโน
อิติปิโส ภควา อันย ปารมีสัมปันโน
อิติปิโส ภควา อปรยตน ปารมีสัมปันโน
อิติปิโส ภควา สัพพัญญาณ ปารมีสัมปันโน
อิติปิโส ภควา อรหัง สัมมาสัมพุทโธ น อุตัง สหเทสิถิตังฯ
อันนี้ชื่อว่า ปารมีทัตตวรรค ที่ ๕
อานิสงส์พระอาการวัตตาสูตร
พระอาการวัตตาสูตร พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ๒๘ พระองค์ที่ล่วงไปแล้วก็ดี พระพุทธเจ้าของเราในปัจจุบันนี้ก็ดี ได้ทรงตามกันมาทุกๆพระองค์ พระสูตรนี้ เป็นสูตรอันใหญ่ยิ่ง หาสูตรอื่นเปรียบเทียบมิได้ ด้วยพระไตรปิฎกทั้งสาม คือพระสูตร พระวินัย พระปรมัตถ์ ก็ร่วมอยู่ในพระสูตรนี้ โดยพรรณนาคุณพระสะมะติงสะ ๓๐ ทัศบริบูรณ์ เพราะฉะนั้นขอท่านทั้งหลายผู้ได้รับไปแล้ว อย่าได้ประมาททิ้งขว้างวางไว้ในที่อันไม่สมควร จงทำสักการะบูชาสวดมนต์ภาวนาสดับฟัง ตามสติกำลังด้วยเทอญ ทีนี้จะแสดงอานิสงส์ในพระอาการะวัตตาสูตรสืบต่อไป เอวัมเมสุตังเอกังสะมะยังภะคะวาราชะคะเห วิหะระติคิชฌะกูเฏ ปัพพะเตอะถะโขตยัสมาสาริปุสโต เยนะ ภะคะวา เตนุปะสังกะมิอุปะสังกะมิตตะวา ภะคะวันตัง อภิวาเทตตะวา เอกะมันตังนิสีทิ ณ บัดนี้จะแสดงความตามสมควรแก่เวยยากะระณะบาลี ที่มีมาในอาการะวัตตาสูตร โดยสรุปยุติในเรื่องความว่า ณ สมัยครั้งหนึ่งองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับระงับอิริยาบถ ณ คิชฌะกูฏ บรรพตคีรีวันใกล้กันกับมหานครราชคฤห์ธานี เป็นที่อาศัยโคจรบิณฑบาตพุทธาจิณวัตร อะถะโขอายัสมาสาริปุตโต ครั้งนั้นพระสารีบุตรพุทธสาวกผู้มีอายุเข้าไปสู่ที่เฝ้าสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายอภิวาทโดยอาการที่เคารพเป็นอันดีแล้ว ก็นั่งอยู่ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง อันปราศจากนิสัชชะโทษ ๖ ประการ เอกะมันตังนิสีทิสิสัชชะโขอายัสสะมะโตสาริปุตตัสสะ เมื่อพระสารีบุตรผู้มีอายุ นั่งอยู่ ณ ที่อันสมควรแล้ว จึงแลดูซึ่งสหธรรมมิกสัตว์ เกิดความปริวิตกในใจ คิดถึงการต่อไปในอนาคตภายหน้า อิเมโขสัตตานินะมูลาอิตีตะสิกขา อันว่าสัตว์ทั้งหลายเหล่านี้ ที่หนาไปด้วยกิเลสอาสวะและอวิชชาอาสวะ ยังไม่ล่วงซึ่งโอฆะทั้ง ๔ คือ กามะโอฆะ ทิฎฐิโอฆะ ภะวะโอฆะ อวิชชาโอฆะ อันเป็นโอฆะแอ่งกันดาร มีสันดานอันรกชัฏด้วยอกุศล คือ โลภะ โทสะ โมหะ ก็กระทำซึ่งการอันเป็นอกุศล เป็นอาจิณณะกรรม ก็ชื่อว่ากุศลมูลขาดเสียแล้ว มีสิกขาอันละเสียแล้ว จุตูสุอะปาเยสุวิปัจจันติ ก็เที่ยงที่ว่าจะไปไหม้อยู่ในอบายทั้ง ๔ เป็นที่ปราศจากความสุขคือ นรกและเปตะวิสัย อสุรการกำเนิด ดิรัจฉานกำเนิด ด้วยสัตว์ทั้งหลายหนาไปด้วยอกุศล จะยังตนให้ตกไฟไหม้อยู่ในอบายฉะนี้ พุทธะกะระกะธัมเมหิภะวิตัพพัง ธรรมเครื่องกระทำซึ่งความเป็นพระพุทธเจ้า คือ บารมี ๓๐ ทัศ จะพึงสามารถเพื่อจะห้ามกันเสียได้ จตุราบายิกะทุกข์ทั้งหลายนั้นพึงมีอยู่ เพราะพระบารมีธรรมของพระพุทธเจ้าทั้งหลายมีอยู่เป็นอันมาก จะมีอยู่แต่เท่านี้หามิได้ ธรรมทั้งหลายใดเป็นไปเพื่อจะให้สำเร็จพระโพธิญาณ อันสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแสดงไว้ในพระสูตร พระวินัย และพระปรมัตถ์อันเป็นธรรมคัมภีรภาพอันละเอียดนัก เป็นองค์ธรรมอันพระพุทะเจ้าทั้งหลายเสพแล้วโดยยิ่ง ล้วนเป็นนิยานิกะธรรม จะนำสัตว์ให้พ้นจากวัฏฏะสงสารทุกข์ได้ดังนี้ เมื่อพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรพุทธสาวกมีความปริวิตกในจิต ด้วยความกรุณาแก่ประชุมชนผู้เกิดมาภายหลัง จักให้ปฏิบัติในธรรมนั้นๆ ให้เป็นที่ป้องกันรักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยในอบายอย่างนี้ จึงยอกรกระพุ่มหัตถ์ประนมแทบบงกชบาทของสมเด็จพระบรมโลกนาถเจ้า แล้วจึงกราบทูลพระกรุณาว่า เยเกจิทุบปัญญาปุคคะลา ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า บุคคลทั้งหลายเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ที่เป็นผู้มีปัญญาทราม ยังหนาอยู่ด้วยโมหะ อวิชชา พุทธะการะกะธัมเมจะชานิตะวา หารู้จักพุทธะการะกะธรรม คือ พระบารมีแห่งพระพุทะเจ้านั้นไม่ เพราะความที่แห่งตนนั้นเป็นคนอันธพาล จะพึงกระทำซึ่งกรรมอันเป็นบาปทั้งปวง นับได้พันแห่งโกฎิเป็นอันมาก บางจำพวกก็พึงกระทำซึ่งมนุสสะฆาตะกะกรรม คือ ฆ่ามนุษย์เสีย เป็นต้น ฆ่าซิ่งกษัตริย์ชิงเอาราชสมบัติ และซึ่งมหาอำมาตย์และปุโรหิตาจารย์ ฆ่าซึ่งชนอันเป็นพาลและบัณฑิต ฆ่าบรรชิต คือ สมณะอันเป็นมหาสาวัชชะกรรมและครุกรรม โกจิโคนังวา มหิงสานังวา บางจำพวกฆ่าซึ่งโคและกระบือ ฆ่าสัตว์ดิรัจฉาน ฆ่าซึ่งแพะแกะ ฆ่าซึ่งคชสารอัสดรกุญชรชาติด้วยสามารถ ความประสงค์ซึ่งมังสะ และงาอังคาพยพน้อยใหญ่ คือ กระทำซึ่งปาณาติบาตดังกล่าวมาฉะนี้ ด้วยสามารถโทสะความโกรธ และโมหะความหลง ชนผู้เป็นคฤหัสถ์บางจำพวกผู้เป็นพาล จงใจจะพึงกระทำครุกรรมอันสาหัส คือ อนันตริยะกรรมทั้ง ๕ เป็นต้นว่า ฆ่าซึ่งบิดาและมารดา สาสนะโต ปาราชิกัง อาปัชเชยยะ ก็จะถึงซึ่งความแห่งตนเป็นผู้พ่ายแพ้จากพระศาสนาแท้จริง คฤหัสถ์ผู้ทำครุกรรม ฆ่าบิดามารดาดั้งกล่าวมานี้ ชื่อว่าปราชิกฝ่ายฆราวาส เบื้องว่าบรรพชิตทั้งหลาย ผู้ดำรงซึ่งสิกขาบทสังวรวินัย ไม่ตั้งอยู่ในอะธิศีละสิกขาล่วงพุทธอาชญา อันเป็นอาณาวิติกกะมะโทษต้องครุกาบัติและละหุกาบัติตามลำดับมา ฉินะมูลา จนถึงซึ่งปาราชิกาบัติ เป็นผู้ขาดจากมูลแห่งพระพุทธะวะจะนะในพระปิฏกทั้ง ๓ คือ พระวินัยปิฏก พระสุตตันตะปิฏก พระปรมัตถ์ปิฏก อันเป็นสาสะโนวาท เตปาปะกัมมังกัตตะวา ชนที่ได้สมมติว่าเป็นเป็นบรรพชิตทั้งหลายนั้น จะพึงกระทำกรรมเป็นบาป อันเป็นเหตุจะยังตนให้ถึงซึ่งนิระยะกะทุกข์ กายัสสะเภทา เบื้องหน้าแต่จุติจิต เพราะแตกจากชีวิตอินทรีย์แล้ว จะพึงไปบังเกิดในอเวจีนิระบาย ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ธรรมอันใดอันหนึ่งเล่าจะเป็นธรรมอันลึกสุขุมที่สามารถอาจเพื่อจะห้ามเสียได้ซึ่งสัตว์ทั้งหลายนั้น จะมีอยู่บ้างหรือพระพุทธเจ้าข้า เมื่อกราบทูลดังกล่าวคาถาทั้งหลาย ตามบรรยายพระพุทธภาษิตที่ได้แสดงซึ่งทุกข์ อันเป็นผลวิบากแห่งครุกาบัติ และละหุกาบัติ ยกปาราชิกสิกขาบทจัดเป็นมูลเฉทขึ้นแสดงเบื้องต้นโดยกระแสอนุสนธิว่า ทะสะวัสสะ สะหัสสาชิกานิติงสะสะหัสสะโกฏิโย ปาราชิกังสมาปัณโณ บรรพชิตผู้ล่วงเสียซึ่งสิกขาบท ถึงพร้อมแล้วซึ่งปาราชิก เป็นผู้มีมูลขาดจากพระศาสนา นิยามะคะติ ที่จะไปอุบัติในภพเบื้องหน้า คือจะไปบังเกิดในนรกขุมใหญ่ คือ อเวจี ไหม้อยู่ในไฟไม่ดับกำหนดได้ถึง ๓,๐๐๐โกฏิกับหมื่นปีเป็นที่สุด อาการะวัตตาสูตรนี้มีเนื้อความอันพิสดาร ถ้าแม้จะพรรณนาไปก็จะเป็นการเนิ่นช้าจำจะแสดงส่วนแห่งอานิสงส์ที่บุคคลได้สักการบูชาและนับถือและได้บ่นสาธยายจำทรงไว้ได้ดังนี้เป็นต้น ก็จะพึงมีอานิสงส์ผลอันใหญ่ ในลำดับนั้นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสแสดงซึ่งอาการะวัตตาสูตร กำหนดด้วยวรรค ๑๗ วรรค มีอะระหาทิคุณะวรรค เป็นต้น จนถึงประเวณีวรรคเป็นคำรบ ๑๗ ด้วยประการดังนี้แล้ว พระองค์ทรงบรรยายซึ่งอานิสังสคุณาภาพแห่งอาการะวัตตาสูตรแก่พระสารีบุตรต่อไปว่า ยัญจะสาริปุตตะรัตติง ดูก่อนสารีบุตร ก็ราษราตรีอันใดพระตถาคตได้ตรัสรู้ซึ่งพระอนุตตรสัมโพธิญาณเป็นวิมุติเสวตฉัตร ณ ดงไม้อสัตตะพฤกษ์โพธิมณฑล ก็ในราษราตรีนั้นแลพระตถาคตก็ระลึกซึ่งอาการะวัตตาสูตรอันมีคุณานุภาพเพื่อเป็นที่รักษาต่อต้านซึ่งภัยอันตราย และเป็นที่เร้นซ่อน เป็นคติที่จะให้ไปในเบื้องหน้าแห่งสัตว์โลก กับเทวโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์ เป็นไปกันด้วยสมณะและพราหมณ์และสมมติเทวดาและมนุษย์ และสามารถเพื่อจะห้ามเสียซึ่งบาปกรรมทั้งปวง เพราะพระตถาคตมาระลึกตามอยู่ ซึ่งธรรมทั้งหลายอันมรรคแห่งสัตว์ทั้งหลาย ให้ถึงซึ่งอันสิ้นไปแห่งทุกข์และภัยทั้งปวงในสงสารอย่างนี้ กำหนดเพียงไรแต่นิพพานธาตุ ชื่อว่า อนุปาทิเสสะ มีกัมมัชชะรูปและวิบากขันธ์อันกรรมและกิเลสเข้าถือเอาเหลืออยู่ไม่มีสิ้นเชื้อสิ้นเชิง เอตะถันตะเร ในระหว่าแห่งกาลนั้น กายกรรมแห่งพระตถาคตทั้งปวง ญาณะปุพพังคะมัง มีญาณเครื่องรู้เป็นประธานถึงก่อน คือว่าเป็นไปกันด้วยญาณอันปราสจากทาคือโมหะ แม้ถึงวจีกรรมและมโนกรรม แห่งพระตถาคตเจ้าก็เป็นไปแล้วด้วยญาณเหมือนกันอย่างนั้น อตีตานาคะตะปัจจุปันนัง และกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม แห่งพระตถาคตพุทธเจ้าที่เป็นส่วนอดีตกาลล่วงแล้ว และเป็นส่วนปัจจุบัน และส่วนอนาคตภายหน้าอันยังไม่มาถึง ก็เป็นญาณทัศนะเครื่องเห็นด้วยญาณ อัปปะฏิหะตัง อันโทษทั้งหลายเป็นต้นว่า อภิชฌาและโทมนัสไม่จำกัดได้แล้ว เป็นกรรมผ่องแผ้วในไตรทวารด้วยประการฉะนี้ เยเกจิสาริปุตตะ ดูกรสารีบุตร ครั้นเมืออาการะวัตตาสูตรนี้ ชนทั้งหลายเหล่าใดเหล่าหนึ่งได้กล่าวอยู่เป็นอัตตา บาปกรรมทั้งปวงก็จะไม่ได้ช่องที่นะหยั่งลงไปในสันดาน แม้ถึงผู้นั้น จัตตาโรมาเส สิ้นกาลประมาณไป ๔ เดือนเป็นกำหนด เป็นที่คุ้มครองป้องกันภัยอันตรายทั้งปวง ยกไว้แต่ภัยอันตรายบังเกิดแล้ว แต่ผลวิบากแห่งอกุสลกรรมตามมาเท่านั้น อนึ่ง บุคคลผู้ใดอุตส่าห์ตั้งจิตไม่คิดท้อถอย ได้สดับฟังซึ่งอาการะวัตตาสูตรนี้ก็ดี หรือได้เล่าเรียนบอกกล่าวก็ดี หรือได้เขียนเอง หรือให้ผู้อื่นเขียนก็ดี หรือได้จำทรงไว้ได้ก็ดี หรือได้ทำการสักการบูชานับถือก็ดี หรือได้ระลึกเนืองๆ โดยเคารพพร้อมด้วยไตรประณามก็ดี ปรารถนาสิ่งใดๆก็จะสำเร็จแก่บุคคลผู้นั้นตามประสงค์พร้อมทุกสิ่งสรรพ์ ตังตัสมา ทีปังกะหิ เพราะเหตุการณ์ณืนนั้นท่านผู้มีปรีชาประกอบด้วยศรัทธาและความเลื่อมใส จงกระทำซึ่งอาการะวัตตาสูตร อันจะเป็นที่ผ่อนพักพิงอาศัยในวัฏฏะกันดาร ประการหนึ่งว่าเกาะและผั่งอันเป็นที่ตั้งอาศัยแห่งชนทั้งหลายผู้สัญจรไปในชลสาครสมุทรทะเลใหญ่ ฉะนั้น อัฏฐะวีสะติยาจะอะวิชชะหิตัง ก็อาการะวัตตาสูตรนี้อันพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ๒๘ พระองค์ ที่ล่วงลับไปแล้วก็ดี อันพระตถาคตเจ้าบัดนี้ก็ดี มิได้สละละวางทิ้งล้างให้ห่างเลยสักพระองค์เดียว ได้ทรงตามกันมาทุกพระองค์ อนุตตะรัง พระสูตรนี้มีคุณานุภาพอันยิ่ง ไม่มีสูตรอื่นจะยิ่งกว่า ยะถาสะติยะถา พะลังสิกขิตัพพัง เพราะฉะนั้น ท่านผู้สัปบุรุษพุทธศาสนิกชน พึงศึกษาเป็นทางเล่าเรียนเขียนไว้โดยสมควรแก่สติกำลังอย่างไร อย่าให้ได้เสียคราวเสียสมัยที่ได้ประสบ สิกขิตุง อะสักโกนเตนะ ก็เมื่อไม่อาจเพื่อจะศึกษาได้ด้วยความที่ตนเป็นคนมัณฑะปัญญา ก็พึงจารึกไว้ในสมุดและใบลาน เพื่อให้เป็นที่น่าดู ที่น่านมัสการบูชาโดยเคารพ กาตุงอะสักกะโกนเตนะ ก็เมื่อไม่อาจเพื่อจะกระทำได้ดังกล่าวแล้วนี้ก็ให้พึงตั้งใจฟังโดยเคารพ ดำรงสติให้ระลึกตามทุกบททุกบาท อย่าให้เป็นสติวิปลาสปราศจากสติ เป็นแต่สักว่าอยู่อย่างนั้น สุวะนิตุงอะสะโกนเตนะ ก็เมื่อไม่อาจเพื่อจะจดจำดังกล่าวมาแล้วนี้ พึงไปสู่สถานที่อยู่แห่งบุคคลที่ได้เล่าบ่นสาธยาย พึงประคองซึ่งกระพุ่มหัตถ์ทัษนักสะโมทาน ฟังท่านสาธยาย สุนิตุงอะสักโกเตนะ ก็เมื่อไม่อาจฟังได้ดังนี้ พึงไปสู่สถานที่ท่านแสดงซึ่งอาการะวัตตาสูตรนี้ ก็พึงพิจารณาลูบคลำด้วยปัญญาว่า เอวังคุณะยุตโตโสภะคะวา สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า พระพุทธองค์ประกอบด้วยพระคุณอย่างนี้ๆ ให้พินิจนึกระลึกตามพระคุณที่กล่าวแสดงแล้วนั้น โสมะนัสสะชาโต ให้บังเกิดความโสมนัสยินดีด้วยปิติในพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ ก็จะห้ามกันเสียได้ซึ่งอกุศลบาปกรรม อันจะชักนำปฏิสนธิให้เกิดในอบายภูมิทั้ง๔ คือนรกและเปตะวิสัย อสุรกายดิรัจฉานกำเนิดดังนี้ ยังปะตะเถติ บุคคลนั้นจะประสงค์ซึ่งพัสดุสิ่งใดๆ ตามปรารถนา สิ่วนั้นๆ ก็จะสำเร็จพร้อมแก่บุคคลผู้นั้น ด้วยคุณานุภาพที่ได้ดำรงจิตคิดคำนึงตามในพระพุทธคุณที่ได้แสดงแล้วนั้น สะเธปุนัมปุนังตะมะนุสสะระนัง ก็นถ้าหรกว่าบุคคลผู้ใดมีศรัทธาระลึกตามอาการะวัตตาสูตรนี้เนืองๆ ยัตถกัตถะจิภะเวชาโต บุคคลผู้นั้นเมื่อละเสียซึ่งอัตภาพร่างกายในปัจจุบันชาตินี้แล้ว จะปกิสนธิในภพเบื้องหน้าในภพใดภพหนึ่ง ก็จักไม่เกิดในดิรัจฉาน ในเปตะวิสัย จักไม่ไปเกิดในสัญชีพนรก จักไม่ไปเกิดในสังฆาตะนรก ในโรรุวะนรก ในมหาโรรุวะนรก จักไม่ไปบังเกิดในดาปะนรก จักไม่บังเกิดในมหาดาปะนรก จักไม่บังเกิดในอเวจีนรก ดังนี้ด้วยผลานิสงส์ที่ตนได้เจริญซึ่งอาการะวัตตาสูตรอยู่เนืองๆ ดังกล่าวมาฉะนี้ อนึ่ง ในปัจจุบันภพนี้ ก็จะเป็นที่หลีกหลบอันตรายมิให้มาแผ้วพาน ติงสะภะยานิ และภัยคืออารมณ์ที่บุคคลพึงสะดุ้งกลัวนั้น ๓๐ ประการ อะหิภะยังวา คือ พัยอันบังเกิดแต่ทีฆะชาติงูอันมีพิษ ๑ กุกกุระภะยัง ภัยอันบังเกิดจากสุนัขบ้านและสุนัขจิ้งจอกที่ดุร้ายจะขบกัด ๑ โคณะภะยัง ภัยอันบังเกิดแต่โคถึกและโคเถื่อน ๑ มหิงสะภะยังวา หรือภัยอันเกิดจากกระบือเถื่อนและกระบือบ้านอันดุร้ายวิดชนให้เป็นอันตรายแก่ชีวิต ๑ สีหะภะยังวา หรือภัย คือราชสีห์ เสือโคร่ง และเสือเหลือง และเสือดาว และเสือบอง ก็ดี หัสถีอัสสะราชะโจระภะยังวา หรือภัยอันเกิดแต่คชสาร และภัยเกิดแต่อัสดรภาชีจตุรงคะชาติ และภัยอันเกิดจากพระราชาผู้เป็นจอมแห่งประชาชน หรือภัยอันบังเกิดแต่โจร และภัยอันเกิดแต่เพลิงและน้ำ และภัยอันเกิดแต่มนุษย์ที่เป็นไพรีหรือภัยเกิดแต่อมนุษย์ภูตผีปิศาจเข้าสิง บีบคั้นให้จลาจลวิกลจริตผิดมนุษย์ ทันฑะภะยังว่า หรือภัยถูกทัณฑ์ ถูกกระบอง ต้องอาชญา อุมมัตตะกะยักขะกุมภัณฑะ อารักขะเทวตาภะยังวา หรือภัยเกิดแต่ยักษ์และกุมภัณฑ์ จะมาบีบคั้นให้เป็นบ้าเสียจริตกิริยาแห่งมนุษย์ และภัยเกิดจากคนธรรพ คนธรรพ์ และอารักขเทวาขึ้งโกระ ปองทำร้ายวิหิงสาเบียดเบียน มาระภะยังวา หรือภัยเกิดแต่มารทั้ง ๕ จะมาผลาญให้เกิดการวิกลเป็นไปต่างๆ วิชชาธะระภะยังวา หรือภัยเกิดแต่วิชา ทรชนผู้ทรงไว้ซึ่งวิชา จะกระทำให้เป็นอันตรายด้วยอำนาจวิทยาคุณ สัพพะโลกาธิปติ ภะยังวา หรือภัยเกิดแต่มเหศวร เทวราชผู้เป็นใหญ่ในเทวโลกทั้งปวง รวมภัยเป็นที่บุคคลอันจะพึงสะดุ้งหวาดเสียว กลัว ๓๐ ประการ ภัยทั้ง ๓๐ ก็จะอันตรธาน พินาศไม่อาจเบียดเบียนให้เป็นอันตรายได้ จักขุโรคาทะโย ทั้งโรคาซึ่งจะบังเกิดเบียดเบียนกายเสียดแทงอวัยวะน้อยใหญ่ ทั้งภายในและภายนอก เป็นต้นว่าโรคในจักขุก็จะระงับดับเสื่อมสร่างลงเบาลง ชิคัจฉาปิปาสะ ภะยังวา หรือภัยอันเกิดแต่ความอยากเพื่อบริโภคอาหารและความหวังเพื่อจะดื่มกินซึ่งน้ำ เพราะความกระหายหอบด้วยโรคภายใน ก็จะวินาศหายด้วยคุณานุภาพ ที่ได้สาธยายท่องบ่นทรงจำ ซึ่งอาการะวัตตาสูตรนี้อยู่เนือง ๆ โดยนัยกล่าวมาด้วยประการฉะนี้ สะเจโยโกจิสาริปุตตะ ถ้าว่าบุคคลผู้หนึ่งจะพึ่งกระทำซึ่งปาณาติบาต คือปลงเสียซึ่งชีวิตชีวิตแห่งสัตว์ให้ตกร่วงไปเป็นวัชชะกรรม นำชักผลให้ไปปฏิสนธิในจตุรบายนั้นไซร้ อิมังสุตตังสุตะกาละโตปัฏฐายะ จำเดิมแต่ได้สดับฟังซึ่งอาการะวัตตาสูตรนี้ ด้วยศรัทธาจิตประสาทะเลื่อมใสก็อาจปิดกั้นไว้ซึ่งกรรมนั้น ทุกขะติงโสนะคัจฉะติ บุคคลผู้นั้นจะยังไม่ไปสู่ทุกขติกำหนดโดยกาลประมาณ ๙๐ แสนกัลป์ ฉะนี้นี่เป็นอานิสงส์ผลที่ได้ท่องบ่น ได้ทรงจำซึ่งกระแสแห่งอาการะวัตตาสูตร ให้เป็นวาจุคะตา (คล่องปาก) สะกะเตหังสัพพะรักเขหิ รักขิตุง อนึ่ง เคหะสถานทั้งสิ้นแห่งผู้นั้นจะมีผู้รักษาแล้วด้วยเครื่องรักษาทั้งปวง เทพยดาทั้งหลายในฉะกามาพจรสถานทั้งหกชั้นฟ้านั้น ย่อมจะพิทักษ์ให้นิราศภัยอันตราย เอวัง สาริปุตตะ อิมังสุตตังมะหิทธิกัง ดูกร สารีบุตร อาการะวัตตาสูตรนี้มีอิทธิฤทธิ์ใหญ่หลวง มหาเตชังมหานุภาวัง มีเดชานุภาพยิ่งนัก มีพละกำลังมาก มีอานิสงสะคุณอันไพศาลด้วยประการฉะนี้ สมเด็จพระบรมศากยมุนีสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสอธิบายซึ่งอิทธิเดชานุภาพแห่งอาการะวัตตาสูตรทั้งนี้แล้ว เทสะนากุฏังคัณหันโต เมื่อพระองค์ถือเอายอดแห่งเทศนา จึงตรัสซึ่งพระคาถาทั้งหลายดังนี้ว่า สัพพะเมกะมิทังสุตตังอภิธรรมปิฏะกัญเจวะ เป็นต้น อธิบายความในพระคาถาว่า อิทังสุตตังเอกัง อาการะวัตตาสูตรนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นพระสัพพัญญู รู้ซึ่งสังขะตะธรรมทั้งปวง ทรงตรัสว่าถ้าผู้ใดได้พิจารณาลูบคลำซึ่งพระอภิธรรมปิฏก พระสุตตันตะปิฏก พระวินัยปิฏก ด้วยประการฉะนี้แล้ว มหาเตชังอิทธิพลัง จะมีพระเดชามาก มีฤทธิ์และกำลังใหญ่หลวงประดับแล้วด้วยมรรค ๑๗ วรรค ดังกล่าวแล้วในหนหลัง ล้วนแต่แสดงซึ่งพุทธคุณ พุทธะคุณะคณาคันธา กลิ่นหอมทั้งหลายคือ ประชุมแห่งหมู่พระพุทธคุณ เป็นกลิ่นอันอุดมประเสริฐสูงสุดกว่ากลิ่นคันธชาติทั้งปวง ที่มนุษย์และเทวดากำหนดว่าเป็นกลิ่นอันดี อาการะวัตตาสูตตัมหิจะปากาสิตา คันธชาติแห่งหมู่พระพุทธคุณทั้งปวงเหล่านั้น เราผู้ตถาคตได้แสดงแล้วในอาการะวัตตาสูตรนี้ สัทธาหัตเถนะวิญญุนา วิญญูชนผู้มีปรีชา พึงลูบคลำเถิดด้วยมือ คือศรัทธาความที่ตั้งจิตไว้ชอบในกาลทุกเมื่อ พุทธคุณาบุปผาคือหมู่แห่งพระพุทธคุณทั้งหลายเป็นบุปผาชาติอันอุดมกว่าบุปผาชาติที่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายมานิยมว่าประเสริฐนั้น บุปผาชาติคือหมู่พระพุทธคุณทั้งนั้น เราผู้ตถาคตได้ประกาศแล้วในอาการะวัตตาสูตร ชะเนนะหิตะทาเมนะ ชนผู้รักใคร่ซึ่งประโยชน์เกื้อกูลอุดหนุนแก่ตนในโลกเบื้องหน้า พึงประดับประดาทัดทรงไว้ด้วยใจศรัทธาทุกเมื่อเถิด ดังนี้ ราโคจิตตังนะ ธังเสติราคะ คือ ความกำหนัด จะได้กำจัดซึ่งจิตแห่งบุคคลนั้นเรามิได้ ตะถาโทโสจะโมโหจะ อันโทสะและโมหะก็จะไม่กำจัดซึ่งจิตแห่งผู้นั้นให้ขุ่นข้องหมองมัวไปได้ ตะถาคะเตปะสาโทจะ บุคคลนั้นก็จะมีความประสาทะเลื่อมใสในพระตถาคตผู้เป็นอรหังสัมมาสัมพุทธเจ้า และจะมีคารวะเคารพในพระตถาคต และเคารพในพระสัทธรรม และพระสงฆ์ชินะบุตร สัทธาทิเกวิปุลละคะโต จะถึงซึ่งความไพบูลย์ด้วยคุณ มีศรัทธา เป็นต้น จะมากไปด้วยปรีชาปราโมทย์ ในพระพุทธคุณดังนี้ สัพพะทุกขาภะยัสสาโย ร่างกายอันบุคคลอบรมอยู่แล้วด้วยพระพุทธคุณ อันเป็นเครื่องหมดสิ้นแห่งทุกขภัย ไกลจากราคะกิเลสดังนี้ อัตโคเชฏโฐอนุตตะโร ก็เป็นกายเลิศประเสริฐยิ่ง ควรจะพึงบูชาประหนึ่งว่าเป็นเรือนเจดีย์ อันเป็นที่สักการบูชาฉะนั้น ตถาคะเตนะสัทธิง บุคคลที่มีจิตสันดานอบรมอยู่ด้วยพุทธคุณนั้น เหมือนอยู่ที่เดียวกันกับพระตถาคตพุทธเจ้า วิติกกะเมอุปะฐิเต ครั้นเมื่อถึงวัตถุอันพึงล่วงในสิกขาบทบัญญัติจักเป็น อานาวิติดกะโน จะมีปรากฏเฉพาะหน้าก็ดี บุคคลนั้นก็จักตั้งไว้ซึ่งหิริความละอาย และโอตัปปะความสะดุ้งต่อบาปและโทษทั้งปวง เป็นประหนึ่งว่าตั้งอยู่ในที่พร้อมหน้าแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ก็ไม่อาจล่วงเกินซึ่งสิกขาบทบัญญัติในครุกาบัติและละหุกาบัตินั้นๆ ได้ ข้อนี้ก็เป็นคุณาสะเรยยะทิฏฐะกรรมที่ได้หมั่นคำนึงซึ่งอะตุลยะบารมีที่กล่าวไว้ในอาการะวัตตาสูตรนี้ โยนะอุปารัมภาหิ ถ้าบุคคลผู้ใดมิได้ศรัทธาปสาทคุณความเลื่อมใส ย่อมไม่สดับฟังคำสั่งสอนแห่งสมเด็จพระชินวรวิสุทิศาสดาจารย์ เพราะเหตุแห่งทาที่เขามิได้ปราถนาก็จะไม่ได้ประสบความสรรเสริญและลาภยศ เป็นต้น อารากาสฐิติสัทธัมมัง บุคคลผู้นั้นก็จะตั้งอยู่ในที่ไกลจากพระสัทธรรม ประหนึ่งว่าพื้นปฐพี่เป็นของไกลกันกับอากาศ ฉะนั้น บุคคลผู้นั้นก็จักเสื่อมจากพระสัทธรรม ประหนึ่งว่าปริมณฑลแห่งพระจันทร์ อันหมดสีรัศมีในดิถีกาฬปักษ์ฉะนั้น โยจะตุกเฐนะจิตเตนะ บุคคลใดมีจิตยินดีแล้วด้วยศรัทธาปสาทคุณ ย่อมสดับฟังซึ่งคำสั่งสอนแห่งองค์พระศาสดา ผู้ผจญเสียซึ่งข้าศึกคือกิเลสและหมู่มารด้วยจิตชื่นบานอภิรมย์ ปราศจากโทษ มีอันปรารภ คือแลเห็นแก่ลาภยศและความสรรเสริญ เป็นต้น ดังกล่าวมาแล้วนี้ กิเลเสเขเปตะวา บุคคลผู้นั้นก็ยังกิเลสทั้งหลายให้หมดสิ้น ด้วยตะทังคะปะหาน แลวิขัมภะนะปะหาน โดยลำดับๆ กันไปจนถึงละกิเลสได้ด้วยสมุจเฉททะปะหาน หมดสิ้นเชื้ออุปาทาน อะนาสาโว เป็นผู้วิสิทธิในสันดาน ไม่มีอาสวะเครื่องดองเนืองนอง แต่ อนันตะชาติ ปรินิพพายิ ก็จะดับขันธ์ปรินิพพาน หมดภพสิ้นกันดาน คือ ชาติ ชรา พยาธิ และมรณะ อันเป็นบรมสุข ดังนี้ ด้วยอานิสงส์คุณที่ได้สดับและรับปฏิบัติตามทางพระสัทธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสสอนไว้ ธัมมะจารี ดุจหนึ่งนรชนทั้งหลายเหล่าใด ประกอบด้วยคุณ คือ ศรัทธา และปัญญา เป็นต้น เคารพในพระสัทธรรม และเอื้อเฟื้อในพระสัทธรรม อะสะจาโย เป็นผู้ไม่กล่าวดี คือ ไม่อวดแสดงซึ่งคุณที่มีในตน เป็นเหตุให้คนอื่นมีความพิศวง ชนทั้งหลายนั้นได้ซึ่งชื่อและปฏิบัติซื่อตรง ตามมรรคาแห่งอมตะธรรม คือ พระนิพพาน ความสุขสำราญกายสบายจิตก็จะบังเกิดในภพนี้และภพหน้า อีทิสา ด้วยตนเคารพนับถือพระสัทธรรม และปฏิบัติตามดังที่กล่าวมาแล้วด้วยประการดังนี้ อาการะวัตตานุภาเวนะสัตตาโหนติสุขัปปัตตา สัตว์ทั้งหลายจะถึงซึ่งความสุข นิระทุกข์นิระภัย ปราศจากอันตรายทั้งปวงก็ด้วยอานุภาพแห่งอาการะวัตตาสุตรนี้ เทวะมนุสสาจะอุโกพ เทวดาและมนุษย์ก็จะแลดูซึ่งกันและกัน ด้วยจิตเมตตา มิได้มีวิหิงสาอธรรมที่จะเบียดเบียนให้ได้ความลำบากการยระทมใจดังนี้ ด้วยอานุภาพแห่งอาการะวัตตาสูตรนี้ อันตะรายาอะเนญชา ภยันตรายทั้งหลายที่เป็นไปภายในและภายนอก มีมาก ใช่อย่างหนึ่งอย่างเดียว วินัสสันติอะเสสะโต ก็ย่อมวินาศเสื่อมสูญพินาศฉิบหายด้วยอานุภาพแห่งพระอาการะวัตตาสูตรนี้ ราชะโจรัคคินาปิจะ ภัยอันตรายทั้งหลายอันจะเกิดขึ้นแต่พระราชาผู้ปกครองรักษาบังคับอภิบาลมณฑล และจะเกิดแต่โจรจะทำร้ายและเพลิงไหม้ และน้ำท่วมมากเกินประมาณ อันตรายเหล่านั้นก็จะวินาศฉิบหายมิได้เหลือ ไม่อาจทำให้เป็นอันตรายแก่ชนนั้นได้ แม้นถึงว่าสัตว์ดุร้ายเป็นต้นว่าสีหาและพยัคฆา ก้ไม่อาจเบียดเบียนได้ ทำร้ายได้ สังสาเรสะรันโต เมื่อผู้นั้นยังท่องเที่ยวเวียนวนอยู่ในวัฏฏะสงสาร นิปุณาปฏิอายุโก จะเป็นผู้มีปัญญาอันละเอียดสุขุมภาพ และจะมีชนมายุยืนยงคงทนจนเท่าถึงอายุปริจเฉทกาลอายุขัยเป็นกำหนด จึงตาย จะได้ตายด้วยอากาละมรณะนั้นหามิได้ อโรคาจะ บุคคลนั้นจะเป็นคนผู้ไม่มีโรคาพยาธิที่จะเบียดเบียนเสียดแทงฟกช้ำระกำกาย อานาสะวังจะนิพภะยัง ก็สถานถิ่นประเทศใด อันสมเด็จพระพุทธเจ้าทั้งหลายได้แสดงไว้แล้วว่า เป็นที่ไม่มีอาสวะกิเลส และเป็นที่เกษมสุขสิ้นทุกข์ภัย ไม่มีข้าศึกสิ่งใดที่จะผจญให้ถึงซึ่งพ่ายแพ้ได้ นิพพานะมะตุลังสันตังละเภยยะ อะนาคะเต บุคคลผู้นั้นก็จะพึงได้สถานประเทศนั้น กล่าวคือพระนิพพาน อะตุสันตัง ไม่มีกรรมอื่นๆ ที่จะเป็นคุ่เปรียบให้เท่าถึงได้ เป็นธรรมอันระงับได้แท้ในอนาคตกาลเบื้องหน้า ยังไม่มีมาถึงดังนี้ เพราะอานิสงส์ผลที่ได้ระลึกตามเนืองๆ ซึ่งพระพุทธคุณวิบูลย์บารมี ทิพพะจักขุงวิโสธะยิ ผู้นั้นก็จักสำเร็จซี่งไตรวิชชาและอภิญญา ๖ ประการ จะยังทิพยจักขุญาณให้บริสุทธิ์ผุดผ่องใส อาจเห็นในรูปารมณ์โดยประสงค์ ประดุจหนึ่งว่าทิพย์จักษุแห่งองค์มเหสักขะเทวราชนั้น คัมภีรงนิปุนังธัมมังจะสุตตังปะวัตตะยิ ก็บุคคลผู้ใดมีความเลื่อมใสโสมนัสปรีดาปสาทศรัทธาเป็นเค้ามูลได้กระทำอัตถาธิบายอาการะวัตตาสูตรเป็นธรรมลึกซึ้งละเอียด อันเจือไปด้วยพระวินัยและพระปรมัตถปิฎกให้ประพฤติเป็นไป คือ จะได้จดจารึกลงไว้ในสมุดใบลานก็ดี เพื่อจะให้เป็นหิตานุหิประโยชน์แก่บุคคลผู้โสมนัสอันเป็นเวนัยต่อไป ณ เบื้องหน้า วะทิสสะติตัสสะยะโสยสะ กล่าวคือจะมีผู้บูชาและนับถือ จะเจริญแก่บุคคลผู้นั้นเป็นนิรันดร์มิได้ขาด พหุตัพภักโขภะวะติวิปปะวุตโถสะกังฆะราโยจะสุตตังสุณาติ บุคคลผู้ใดได้สดับฟังซึ่งพระสูตรนี้ โดยสักกัจจะวิธีเป้นเคารพ วิปปะวุตโถสะกังฆะรา ถึงจะมีกังวลการด่วนรีบร้อนต้องสัญจรออกจากบ้านเรือนแห่งตนไปแล้ว จะได้ขัดสนเสบียงอาหารที่จะบริโภคไปรายทางทุเรศกันดารมิได้ พะหุบตับภักโข ภะวะติ บุคคลนั้นจะมีอาหารบริโภคมาก ย่อมเป็นที่อาศัยแก่ชนทั้งปวง ฮะมิตตานับปะสะหันติ ศัตรูหมู่ปัจจามิตรทั้งหลายไม่ควรจะมาครอบงำย่ำยีได้ ที่เป็นทิฏฐะธัมมะเวทะนิยามิ สงค์ที่จะเกื้อหนุนในภพเบื้องหน้านั้นแสดงว่า โกฏิชาดาราทิสัมปันโนทานาวิเทนะกูสิโต บุคคลผู้นั้นได้ฟังซึ่งพระสูตรนี้ด้วยปสาทจิตผ่องใสโสมนัสปรีดา เมื่อดับขันธ์ไปในภพเบื้องหน้า จะสมบูรณ์ด้วยโภคสมบัติ หิรัญรัตนมณีเหลือล้น ขนขึ้นรักษาไว้ที่เรือนและคลัง เป็นต้น จะประกอบด้วยเครื่องอลังการ วิภูษิตพรรณต่างๆ ใช่อย่างหนึ่งอย่างเดียว มะหัพพะโลมะหาถาโม จะมีกำลังมาก แรงมาก แข็งขยันกล้าต่อยุทธนาสู้ข้าศึกศัตรูหมู่ไพรี ไม่ย่อท้อ กาโยสุวัณณะวัณโณ ทั้งฉวีวรรณก็ผ่องใสดุจทองธรรมชาติ ทั้งจักษุประสาทก็รุ่งเรืองงามบ่ได้วิปริต อาจะแลดูเห็นทั่วทิศานุทิศซึ่งสรรพรูปทั้งปวง ฉะติงสะกัปเปเทวินโท จะได้เป็นพระอินทร์ปิ่นภิภพดาวดึงส์กำหนดถึง ๓๖ กัลป์ โดยประมาณ ฉะติงสะจักกะวัตติโย จะได้สมบัติจักรพรรดิตราธิราชผู้เป็นอิศราในทวีปทั้ง ๔ มีทวีปน้อย ๒,๐๐๐ เป็นบริวารกำหนดนานถึง ๓๖ กัลป์ สุวัณระปาสาทะสัมปันโน จะถึงพร้อมด้วยปราสาทอันเป็นวิหารแห่งทอง ควรจะปรีดา บริบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ เป็นของเกิดสำหรับบุญแห่งบรมจักรพรรดิ์ตราธิราช จะตั้งอยู่ในสมบัติสุขในกำหนดกาล ติวิธะสุขังอิตฉันโต ผู้นั้นจะปรารถนาสุข ๓ ประการคือ สุขในมนุษย์ สุขในสวรรค์ และสุขในนิพพาน ก็จะได้สำเร็จสมปรารถนา มะติมัตถังสัญชานิตะวา เมื่อยังเวียนว่ายอยู่ในวัฏฏะสงสาร อานิสงส์คงจะอภิบาลตามประคองไปให้มีปัญญาเฉียบแหลมว่องไว จะเป็นผู้รู้อรรถและธรรมอันสุขุมละเอียดลึกซึ้ง อาจรู้ทั่วถึงด้วยกำลังปรีชาตะโตนิพานะสุขขัง จะเมื่อกาลอันเป็นอวสานที่สุดชาติก็จะได้บรรลุแก่อมตมหานิพพาน อันเป็นบรมสุข ตามอริยโวหาร นิระเยจาปิเตนะจะ อนึ่ง เมื่อบุคคลนั้นยังเวียนว่ายอยู่ในวัฏฏะสงสาร จะไม่ไปเกิดในดิรัจฉานกำเนิด จะไม่ไปเกิดในโลหะกุมภี และเวตรณี และอเวจีมหานรกใหญ่ทั้งหลาย นะวุตติกัปปะสะตะสะหัสสานิ กำหนดถึง ๙๐ แสนกัลป์เป็นประมาณ วัณฑาละทาสีกุจฉิมหิโลกันตนิระเยสุจะ อนึ่ง ผู้นั้นจะไม่ไปเกิดในตระกูลแห่งหญิงจัณฑาลเข็ญใจ และทาสีหินะชาติตระกูล และจะไม่ไปเกิดในโลกันต์นรกอันมีในโลก กุทิฏฐิมะหิ จะไม่ไปบังเกิดและยังไม่สุดสิ้นตามสนองไป คือจะไม่ได้เกิดเป็นหญิง และเป็นอุภะโตเพียญชนกอันมีเพศเป็นสองฝ่าย และมิได้เกิดเป็นบัณเฑาะเป็นกระเทยที่เป็นอภัพพะบุคคล อังคะปัจจังคะสัมปันโน ผู้นั้นเกิดในภพใดๆ จะเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยองคาพยพน้อยใหญ่บริบูรณ์ ไม่วิกลวิกาล สุรปาทีฆายุโก จะเป็นผู้มีรูปทรงสัณฐาณงามดี เป็นที่เลื่อมใสแก่มหาชนผู้ได้ทัศนาไม่เบื่อหน่าย จะเป็นผู้มีอายุยืนมีศีลศรัทธาทิคุณและบริบูรณ์ในการบริจาคทาน ไม่เบื่อหน่าย สัพพีติโยวิวัชชันตุ ทั้งสรรพอันตรายและความจัญไรภัยพิบัติก็จะขจัดบำบัดไป ทั้งสรรพอาพาธที่บังเกิดเบียดเบียนกายก็จะสงบระงับดับคลายลง ด้วยคุณานิสงสผลที่ตนได้สดับฟังพระสูตร พุทธะเวยากรณะภาษิตอันเป็นธรรมโอสถวิเศษ มรณกาเลอะสัมมุฬโห ในมรณาสัณกาลใกล้แก่มรณะก็จะเป็นผู้ไม่หลง จะดำรงสตินั้นไว้ได้ ให้เป็นทางสุคติที่จะดำเนินปฏิสนธิในภพเบื้องหน้า อุชุงคัจฉะติสุคะติง เมื่อแตกกายทำลายเบญจขันธ์แล้วก็จะตรงไปสู่สุคติ เสวยสุขสมบัติตามใจประสงค์ โยจะสัมมานุสสติสุตตะวินะยาภิธัมมัง นรชนผู้ใดเห็นตามโดยชอบซึ่งสูตรอันเจือปนด้วยประวินัย พระปรมัตถ์ มีนามบัญญัติว่าอาการะวัตตาสูตร มีข้อความดังกล่าวมาแล้วนั้นๆ สำเร็จดังกมลมุ่งมาตรปรารถนา โยจะปัตสะติสัทธัมมัง ก็บุคคลผู้ใดได้เห็นพระสัทธรรม บุคคลนั้นก็จะได้ชื่อว่าได้เห็นเราตถาคตพุทธเจ้า อะปัสสะมาในสัทธรรมมังปัสสันโตปิ ผู้ใดเมื่อไม่เห็นซึ่งพระสัทธรรม ถึงจะได้เห็นได้ประสบพบเราผู้เป็นตถาคต ก็ชื่อว่าไม่ได้ประสบพบเราผู้เป็นตถาคต เป็นผู้ไกลจากเราตถาคตดังนี้ องค์พระจอมมุนีผู้ทรงพระภาคตรัสประกาศซึ่งคุณเดชานุภาพ และอานิสังสะผลแห่งอาการะวัตตาสูตร โดยเวยยากรณะบาลีดังนี้จบลงแล้ว ธัมมาพิสมัย คือ ตรัสรู้มรรคและผลก็บังเกิดแก่หมู่ชนทั้งหลายที่ได้สดับฟังประมาณ ๘๐ พันโกฏิ ด้วยประการฉะนี้ อิทะมะโวจะภควา สมเด็จพระผู้ทรงมหากรุณาพระโสภาคย์ ตรัสแสดงซึ่งอาการะวัตตาสูตรนี้จบลงแล้ว พระสารีบุตร พุทธสาวก ก็ชื่นชมยินดีต่อพระพุทธภาษิตแห่งองค์สมเด็จพระภควันตะบพิธสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยประการฉะนี้ *********
อานิสงค์แบบย่อ
ในสมัยหนึ่งสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับอยู่ ณ เขาคิชฌกูฎบรรพตคีรี ใกล้ราชธานีราชคฤห์มหานคร ในสมัยครั้งนั้นพระสารีบุตรพุทธสาวก เข้าไปสู่ที่เฝ้าถวายอภิวาทโดยเคารพแล้วนั่งในที่ควรส่วนข้างหนึ่งเล็กแลดูสหธัมมิกสัตว์ทั้งหลาย ก็เกิดปริวิตกในใจคิดถึงกาลต่อไปภายหน้าว่า
พระสารีบุตรได้ปริวิตกในจิตว่าจะช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ที่ไม่รู้จักบารมีแห่งพระพุทธเจ้าได้อย่างไร
จึงได้กราบทูลถามองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า มีธรรมอันใดเล่า ที่จะลึกสุขุม
จะห้ามเสียซึ่งหมู่อันธพาลพังกระทำบาปกรรม ทั้งปวงไม่ให้ตกไปในนรกอเวจี
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงได้ตรัสถึงบทพระอาการวัตตาสูตรว่า อานิสงส์ดังนี้
ผู้ใดท่องได้ใช้สวดมนต์ปฏิบัติได้เสมอ มีอานิสงส์มากยิ่งนักหนา แม้จะปรารถนาพระพุทธภูมิ พระปัจเจกภูมิ
พระอัครสาวกภูมิ พระสาวิกาภูมิ จะปรารถนามนุษยสมบัติ สวรรคสมบัติ นิพพานสมบัติ นิพพานสมบัติ
ก็ส่งผลให้ได้สำเร็จสมความปรารถนาทั้งนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ได้เป็นพระพุทธเจ้าปัญญามาก
เพราะเจริญพระพุทธมนต์บทนี้ ถ้าผู้ใดปฏิบัติได้เจริญได้ทุกวันจะเห็นผลความสุขขึ้นเอง
ไม่ต้องมีผู้อื่นบอกอานิสงส์ แสดงว่าผู้ที่เจริญพระสูตรนี้ ครั้งหนึ่ง จะคุ้มครองภัยอันตราย 30
ประการได้ 4 เดือน ผู้ใดเจริญพระสูตรนี้อยู่เป็นนิจ บาปกรรมทั้งปวงก็จะไม่ได้ช่องหยั่งลงสู่สันดาน
เว้นแต่กรรมเก่าตามมาทันเท่านั้น ผู้ใดอุตสาหะ ตั้งจิตตั้งใจเล่าเรียนได้ สวดมนต์ก็ดี
บอกเล่าผู้อื่นให้เลื่อมใสก็ดี เขียนเองก็ดี กระทำสักการะบูชาเคารพนับถือ พร้อมทั้งไตรทวารก็ดี
ผู้นั้นจะปรารถนาสิ่งใดก็จะสำเร็จทุกประการ ท่านผู้มีปรีชาศรัทธาความเลื่อมใสจะกระทำซึ่งอาการวัตตาสูตร
อันจะเป็นที่พักผ่อน พึ่งพาอาศัยในวัฏฏสงสาร
ดุจเกาะและฝั่งเป็นที่อาศัยแห่งชนทั้งหลายผู้สัญจรไปมาในชลสาครสมุทรทะเลใหญ่
ฉะนั้น อาการวัตตาสูตรนี้ พระพุทธเจ้า 28 พระองค์ ที่ปรินิพพานไปแล้วก็ดี
พระตถาคตพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันก็ดี มิได้สละละวางทิ้งร้างให้ห่างเลยสักพระองค์เดียว
ได้ทรงพระเจริญตามพระสูตรนี้มาทุกๆ พระองค์
จึงมีคุณานุภาพยิ่งใหญ่กว่าสูตรอื่นไม่มีธรรมอื่นจะเปรียบให้เท่าถึงเป็นธรรมอันระงับไปโดยแท้ในอนาคตกาล
ถ้าบุคคลใดทำปาณาติบาต คือ ปลงชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไปเป็นวัชร กรรมที่ชักนำให้ปฏิสนธิในนรกใหญ่ทั้ง 8 ขุม
คือ สัญชีพนรก อุสุทนรก สังฆาตนรก โรรุวนรก ตาปนรก มหาตาปนรก อเวจีนรก เปรต อสุรกาย ดิรัจฉาน กำเนิดไซร้
ถ้าได้ท่องบ่นทรงจำจนคล่องปากก็จะปิดบังห้ามกันไว้ไม่ให้ไปสู่ทุคติกำเนิดก่อนโดยกาลนาน 90 แสนกัลป์
ผู้นั้นระลึกตามเนืองๆ ก็จะสำเร็จไตรวิชชาและอภิญญา 6 ประการ ยังทิพจักษุญาณให้บริสุทธิ์
ดุจองค์มเหสักข์เทวราชมีการรีบร้อนออกจากบ้านไป จะไม่อดอาหารในระหว่างทางที่ผ่านไป
จะเป็นที่พึ่งอาศัยแห่งชนทั้งหลายในเรื่องเสบียงอาหาร ภัยอันตราย ศัตรู หมู่ปัจจามิตร
ไม่อาจจะมาครอบงำย่ำยีได้ นี้เป็น
ทิฏฐธรรมเวทนียานิสงส์ปัจจุบันทันตาในสัมปรายิกานิสงส์ ที่จะเกื้อหนุนในภพเบื้องหน้านั้น
แสดงว่าผู้ใดได้พระสูตรนี้เมื่อสืบขันธประวัติในภพเบื้องหน้า จะบริบูรณ์ด้วยโภคสมบัติ
หิรัณยรัตนมณีเหลือล้นขนขึ้นรักษาไว้ที่เรือนและที่คลังเป็นต้น ประกอบด้วยเครื่องอลังการภูษิตพรรณต่างๆ
จะมีกำลังมากแรงขยันต่อยุทธนาข้าศึกศัตรูหมู่ไพรีไม่ย่อท้อ
ทั้งจะมีฉวีวรรณผ่องใสบริสุทธิ์ดุจทองธรรมชาติ
มีจักษุประสาทรุ่งเรืองงามไม่วิปริตแลเห็นทั่วทิศที่สรรพรูปทั้งปวงและจะได้เป็นพระอินทร์ปิ่นพิภพดาวดึงส
์อยู่ 36 กัลป์ โดยประมาณและจะได้เป็นบรมจักรพรรดิราชผู้เป็นอิสระในทวีปใหญ่ 4 มีทวีปน้อย 2000
เป็นบริวารนานถึง 26 กัลป์ จะถึงพร้อมด้วยปราสาทอันแล้วไปด้วยทอง ควรจะปรีดา บริบูรณ์ด้วยแก้ว 7 ประการ
เป็นของเกิดสำหรับบุญแห่งจักรพรรดิราช จะตั้งอยู่ในสุขสมบัติโดยกำหนดกาลนาน
ยังเวียนว่ายอยู่ในวัฏฏสงสารอานิสงส์คงอภิบาลตามประคองไปให้มีปัญญาฉลาดเฉียบแหลมว่องไวสุขุมละเอียดลึกซึ
้ง อาจรู้ทั่วถึงอรรถธรรมด้วยกำลังปรีชาญาณอวสานที่สุดชาติก็จะได้บรรลุพระนิพพาน
อนึ่งถ้ายังไม่ถึงพระนิพพานก็จะไม่ไปบังเกิดในอบายภูมิทั้ง 4 มี นรก เปรต อสุรกาย ดิรัจฉาน
กำเนิดและมหานรกใหญ่ทั้ง 8 ขุมช้านานถึง 90 แสนกัลป์ และจะไม่ได้ไปเกิดในตระกูลหญิงจัณฑาลเข็ญใจ
จะไม่ไปเกิดในตระกูลมิจฉาทิฏฐิ จะไม่ไปเกิดเป็นหญิง จะไม่ไปเกิดเป็นอุตโตพยัญชนก อันมีเพศเป็น 2 ฝ่าย
จะไม่ไปเกิดเป็นบัณเฑาะก์ เป็นกระเทยที่เป็นอภัพบุคคล บุคคลผู้นั้นเกิดในภพใดๆ
ก็จะมีอวัยวะน้อยใหญ่บริบูรณ์ จะมีรูปทรงสัณฐานงามดีดุจทองธรรมชาติ
เป็นที่เลื่อมใสแก่มหาชนผู้ได้ทัศนาไม่เบื่อหน่าย จะเป็นผู้มีอายุคงทนจนถึงอายุขัยจึงจะตาย
จะเป็นคนมีศีลศรัทธาธิคุณบริบูรณ์ในการบริจาคทานไม่เบื่อหน่าย จะเป็นคนไม่มีโรค-พยาธิเบียดเบียน
สรรพอันตรายความจัญไรภัยพิบัติ สรรพอาพาธที่บังเกิดเบียดเบียนกายก็จะสงบระงับดับคลายลงด้วยคุณานิสงส์
ผลที่ได้สวดมนต์ ได้สดับฟังพระสูตรนี้ด้วยประสาทจิตผ่องใส
เวลามรณสมัยใกล้จะตายไม่หลงสติจะดำรงสติไว้ในทางสุคติ เสวยสุขสมบัติตามใจประสงค์
นรชนผู้ใดเห็นตามโดยชอบซึ่งพระสูตรเจือปนด้วยพระวินัยพระปรมัตถ์มีนามบัญญัติชื่อว่า อาการวัตตาสูตร
มีข้อความดังได้แสดงมาด้วยประการฉะนี้
ขออนุญาตคัดลอกบทความ ขออนุโมทนาบุญ ด้วย
และข้าพเจ้าก็ขออนุญาตเผยแพร่ และขอให้ได้บุญกุศลร่วมกัน
(พระคาถาสุนทรีวาณี) (หัวใจพระอาการวัตตาสูตร)
มุนินทะ วะทะนัมพุชะคัพภะ สัมภะวะสุนทะรี ปาณีนัง สะระณัง วาณี มัยหัง ปิณะยะตัง มะนัง
พระสุนทรีวาณี:อีกภาคหนึ่งของทางฮินดูก็คือพระแม่สุรัสวดี เทพแห่งปัญญา การเจรจาค้าขาย
พระสุนทรีวาณี:มีความหมายว่าอย่างไรและมีความสำคัญในทางธรรมะแห่งพระพุทธศาสนาอย่างไร?
มุนินฺท วทนมฺพุช คพฺภสมฺภว สุนฺทรี ปาณีนํ สรณํ วาณี มยฺหํ ปิณยตํ มนํ
คาถาพระสุนทรีวาณี
ตั้ง นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ จบ)
มุนินทะ วะทะนัมพุชะ คัพภะสัมภะวะ สุนทะรีปาณีนัง สะระณัง วาณี มัยหัง ปิณะยะตัง มะนังฯ
(ท่อง สาม ห้า หรือ เจ็ด จบพร้อมคำแปล)
ทำการค้าขาย โชคลาภ ให้ภาวนาเพิ่มว่า...
เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก
โส มานิมา ฤ ฤา ฦ ฦา
สา มานิมา ฤ ฤา ฦ ฦา
คำแปล:นางฟ้า คือพระไตรปิฎกอันเกิดจากดอกอุบล คือพระโอษฐ์ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้พึ่งพำนักของสรรพสัตว์ทั้งหลาย ขอจงยังใจของข้าพเจ้าให้เอิบอิ่มปรีดาปราโมทย์ รู้แจ่มแจ้งแทงตลอดจำได้ ปฏิบัติตามได้ ในพระไตรปิฏกทั้งโลกียะและโลกุตตระนั้นเทอญ
ประวัติ พระสุนทรีวาณี
เป็นพระปางพิเศษ เป็นรูปเทพธิดาทรงอาภรณ์อันงดงามวิจิตร หัตถ์ขวาแสดงอาการกวัก คือ การเรียกเข้ามาหา หัตถ์ซ้ายหงายอยู่บนพระเพลา
(หน้าตัก) มีดวงแก้ววิเชียร (เพชร) อยู่ในหัตถ์
พระสุนทรีวาณี เป็นพระซึ่งเกิดจากการนิมิต แห่งพระคาถาสุนทรีวาณี ซึ่งเป็นคาถาที่ปรากฎ ในคัมภีร์สัททาวิเสส มี ๓๒ คำ
พระคาถานี้เป็นพระคาถาศักดิ์สิทธิ์ ผู้ใดเมื่อเรียนพระไตรปิฎก เรียนพระธรรม เรียนวิชา ภาวนาแล้ว ดับอวิชชา บังเกิดปัญญางาม ปัญญากลายเป็นสัญญา คือ ความทรงจำอันเลิศล้ำ โบราณาจารย์ได้สั่งสอนศิษยานุศิษย์ให้ท่องทุกครั้ง ที่เรียนพระไตรปิฎกตลอดมา
สืบได้ความว่า ผู้ที่ท่องคาถานี้เฉพาะในยุครัตนโกสินทร์ ดำรงสมณศักดิ์ เป็นสมเด็จพระสังฆราช ๓ พระองค์ เป็นพระสมเด็จ พระราชาคณะ เป็นพระคณาจารย์ผู้มากด้วยเมตตา
พระคาถาวาณีมีชื่อเรียกหลายอย่างเช่น พระคาถาอาราธนาธรรม, พระคาถาเรียกธรรม, พระคาถาบารมี 10 ทัศน์, พระคาถาหัวใจอาการวัตตาสูตร, หรือ คาถาหัวใจอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นคาถาประจำพระองค์ ของสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร สุก ไก่ เถื่อน ที่ทรงสอนให้พระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ให้ภาวนาก่อนที่จะนั่งเข้าที่ภาวนา หรือก่อนเรียนพระปริยัติทุกคราวไป เพื่อกันบาปธรรม หรือมารเข้ามาในใจ...
ภาพถ่ายที่วัดสุทัศน์ สมเด็จพระวันรัตแดง วัดสุทัศน์เทพวราราม กล่าวว่า พระอาจารย์ของท่าน ทั้งทางคันถธุระ และวิปัสสนาธุระ สอนให้บริกรรมพระคาถา วาณี ก่อนจะเริ่มเรียนเรียนพระปริยัติธรรม และเข้าที่ภาวนาทุกคราวไป ท่านยังกล่าวอีกว่าท่านพระมหาเถระผู้ใหญ่ทั้งหลายแต่กาลก่อน ล้วนนับถือพระคาถานี้อยู่ทั่วกัน จนกระทั้งอาราธนาธรรมก็ใช้คาถานี้
ที่มาและความสำคัญของพระคาถานี้มีกล่าวไว้ใน อาการวัตตาสูตร ว่า พุทธกรธัมเมหิตัพพัง ความว่า ธรรมเป็นเครื่องกระทำความเป็นพระพุทธเจ้าคือบารมี 10 ทัศ จะพึงมีอยู่ด้วย เพราะว่าบารมีธรรมของพระพุทธเจ้าทั้งหลายมีอยู่เป็นอันมาก ธรรมทั้งหลายใดเป็นไปเพื่อจะให้สำเร็จพระสัมมาสัมโพธิญาณ ดังที่พระพุทธองค์ตรัสกับพระสารีบุตรว่า ยัญ จ สารีปุตต รัตติง ดูกรสารีบุตร ในราตรีอันใด ตถาคตเจ้าได้ตรัสรู้ อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในวิมุติเศวตฉัตร ณ ควงไม้ อัสสัตถโพธิพฤกษ์ ก็ราตรีนั้นพระตถาคตเจ้านั้นจะระลึกถึง อาการวัตตาสูตร นี้ (พระคาถาวาณี ย่อมาจากอาการวัตตาสูตร) เป็นไปเพื่อต่อต้านรักษาภัยอันตรายและห้ามบาปธรรมทั้งปวง เพราะตถาคตมาตามระลึกอยู่ ซึ้งธรรมทั้งหลายอันเป็นมรรคาแห่งสัตว์ทั้งหลาย ให้ถึงความสิ้นไปแห่กิเลส ในกาลนั้นตถาคตเจ้าทั้งมวลมีญาณเครื่องรู้เป็นประธานก่อน เรียกว่า พุทธประเวณีญาณ แปลว่าญาณกำหนดรู้ธรรมเนียมแบบแผนขอ พระพุทธเจ้าทั้งหลายที่เคยปฏิบัติมา อันอาการวัตตาสูตรนี้ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย 28 พระองค์ที่ล่วงไปแล้วก็ดี และ ตถาคตเจ้าในบัดนี้ก็ดีมิได้ระวางสักพระองค์เดียวทำตามกันมาทุกพระองค์
สมเด็จพระวันรัตน์(แดง สีลวัฑฒโน)-ผู้อธิบายพุทธมนต์ด้วยศิลปะ ภาพพระบฎ -สุนทรีวาณี
ผลงานพิเศษชิ้นหนึ่งของพระวันรัตน์(แดง สีลวัฒโน) พระเถระที่พระปิยมหาราชทรงเคารพรูปหนึ่ง เชี่ยวชาญในพระปริยัติธรรมและพระไตรปิฎก ได้รจนาหนังสืออธิบายพระธรรมวินัยไว้หลายเรื่อง เพื่อเป็นคู่มือในการศึกษาของภิกษุ สามเณร คือภาพพระบฎ ที่มีชื่อว่า สุนทรีวาณี เป็นภาพแสดงความหมายในทางธรรม อธิบายพุทธมนต์ด้วยศิลปะ ท่านได้คิดแบบให้ช่างวาดขึ้น โดยถอดความหมายจากภาษาบาลีบทหนึ่งข้างต้น ท่านชอบใจเนื้อความในคาถานี้มาก จึงได้คิดถอดความหมายให้เขียนป็นภาพพระบฎไว้สักการะบูชา คือ
เขียนเป็นภาพนางมีเต้าถัน แต่ทรงเครื่องอย่างบุรุษ หมายความว่า เป็นรูปนางฟ้า หมายถึง พระไตรปิฎก บนฝ่ามือซ้ายมีเพชรวางอยู่ หมายความว่า พระนิพพาน เลิศกว่าธรรมทั้งปวง มือขวายกขึ้น หมายถึงพระธรรมคุณ คือ เอหิปัสสโก(เรียกให้มาดู) ดอกบัวที่รองรับรูปนางฟ้านั้น เปรียบด้วยพระโอษฐ์ของพระพุทธเจ้า มีรูปมนุษย์ นั่งบนดอกบัวซ้ายขวา หมายถึงคู่พระอัครสาวก รูปนาค หมายถึง พระอรหันตขีณาสพ รูปเทพยดา พรหม และสัตว์ต่างๆ หมายถึง เหล่าสัตว์ในกามภพ-รูปภพ-และอรูปภพ สระน้ำ หมายถึง สังสารสาคร
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทอดพระเนตรเห็นภาพพระบฎดังกล่าวนี้ ทรงพอพระราชหฤทัยเป็นอันมาก ถึงทรงพระราชดำริจะให้จารึกลงในแผ่นศิลา ประดิษฐานไว้ที่โรงเรียนวัดเบญจมบพิตร อันเป็นวัดที่ทรงสถาปนาขึ้น....
ภาพพระบฎจะได้นำลงเผยแพร่ พร้อมร้อยกรองบทกลอนถวายหลวงปู่ด้วย เพื่อให้ครบถ้วนสมบูรณ์แบบในจินตนาการของท่านในเชิงศิลป์ต่อไป
***ภาพพระบฎ-สุนทรีวาณี***
โอ้"สุนทราวาณี"โสภีเพริศ สุดประเสริฐงามแท้มาแต่ไหน?
เป็น"นางฟ้า"โฉมงามมีความนัย "ทรงเครื่องใหญ่อย่างบุรุษ"-องค์พุทธา
"ประทับนั่งบนดอกบัวบาน"ทั่วฐาน เด่นตระหง่านทรงประกาศพระศาสนา
คือ"พระไตรปิฎก"ที่ยกมา พรรณนา"พระธรรม"นำชีวี.....
"พระวินัย-พระสูตร-พระอภิธรรม" ทรงค่าล้ำแก่มนุษย์วิสุทธิ์ศรี
"พระหัตถ์ซ้าย""เพชร"วางอยู่ดูให้ดี ค่าควรมี"พระนิพพาน"สถานเดียว!!!
สุดประเสริฐเลิศล้ำธรรมทั้งปวง เพราะสิ้นห่วงทุกอย่างแท้ไม่แลเหลียว
"พระหัตถ์ขวายกขึ้น"มาเมตตาเทียว เชิญทีเดียว"เรียกหาให้มาดู!!!"
"พระธรรมคุณ"บุญของโลกดับโศกเศร้า ที่แผดเผาผู้คนวิมลหรูเป็น
"เอหิปัสสโก"โชว์ชวนดู เพื่อเรียนรู้"สู่นิพพาน"สราญรมย์
"ดอกบัวบานฐานานางฟ้า"นั้น เป็นสำคัญคือ"พระโอษฐ์"ประโยชน์สม
"แห่งองค์พระพุทธา"งามน่าชม ทรงอบรมสั่งสอนสุนทรธรรม....
"มนุษย์นั่งบนดอกบัวอยู่ซ้ายขวา" คือ"อัคราสาวก"ยกคมขำ
"ซุ้มนาคคือพระอรหันต์"ผู้มั่นธรรม เป็นผู้นำ"ขีณาสพ"นบพระคุณ
"เหล่าเทพ-พรหม-เต่า-กบน้อย-หอย-ปู-ปลา- สัตว์นานา"ในห้วงกรรมที่นำหนุน
ในกามภพ-อรูปภพไม่จบบุญ รูปภพหมุนเทพ-สัตว์-คนเป็นวนวง
"ในสระบัวคือธาราเต็มสาคร" ไม่ขาดตอน"สังโยชน์"-"โลภ-โกรธ-หลง"
เป็น"สังสารวัฏ-ห้วงน้ำใหญ่"ขอให้ปลง "นิพพาน"ส่งด้วย"สุนทรีวาณี"
เทอญฯ.....กัลยาณมิตร
หมายเหตุ:พระสุนทรีวาณี เป็นพระที่ทรงไว้ด้วยความเมตตาอย่างสูง เป็นพระที่เป็นสิริมงคล มหาลาภต่าง ๆ จึงเหมาะแก่ห้างร้าน บริษัท และร้านค้าทั่วไปจะมีไว้บูชาเพื่อเจริญด้วยลาภ ยศ ความสุข สรรเสริญ ตลอดจนการเจริญก้าวหน้าในอาชีพการงานของตน
ผู้บูชาเกิดความผ่องใส เกิดโชคลาภ และความสำเร็จสมหวัง..
*********
พระคาถาอาการะวัตตาสูตร(แปลไทย)
ประวัติพระอาการะวัตตาสูตร
เมื่อครั้งพุทธกาล พระสารีบุตรได้ปริวิตกในจิตว่าจะช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ที่ไม่รู้จักบารีแห่งพระพุทธเจ้าได้อย่างไรจึงได้กราบทูลถามองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า มีธรรมอันใดเล่าที่จะลึกสุมขุม จะห้ามเสียหมู่อันธพาลพึงกระทำบาปกรรมทั้งปวงไม่ให้ตกไปในนรกอเวจี องค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงได้ตรัสถึงบทพระอาการวัตตาสูตรว่า อานิสงส์ดังนี
ผู้ใดท่องได้ใช้สวดมนต์ปฏิบัติได้เสมอ มีอานิสงส์มากยิ่งหนักหนาแม้จะปรารถนาพระพุทธภูมิ พระปักเจกภูมิ พระอัครสาวกภูมิ พระสาวิกาภูมิ จะปรารถนามนุษย์สมบัติ นิพพานสมบัติ ก็ส่งผลให้ได้สำเร็จสมความปรารถนาทั้งนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ได้เป็นพระพุทธเจ้าปัญญามาก เพราะเจริญพระพุทธมนต์บทนี้ ถ้าผู้ใดปฏิบัติได้เจริญทุกวันจะเห็นผลความสุขขึ้นเอง ไม่ต้องมีผู้อื่นบอกอานิสงส์ แสดงว่าผู้ที่เจริญพระสูตรนี้ ครั้งหนึ่ง จะคุ้มครองภัยอันตราย 30 ประการได้ 4 เดือน ผู้ใดเจริญพระสูตรนี้อยู่เป็นนิจ บาปกรรมทั้งปวงก็จะไม่ได้ช่องหยั่งลงสู่อบายภูมิเว้นแต่กรรมเก่าตามทันเท่านั้น ผู้ใดอุสาหะตั้งจิตตั้งใจเล่าเรียนได้สวดมนต์ก็ดี บอกเล่าผู้อื่นให้เลื่อมใสก็ดี เขียนเองก็ดี กระทำสักการบูชาเคารพนับถือ พร้อมทั้งไตรวาทก็ดี ผู้นั้นจะปรารถนาสิ่งใดก็จะสำเร็จทุกประการ ท่านผู้มีปรีชาศรัทธาความเลื่อมใสจะกระทำซึ่งอาการวัตตาสูตรอันจะเป็นที่พักผ่อน พึ่งพาอาศัยในวัฎฎสงสาร ดุจะเกาะและฝั่งเป็นที่อาศัยแห่งชนทั้งหลายผู้สัญจรไปมาในชลสาครสมุทรทะเลใหญ่ ฉะนั้น อาการวัตตาสูตรนี้ พระพุทธเจ้า 28 พระองค์ ที่ปรินิพพานไปแล้วก็ดี พระตถาคตพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันก็ดี มิได้สละละวางทิ้งร้างให้ห่างเลยสักพระองค์เดียว ได้ทรงพระเจริญตามพระสูตรนี้มาทุกๆพระองค์ มีคุณานุภาพยิ่งใหญ่กว่าสูตรอื่นปิดบังห้ามก้นไว้ไม่ให้ไปสู่ทุคติกำเนิดก่อนโดยกาลนาน 90 แสนกัลป์ จะสำเร็จไตรวิชชาและอภิญญา 6 ประการ ยังทิพจักษุญาณให้บริสุทธิ์ ภัยอันตราย ศัตรู หมู่ปัจจามิตร ไม่อาจจะมาครอบงำย่ำยีได้ มีกำลังมากแรงขยันต่อยุทธนาข้าศึกศัตรูหมู่ไพรีไม่ย่อท้อในภพเบื้องหน้า จะบริบูรณ์ด้วยโภคสมบัติ ทั้งจะมีฉวีวรรณผ่องใส มีจักษุประสาทรุ่งเรืองงามไม่วิปริตแลเห็นทั่วทิศที่สรรพรูปทั้งปวง มีปัญญาฉลาดเฉียบแหลมว่องไวสุขุมละเอียดลึกซึ้ง อาจรู้ทั่วถึงอรรถธรรมด้วยกำลังปรีชาญาณอวสานที่ชาติสุดท้ายก็จะได้บรรลุพระนิพพาน อนึ่งถ้ายังไม่ถึงพระนิพพานก็จะไม่บังเกิดในอบายภูมิทั้ง 4 จะไม่ได้ไปเกิดในตระกูลหญิงจัณฑาลเข็ญใจ จะไม่ไปเกิดในตระกูลมิจฉาทิฐิ จะไม่ไปเกิดเป็นหญิง จะไม่ไปเกิดเป็นอุตโตพยัญชนก อันมีเพศเป็น 2 ฝ่าย จะไม่ไปเกิดเป็นบัณเฑาะก์ เป็นกะเทยที่เป็นอาภัพบุคคล บุคคลผู้นั้นเกิดในภพใดๆก็จะบริบูรณ์ในการบริจาคทานไม่เบื่อหน่าย ไม่มีโรค-พยาธิเบียดเบียนสรรพอันตรายความจัญไร ภัยพิบัติก็จะสงบระงับดับคลายลงด้วยคุณานิสงค์ผลที่ได้สวดมนต์ ได้สดับฟังพระสูตรนี้ มีประสาทจิตผ่องใส ใกล้จะตายไม่หลงสติจะดำรงสติไว้ทางสุคติ เสวยสุขสมบัติตามใจประสงค์ นรชนผู้ใดเห็นตามโดยชอบซึ่งพระสูตรเจือปนด้วยพระวินัยพระปรมัตถ์มีนามบัญญัติชื่อว่า อาการะวัตตาสูตร มีข้อความดังประการนี้
พระคาถาอาการะวัตตาสูตร ( ฉบับแปลไทย )
ณ บัดนี้จะแสดงธรรม ที่มีมาในพระอาการะวัตตาสูตร ที่องค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าโคดม ทรงเสด็จประดับ ณ คิชฌกูฏบรรพตคีรีวันฯได้ทรงแสดงธรรมในพระบารมี คือบารมีที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงตรัสรู้ อันเป็นพระบารมีอันยิ่งใหญ่ คือ คุณธรรมที่ได้ทรงบำเพ็ญเพียรตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงที่สุด ในการตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณของพระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ ทรงได้ปฏิบัติตามกันมาเป็นลำดับดังนี้ แก่พระสารีบุตรและพระพุทธสาวกของพระองค์ให้รู้ตาม ในคุณอันยิ่งใหญ่ที่มีมานั้น ที่วงศ์สกุลแห่งพระตถาคตเจ้าทั้งหลายทรงได้ตรัสรู้แล้ว
1. พระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นพระอรหันต์ คือ เป็นผู้บริสุทธิ์ไกลจากกิเลส ทำลายกำแพงสังสารจักรได้แล้ว เป็นผู้ควรแนะนำสั่งสอนผู้อื่น ควรได้รับความเคารพบูชา เป็นต้น พระพุทธเจ้าผู้ทรงผู้ตรัสรู้ชอบเอง พระพุทธเจ้าเป็นผู้ทรงถึงพร้อมด้วยวิชชา คือความรู้ และจรณะ คือความประพฤติ พระพุทธเจ้าผู้เสด็จไปดีแล้ว คือ ทรงดำเนินพระพุทธจริยาให้เป็นไปโดยสำเร็จผลด้วยดี พระองค์เองก็ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ทรงบำเพ็ญพุทธกิจก็สำเร็จประโยชน์ยิ่งใหญ่แก่ชนทั้งหลายในที่ที่เสด็จไป และได้ประดิษฐานพระศาสนาไว้ แม้ปรินิพพานแล้วก็เป็นประโยชน์แก่มหาชนสืบมา พระพุทธเจ้าเป็นผู้รู้จักโลก คือรู้แจ้งสภาวะอันเป็นคติธรรมดาแห่งโลก คือ สังขารทั้งหลาย ทรงหยั่งทราบอัธยาศัยสันดานแห่งสัตว์โลกทั้งปวง ผู้เป็นไปตามอำนาจแห่งคติธรรมดาโดยท่องแท้ เป็นเหตุให้ทรงดำเนินพระองค์เป็นอิสระ พ้นจากอำนาจครอบงำแห่งคติธรรมดานั้น และทรงเป็นที่พึ่งแห่งสัตว์ทั้งหลายผู้ยังจมอยู่ในกระแสโลกได้ พระพุทธเจ้าเป็นสารถีฝึกบุรุษที่ฝึกได้ ไม่มีใครยิ่งกว่า คือทรงเป็นผู้ฝึกคนได้ดีเยี่ยม ไม่มีผู้ใดเทียมเท่า พระพุทธเจ้าเป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย พระพุทธเจ้าเป็นผู้ตื่นและเบิกบานแล้ว คือ ทรงตื่นเองจากความเชื่อถือและข้อปฏิบัติทั้งหลายที่ถือกันมาผิดๆ ด้วย ทรงปลุกผู้อื่นให้พ้นจากความหลงงมงาย อนึ่ง เพราะไม่ติด ไม่หลง ไม่ห่วงกังวลในสิ่งใดๆมีการคำนึงประโยชน์ส่วนตนเป็นต้น จึงมีพระทัยเบิกบาน การที่ทรงพระคุณสมบรูณ์เช่นนี้ และทรงบำเพ็ญพุทธกิจได้เรียบร้อยบริบูรณ์เช่นนี้ ย่อมอาศัยเหตุคือความเป็นผู้ตื่น และย่อมให้เกิดผลคือทรงทำให้เบิกบานด้วย พระพุทธเจ้าจะทรงทำการใด ก็ลุล่วงปลอดภัยทุกประการ หรือเป็นผู้จำแนกแจกธรรม พระพุทธเจ้าทรงเพียบพร้อมแล้วในคุณเพราะเหตุอย่างนี้ๆ ( วรรคที่ 1 )
2.พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ อำนาจแห่งบุญที่สร้างสมไว้และทรงบำเพ็ญเพียรมาด้วยพระองค์เอง พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ทรงเป็นผู้มีอารมณ์สดใสแห่งธรรมมีจิตใจที่เบิกบาน พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ทรงสติปัญญาและทรงมีไหวพริบอันเยี่ยมยอด ยิ่งใหญ่หาที่สุดประมาณ พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความปรารถนาอันยิ่งใหญ่ที่จะช่วยสรรพสัตว์ทั้งหลายให้พ้นจากทุกข์ พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ญาณเป็นเครื่องรู้แห่งจิตในธรรมที่ได้ทรงตรัสรู้แล้ว พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ธรรมที่จะนำสรพสัตว์ให้ข้ามพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ธรรมเป็นเครื่องสรุปด้วยเหตุและปัจจัยในการเกิดและดับแห่งอารมณ์ พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ธรรมแห่งพระพุทธองค์ที่มีอนุภาพอันสว่างโชติช่วงดังดวงอาทิตย์ พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ เสด็จลงสู่พระครรภ์มารดาในท่านั่งสมาธิ พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ทรงดำรงอยู่ในพระครรภ์มารดาโดยนั่งขัดสมาธิ 10 เดือน ทรงเพียบพร้อมแล้วในอำนาจแห่งบารมีที่สร้างสมไว้ด้วยเหตุและผลปัจจัยดังนี้ ( วรรคที่ 2 )
3.พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความเพียบพร้อมในฐานะที่ทรงดำรงอยู่รอดในพระครรภ์มารดา พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความเพียบพร้อมปราศจากมลทินในการประสูติ พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความเพียบพร้อมในพระชาติอันอุดมยิ่ง พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ แนวทางแห่งการดำเนินไปเพื่อการหลุดพ้น พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ มีพระรูปโฉมที่สง่างามยิ่ง พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ทรงมีผิวพรรณอันงดงามยิ่ง พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ทรงเป็นที่รวบรวมมงคลอันประเสริฐ และเป็นมิ่งขวัญอันยิ่งใหญ่ พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความเพียบพร้อมในการเจริญวัย พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความเพียบพร้อมแห่งการเป็นผู้นำ ผู้เป็นใหญ่ พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความเพียบพร้อมในการประสูติ ( คลอด ) สำเร็จ ทรงเพียบพร้อมแล้วในฐานะแห่งบารมี ด้วยเหตุและปัจจัยดังนี้ ( วรรคที่ 3 )
4.พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ธรรมแห่งการตรัสรู้ พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความบริสุทธิ์สมบูรณ์ด้วยศีล พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความตั้งมั่นความสงบแห่งจิต พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความพอใจพยายาม เพื่อทำให้แจ้งซึ่งคุณธรรมนั้น พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ เป็นมหาบุรุษที่มีลักษณะอันงดงามครบทั้ง 32 ประการ พระพุทธเจ้าผู้ทรงเพียบพร้อมในธรรมแห่งการตรัสรู้ยิ่ง ด้วยเหตุและปัจจัยดังนี้ ( วรรคที่ 4 )
5.พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ บุรุษผู้มีพระมหาปัญญาอันรอบรู้ชัด หยั่งรู้ในเหตุผล ทุกสรรพสิ่งฯลฯ อันยิ่งใหญ่ พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ บุรุษผู้มีพระปัญญาอันหนาแน่น พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ บุรุษผู้มีพระปัญญาอันร่าเริง พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ บุรุษผู้มีพระปัญญาอันโลดแล่น ( เร็วเหมือนฝีเท้า ) พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ บุรุษผู้มีพระปัญญาอันกล้าแข็ง พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ บุรุษผู้มีตาปัญญาทั้ง 5 ทรงประกอบด้วยคุณยิ่งใหญ่เป็นเหตุให้สามารถให้ตรัสรู้ฯ พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ บุรุษผู้ทำความรู้แห่งรสธรรมอันยอดเยี่ยม ทรงเพียบพร้อมแล้วในธรรมแห่งปัญญาอันยิ่งใหญ่ 5 ประการ ด้วยเหตุและปัจจัยดังนี้ ( วรรคที่ 5 )
6.พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ การให้ การเสียสละ พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ การรักษากาย วาจา ให้อยู่ในหลักความประพฤติที่เรียบร้อย ประพฤติดีงามถูกต้อง พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ การออกบวช ความปลีกตัวปลีกใจจากกาม พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความรอบรู้ ความหยั่งรู้เหตุและผล เข้าใจสภาวะของสิ่งทั้งหลายตามความจริง และรู้จักแก้ไขปฏิบัติจัดการต่างๆ พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความเพียร ความแกล้วกล้า พยายามบากบั่นไม่ทอดทิ้งธุระหน้าที่ พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความอดทน ความทนทานของจิตใจ สามารถใช้สติปัญญาควบคุมตนให้อยู่ในอำนาจเหตุผลที่ตั้งไว้เพื่อจุดหมายอันชอบ ไม่ลุอำนาจกิเลส พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความจริง พูดจริง ทำจริง และจริงใจ พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความตัดใจมั่น การตัดสินใจเด็ดเดี่ยว วางจุดหมายของตนไว้แน่นอนและดำเนินตามนั้นแน่วแน่ พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความรักใคร่ ความปรารถนาดี คิดเกื้อกูลให้ผู้อื่นและเพื่อนร่วมโลกทั้งปวงมีความสุข พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความวางใจเป็นกลาง ความวางใจสงบราบเรียบสม่ำเสมอ เที่ยงธรรมและดำรงอยู่ในธรรม ทรงเพียบพร้อมแล้วในคุณธรรมระดับต้น ด้วยเหตุและปัจจัยดังนี้ ( วรรคที่ 6 )
7.พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ บารมีระดับต้น 10 อย่าง ได้แก่ ทานบารมีเป็นต้น เช่น สละทรัพย์สินเงินทองฯ พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ บารมีอุปบารมี ระดับรองหรือจวนจะสูงสุด เช่น ทานอุปบารมี ได้แก่ การเสียสละอวัยวะเป็นทาน พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ทานปรมัตถบารมี ระดับสูงสุดได้แก่ การสละชีวิตเป็นทานเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ การบำเพ็ญทั้ง 10 บารมี ครบ 3 ขั้น หมายถึงบารมี 30 ถ้วน พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความหยั่งรู้ในณานและองค์ณานตามลำดับ พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความรู้ยิ่งความรู้ชัด พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความระลึกได้ พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความมีใจตั้งมั่นที่มั่นคงมีจิตใจแน่วแน่ในอารมณ์ พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความหลุดพ้นจากกิเลส พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นจากกิเลส ทรงเพียบพร้อมแล้วในการบำเพ็ญบารมีครบถ้วน ด้วยเหตุและปัจจัยดังนี้ ( วรรคที่ 7 )
8.พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ วิชชาคือความรู้ จรณะคือความประพฤติ ปัญญาที่พิจารณาถึงสังขาร คือนามรูปโดยไตรลักษณ์ มีต่างกันออกไปเป็นชั้นๆต่อเนื่องกัน พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ฤทธิ์สำเร็จด้วยใจ ฤทธิ์ทางใจ คือ นิรมิตกายอื่นออกจากกายนี้ พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ การแสดงฤทธิ์ต่างๆได้ คือ เดินบนน้ำ เป็นต้น พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ การมีหูทิพย์ คือ ได้ยินเสียงที่เกินความสามารถของมนุษย์ พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความรู้ที่กำหนดใจผู้อื่นได้ พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ การระลึกชาติได้ พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ มีตาทิพย์ เห็นความตายความเกิดของสัตว์ทั้งหลาย พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความประพฤติและความรู้อย่างยอดเยี่ยม พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความประพฤติแห่งธรรมและความรู้แจ้งด้วยปัญญาตามความเป็นจริง พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ การมีธรรมเป็นเครื่องอยู่โดยลำดับแล้ว ทรงเพียบพร้อมในวิชชา ด้วยเหตุและปัจจัยดังนี้ ( วรรคที่ 8 ) 9.พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ การกำหนดรู้ทุกข์ที่เป็นไปในโลก คือ รู้จัก เข้าใจชัดตามสภาพที่เป็นจริง พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ การละกิเลส อันรัดรึงจิต กำจัด ทำให้หมดสิ้นไป ด้วยการละต้นตอแห่งกิเลส พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ การกระทำให้แจ้งในความดับทุกข์ คือเข้าถึง หรือบรรลุจุดหมายที่ต้องการดับทุกข์ พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ การเจริญคือ ฝึกอบรมจิต ลงมือปฏิบัติ กระทำตามวิธีการที่จะนำไปสู่ความดับทุกข์ พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ การกำหนดรู้ทุกข์ที่เกิด การละกิเลสทำให้หมดสิ้นไปของต้นตอแห่งทุกข์ กระทำให้แจ้งในความดับทุกข์ ด้วยการเจริญฝึกอบรมจิต ให้ถึงความดับทุกข์ พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความจริงทั้ง 4 อย่างนี้ได้แก่ 1.ทุกข์ 2.เหตุให้เกิดทุกข์ 3.ความดับทุกข์ 4.ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ( ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ) พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความแตกฉาน มีปรีชาญาณเป็นเครื่องรู้ในธรรม ทรงเพียบพร้อมแล้วด้วยการกำหนดรู้ในธรรม ด้วยเหตุและปัจจัยดังนี้ ( วรรคที่ 9 ) 10.พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ธรรมอันเป็นไปในฝ่ายแห่งการตรัสรู้ ธรรมที่เกื้อหนุนแก่อริยมรรคมี 37 ประการ สติปัฏฐาน 4 คือ ความรู้แจ้งแห่งธรรมในการพิจารณาตั้งสติได้แก่ 1.กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน การตั้งสติพิจารณากาย 2.เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน การตั้งสติพิจารณาเวทนา 3.จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน การตั้งสติพิจารณาจิต 4.ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน การตั้งสติพิจารณาธรรม สัมมัปปธาน 4 คือ ความรู้แจ้งแห่งธรรมในการพิจารณาความเพียร ได้แก่ 1.สังวรปธาน เพียรระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้น 2.ปหานปธาน เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว 3.ภาวนาปธาน เพียรทำกุศลให้เกิดขึ้น 4.อนุรักษ์ขนาปธาน เพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญยิ่งขึ้น อิทธิบาท 4 คือ ความรู้แจ้งแห่งธรรมในการพิจารณาที่ให้ประสบความสำเร็จ ได้แก่ 1.ฉันทะ ความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น 2.วิริยะ ความเพียร 3.จิตตะ เอาใจฝักใฝ่ 4.วิมังสา ใช้ปัญญาพิจารณาสอบสวน อินทรีย์ 5 คือ ความรู้แจ้งแห่งธรรมอันเป็นใหญ่ในหน้าที่ของตนได้แก่ 1.ศรัทธา ความเชื่อ 2.วิริยะ ความเพียร 3.สติ ความระลึกได้ 4.สมาธิ ความตั้งจิตมั่น 5.ปัญญา ความรู้ทั่วชัด พละ 5 คือ ความรู้แจ้งแห่งธรรมในการพิจารณาธรรมอันเป็นกำลัง ได้แก่ 1.ศรัทธา 2.วิริยะ 3.สติ 4.สมาธิ 5.ปัญญา โพชฌงค์ 7 คือ ความรู้แจ้งแห่งธรรมองค์แห่งการตรัสรู้ ได้แก่ 1.สติ ความระลึกได้ 2.ธัมมวิจยะ ความเลือกเฟ้นธรรม 3.วิริยะ ความเพียร 4.ปิติ ความอิ่มใจ 5.ปัสสัทธิ ความผ่อนคลายสงบเย็นกายใจ 6.สมาธิ ความมีใจตั้งมั่น 7.อุเบกขา ความมีใจเป็นกลางเพราะความเห็นเป็นจริง มรรค 8 คือ ความรู้แจ้งแห่งธรรมในทางมีองค์แปดประการอันประเสริฐ ได้แก่ 1.สัมมาทิฏฐิ ปัญญาเห็นชอบ 2.สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ 3.สัมมาวาจา เจราชอบ 4.สัมมากัมมันตะ การงานชอบ 5.สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีวิตชอบ 6.สัมมาวายามะ ความเพียรชอบ 7.สัมมาสติ ระลึกชอบ 8.สัมมาสมาธิ ตั้งจิตมั่นชอบ พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระมหาบุรุษผู้ทรงธรรมอันทำให้เกิดความสว่างในพระงอค์ พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ บุรุษที่มีปรีชาธรรมอันไม่มีความขัดข้อง ไม่มีเครื่องกั้น รู้ตลอด รู้ทะลุปรุโปร่ง พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ธรรมอันทำให้สิ้นอาสวะ เป็นกำลังแห่งความหลุดพ้น จนสำเร็จเป็นอรหันต์ ธรรมฝ่ายแห่งการตรัสรู้ 37 ประการ ด้วนเหตุและปัจจัยดังนี้ ( วรรคที่ 10 )
11.พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระญาณอันเป็นกำลังของพระตถาคต 10 ประการ พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระปรีชาหยั่งรู้ฐานะและอฐานะ คือ รู้กฎธรรมชาติเกี่ยวกับขอบเขตและขีดขั้นของสิ่งทั้งหลายว่า อะไรเป็นได้ อะไรเป็นไม่ได้ ของบุคคลซึ่งจะได้รับผลกรรมที่ดีและชั่ว ต่างๆกัน พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระปรีชาหยั่งรู้ผลของกรรม คือ สามารถกำหนดแยกการให้ผลอย่างสลับซับซ้อน ระหว่างกรรมดีกับกรรมชั่ว ทั้งในอดีต ในอนาคต และปัจจุบัน พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระปรีชาหยั่งรู้ข้อปฏิบัติที่จะนำไปสู่คติทั้งปวง คือ สุคติ ทุคติ หรือพ้นจากคติ รู้ว่าเมื่อปรารถนาจะเข้าถึงคติหรือประโยชน์ใด จะต้องทำอะไรบ้าง พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระปรีชาหยั่งรู้สภาวะของโลกอันประกอบด้วยธาตุต่างๆ เป็นอเนก คือ รู้สภาวะของธรรมชาติ เช่น รู้จักส่วนประกอบต่างๆของชีวิต และหน้าที่ของมันแต่ละอย่าง อาทิ หน้าของขันธ์ อายตนะ และธาตุต่างๆ เป็นต้น พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระปรีชาหยั่งรู้อธิมุติ คือ รู้อัธยาศัย ความโน้มเอียง ความเชื่อถือ เป็นต้น ของสัตว์ทั้งหลายที่เป็นไปต่างๆกัน พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระปรีชาหยั่งรู้ความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย คือ รู้ว่าสัตว์นั้นๆมีศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา แค่ไหน เพียงใด พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระปรีชาหยั่งรู้ความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว การออกแห่งฌาน วิโมกข์สมาธิ และสมาบัติทั้งหลาย พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระปรีชาหยั่งรู้ อันทำให้ระลึกภพชาติที่เคยอยู่ในหนหลังได้ พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระปรีชาหยั่งรู้ จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลายอันเป็นไปตามกรรม พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระปรีชาหยั่งรู้ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย นี่คือพระญาณอันเป็นกำลังของพระตถาคต 10 ประการ ด้วยเหตุและปัจจัยดังนี้ ( วรรคที่ 11 ) 12.พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระกำลังที่ทรงมีมากกว่ากำลังช้าง ตั้งโกฏิ ( โกฏิ หมายถึง จำนวนนับเท่ากับสิบล้าน ) และปโกฏิ ( นับจำนวนไม่ได้ ) พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระกำลังที่ทรงมีมากกว่าบุรุษทั้งหลายเป็นพันโกฏิ พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ทรงปรีชาหยั่งรู้พระจักษุอันเป็นสมบัติของพระพุทธเจ้ามี 5 คือ 1.มังสจักขุ ตาเนื้อ 2.ทิพพจักขุ ตาทิพย์ 3.ตาปัญญา ตาปัญญา 4.พุทธจักขุ ตาพระพุทธเจ้า 5.สมันตจักขุ ตาเห็นรอบ พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระปรีชาทรงหยั่งรู้ในคู่แห่งธรรม คือ ธาตุน้ำ และธาตุไฟ เป็นต้น พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ คุณแห่งความประพฤติดีทางกายและวาจา ให้ตั้งมั่นอยู่ในความดีงาม ปราศจากโทษ พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ คุณวิเศษหรือธรรมวิเศษที่เข้าถึงการบรรลุขั้นสูง ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมีพละกำลัง ด้วยเหตุและปัจจัยดังนี้ ( วรรคที่ 12 ) 13.พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ มีพระปรีชาสามารถในเรี่ยวแรงแห่งจิตในธรรมอันเป็นกำลังยิ่ง พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ มีพระปรีชาสามารถหยั่งรู้กำลังในเรี่ยวแรงแห่งจิตในธรรมอันเป็นกำลังทั้งหลาย พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ มีพระปรีชาในธรรมอันเป็นกำลังอันเข็มแข็งที่ทำให้ข่มขจัดได้แม้แต่กำลังมาร พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ มีพระปรีชาหยั่งรู้กำลังจิตไม่มีกิเลสหรือความทุกข์ใดๆ จะสามารถบีบคั้นครอบงำได้ พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ บุรุษผู้มีพระปรีชาสามารถยิ่ง พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ มีพระปรีชาสามารถหาที่สุดประมาณ โดยไม่มีเครื่องชั่ง พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ มีพระปรีชาเป็นเครื่องหยั่งรู้ พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ มีพระปรีชาในความพยายามที่มั่นคง พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ มีพระปรีชาสามารถแสวงหาหนทางแห่งธรรมในการตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ เรี่ยวแรงอันเป็นกำลัง ด้วยเหตุและปัจจัยดังนี้ ( วรรคที่ 13 ) 14.พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความประพฤติปกติของจิต คือ การทรงบำเพ็ญประโยชน์ให้เกิดแก่สรรพสัตว์ พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความหยั่งรู้ปกติของจิตในสรรพสัตว์ ที่ทรงบำเพ็ญประโยชน์สูงสุด พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความประพฤติปกติของจิต คือ เอื้ออำนวยประโยชน์แก่สัตว์ทั้งหลายในโลก พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ทรงหยั่งรู้ปกติของจิตในสรรพสัตว์ ทรงเอื้ออำนวยประโยชน์แก่สัตว์ทั้งหลาย พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ทรงบำเพ็ญประโยชน์แก่พระญาติตามฐานะ พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ทรงหยั่งรู้ในพระญาณทรงบำเพ็ญประโยชน์แก่พระญาติตามฐานะ พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ทรงบำเพ็ญประโยชน์ตามหน้าที่ของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ทรงหยั่งรู้ด้วยสิ่งที่ควรประพฤติตามหน้าที่ของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ทรงบำเพ็ญบารมีจนครบทั้งสามประการ พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ทรงบำเพ็ญบารมี ระดับต้น ระดับกลาง ระดับสูงสุด รวมเรียกว่า บารมี 30 ทัศ รวมเรียกว่าการทรงบำเพ็ญประโยชน์ ของพระพุทธเจ้าด้วยเหตุและปัจจัยดังนี้ ( วรรคที่ 14 ) 15.พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ทรงรู้ความจริงทั้งหลายที่ไม่เที่ยง ที่เป็นทุกข์ ที่ไม่ใช่ตัวตน ที่มีเกิดขึ้นและดับลง เป็นกฎแห่งไตรลักษณ์ คือ ความไม่เที่ยงแห่งขันธ์ 5 ที่ไม่ควรยึดติด พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ทรงรู้ความจริงทั้งหลายที่ไม่เที่ยง ที่เป็นทุกข์ ที่ไม่ใช่ตัวตน ที่มีเกิดขึ้นและดับลง เป็นกฎแห่งไตรลักษณ์ คือ ความเป็นทุกข์แห่งขันธ์ 5 ที่ไม่ควรยึดติด พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ทรงรู้ความจริงทั้งหลายที่ไม่เที่ยง ที่เป็นทุกข์ ที่ไม่ใช่ตัวตน ที่มีเกิดขึ้นและดับลง เป็นกฎแห่งไตรลักษณ์ คือ สิ่งที่ไม่ใช่ตัวตนแห่งขันธ์ 5 ที่ไม่ควรยึดติด พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ มหาบุรุษผู้ทำความรู้แห่งธรรมอันยอดเยี่ยมทรงหยั่งรู้ความจริงทั้งหลายที่ไม่เที่ยง ที่เป็นทุกข์ ที่ไม่ใช่ตัวตน ที่มีเกิดขึ้นแห่งลักษณ์ธาตุ พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ มหาบุรุษผู้เป็นนำผู้เป็นใหญ่ ทรงหยั่งรู้ความจริงทั้งหลายว่า ไม่เที่ยง ที่เป็นทุกข์ ที่ไม่ใช่ตัวตน ที่มีเกิดขึ้นแล้วของลักษณ์ทั้งปวงในโลก รวมเรียกว่าลักษณ์บารมีแห่งพระพุทธเจ้า ด้วยเหตุและปัจจัยดังนี้ ( วรรคที่ 15 )
16.พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ เป็นผู้รู้ในทุกหนทางที่ปฏิบัติดำเนินไป และทุกสถานที่ๆทรงเสด็จไป พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ เป็นผู้หยั่งรู้ในทุกหนทางที่ปฏิบัติดำเนินแล้ว และทุกสถานที่ๆทรงเสด็จไป พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ เป็นผู้มีความชำนาญในเรื่องฌาน คือ ตรวจองค์ฌาน.เข้า-ออกได้รวดเร็ว เป็นต้น พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ เป็นผู้หยั่งรู้ ทรงเชี่ยวชาญชำนาญในเรื่องฌาน พิจารณาทบทวนองค์ฌานรวดเร็ว พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ เป็นผู้ฝึกหัดอบรบ กาย วาจา จิตใจ และปัญญา จนบรรลุจุดหมายสูงสุด พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ เป็นผู้หยั่งรู้ด้วยการศึกษาที่เชี่ยวชาญจนบรรลุจุดหมายสูงสุด คือ พระนิพพาน พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ เป็นผู้มีความสำรวมความระวังปิดกั้นบาปอกุศล เช่น สำรวมศีล เป็นต้น พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ เป็นผู้หยั่งรู้ ในความสำรวม ปิดกั้นบาปอกุศลทั้งหลาย พระพุทธเจ้าผู้ทรงปฏิบัติเจริญวิปัสสนาตามลำดับ ตั้งแต่ต้นจนถึงที่สุดด้วยเหตุและปัจจัยดังนี้ ( วรรคที่ 16 ) 17.พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ทรงเป็นผู้รู้ในทุกหนทางปฏิบัติดำเนินไปตามเชื้อสายพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ทรงเป็นผู้มีความหยั่งรู้ทั่งถึงชัดเจน แห่งหนทางปฏิบัติตามเชื้อสายพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ทรงเป็นผู้มีความรู้เป็นอัศจรรย์ในคู่แห่งธรรม พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ทรงเป็นผู้มีความหยั่งรู้แสดงผลให้บังเกิดอัศจรรย์ในคู่แห่งธรรม เนื่องด้วยธาตุน้ำและธาตุไฟ แสดงออกพร้อมกัน พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ทรงเป็นผู้มีการเป็นอยู่หรือดำเนินชีวิตอย่างผู้ประเสริฐ 4 ประการ พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ทรงเป็นผู้มีพรหมจรรย์ในการดำเนินชีวิตอย่างผู้รู้ อย่างผู้ประเสริฐ 4 ประการ พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ทรงเป็นผู้มีปรีชาหยั่งรู้อันไม่มีความขัดข้อง รู้ตลอด รู้ทะลุปรุโปร่ง ไม่มีเครื่องกั้นเป็นพระปรีชาเฉพาะพระพุทธเจ้า ซึ่งไม่มีทั่วไปแก่พระสาวก พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ทรงเป็นผู้มีความหยั่งรู้ไม่มีที่สิ้นสุดในธรรม ในอินทรีย์อันหยิ่งหย่อนของสัตว์ พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ทรงเป็นผู้มีพระปรีชาญาณหยั่งรู้สิ่งทั้งปวง ทั้งที่เป็นอดีต ปัจจุบัน และอนาคต เป็นพระปรีชาเฉพาะพุทธเจ้า ซึ่งไม่มีทั่วไปแก่พระสาวก พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ทรงเป็นผู้มีพระปรีชาวชิรญาณตรัสรู้สิ่งทั้งปวงรู้เห็นไปข้างหน้า คือ อนาคตรู้ เห็นอดีตข้างหลัง ได้มากโดยมากเขตแดนหามิได้ พระมหาบุรุษผู้เป็นเชื้อสายแห่งพระพุทธเจ้า ด้วยเหตุและปัจจัยดังนี้ ( วรรคที่ 17 )
อิติปิโสภควา .....
สวากขาโต .....
สุปฏิปันโน .....
โอม ศรี คะเณศายะ นะมะ ฮา ขอความสำเร็จในด้านต่าง ๆ มีโชค มีทรัพย์ เงินทอง สมปรารถนา
โอม นะโม นารายะณายะ นะมะ (ณะ มัช)
โอม ลักษะ มะไย นะมะ
โอม นะมะ (นะมัส) ศิวายะ ขอพรคุ้มครองป้องกันสรรพภัย
โอม ปาระวัต ตไย นะม
โอม ศรี พรัม หมะ เณ นะมะ (พรหมา ยะ ณะมัช) ขอลาภขอผลและเป็นสิ่งมงคลดีงามกับเรา
โอม สะรัส วะ ตไย นะมะ /พระสุนทรีวาณี:อีกภาคหนึ่งของทางฮินดูคือพระแม่สุรัสวดี เทพแห่งปัญญา การเจรจาค้าขาย
คาถาพระสุนทรีวาณี (หัวใจพระอาการวัตตาสูตร)
ตั้ง นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ จบ)
มุนินทะ วะทะนัมพุชะ คัพภะสัมภะวะ สุนทะรีปาณีนัง สะระณัง วาณี มัยหัง ปิณะยะตัง มะนังฯ
(ท่อง สาม ห้า หรือ เจ็ด จบพร้อมคำแปล)
ทำการค้าขาย โชคลาภ ให้ภาวนาเพิ่มว่า...
เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก
โส มานิมา ฤ ฤา ฦ ฦา
สา มานิมา ฤ ฤา ฦ ฦา
คำแปล:นางฟ้า คือพระไตรปิฎกอันเกิดจากดอกอุบล คือพระโอษฐ์ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้พึ่งพำนักของสรรพสัตว์ทั้งหลาย ขอจงยังใจของข้าพเจ้าให้เอิบอิ่มปรีดาปราโมทย์ รู้แจ่มแจ้งแทงตลอดจำได้ ปฏิบัติตามได้ ในพระไตรปิฏกทั้งโลกียะและโลกุตตระนั้นเทอญ
ข้าพเจ้าทำผิด ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ
ต่อหน้า ลับหลัง เจตนา พลังเผลอ รู้เท่าไม่ถึงการณ์ กรุณาอภัยโทษ อย่าได้ถือโทษโกรธเคือง
และอย่างสร่างซึ่งเมตตาเลย
ข้าพเจ้ากราบอาราธนา
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 5 พระองค์ นะโมพุทธายะ
พระพุทธเจ้า พระปัจเจกโพธิ์ พระธรรม พระสงฆ์ บิดามารดาทุกภพทุกชาติ
ครูบาอาจารย์ทุกภพทุกชาติ พระโพธิ์สัตว์
พระบรมสารีริกธาตุ สังเวชนียสถาน 4
หลวงพ่อโสธร หลวงพ่อวัดไร่ขิง หลวงพ่อวัดบ้านแหลม หลวงพ่อโตบางลี หลวงพ่อทองวัดเขาตะเครา
พระพุทธชินราช พระแก้วมรกต พระพุทธสิหิงค์
หลวงพ่อพุทธมงคล และพระประธานในพระอุโบสถที่ข้าพเจ้าได้ไปนมัสการมา
ท่านเจ้าประคุณหลวงปู่อรุกขเทวาจักระพรหมมุนี อิกะวิติพุทโธ อะมะมะวา
พระครูฤษี พ่อครูฤษีปลัยโกฎิมหาพรหมฤษี อิติปิโสภควา โชคดี
พระฤษีนารอท พระฤษีนารายณ์ พระฤษีกไลยโกฎิพระฤษีพุทธมงคล พระฤษีสิงหดาบส พระฤษีสัจจพันธ์คีรี
พระฤษีมุนีดาบส พระฤษีหน้าวัว พระฤษีตาไฟ พระฤษีกสสป พระฤษีศรีจันทร์ พระฤษีทั้ง 108 พระองค์
พรหม อรูปพรหม เทพไท้เทวา เทวสตรี ทุกรูปทุกนาม แม่พระธรณี แม่รวงข้าว
สิ่งศักดิ์สิทธิ์ในสถานที่นี้และในสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ที่
ข้าพเจ้าเคยได้ไปอธิษฐานไว้ จะสวดมนต์ถวาย ขอหลวงปู่ได้
โปรดเมตตาน้อมนำท่านทั้งหลาย ร่วม ฟัง สวดพระอาการวัตตสูตร
เพื่อเพิ่มกำลัง เพิ่มบารมีและอนุโมทนาบุญ ณ กาลบัดเดี๋ยวนี้ด้วยเถิด
และผู้ที่ต้องการบุญนี้จงอนุโมทนาบุญได้ทันทีเทอญ สาธุ สาธุ สาธุ
ข้าพเจ้าขอสวดเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา
บิดามารดาบูชา ครูบาอาจารย์บูชา
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโน สัมมาสัมพุธธัสสะ
เอวัเม สุตัง เอกัง สะมะยัง ภะคะวา ราชะ คะเห วิหาระติ คิชฌะกูเฎ ปัพพะเต อะถะโข อายัสมา
สาริปุตโต เยนะ ภะคะวา เตนุปะสังกะมิ อุปะสังกะมิตตะวา ภะคะวันตัง อะภิวาเทตวา เอกะมันตัง นิสิทิ
ตัง โข ปะนะ ภะคะวันตัง เอวัง กัลยาโณ กิตติสัทโท อัพพุคคะโต
อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทธโธ วิชชาจะระนะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ
โส อิมัง โลกัง สะเทวะวัง สะมาระกัง สะพรัมะกัง สัสสะมะณะพราหมะณิง ปะชัง
สะเทวะมะนุสสัง สะยัง อภิญญา สัจฉิกัตวา ปะเวเทสิ
โส ภะคะวา จักขุภูโต ญาณะภูโต ธัมมะภูโต ตัสสะทา ปะวัตตา
อัสสะ ชะเนนตา อะมะตัสสะ ทาตา
ธัมมะสามิ ธัมมะราชา ธังมัง เทเสสิ อาทิกัลยาณัง มัชเฌกัลยาณัง ปะริโยสานะกัลยาณัง
สาตถัง สะพยัญชะนัง เกวะละ ปะริปุณณัง ปะริสุทธัง พรัหมะจะริยัง ปะกาเสสิ
1. อิติปิโสภะคะวา อะระหัง
อิติปิโสภะคะวา สัมมาสัมพุทโธ
อิติปิโสภะคะวา วิชชาจะระณะสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สุคะโต
อิติปิโสภะคะวา โลกะวิทู
อิติปิโสภะคะวา อะนุตตะโรปุริสะธัมมะสาระถิ
อิติปิโสภะคะวา สัตถาเทวะมะนุสสานัง
อิติปิโสภะคะวา พุทโธ
อิติปิโสภะคะวา ภะคะวาติ
(พุทธะคุณะวัคโค ปะฐะโม)
คำแปล พระพุทธคุณวรรคที่1 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงครอบงำความทุกข์ได้ ทรงไม่มีความลับ ทรงบริสุทธิ์ หมดจดดี เป็นผู้ไกลจากกิเลส ทรงฝึกฝนจิตจนถึงแก่น
ทรงฝึกฝนจิตจนรู้ชอบ ทรงปฏิบัติจิตจนเห็นแจ้งด้วยตนเอง ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
ทรงสมบูรณ์พร้อมด้วยวิชชา การแสดงคุณค่าของจิตให้ปรากฎจรณะ เครื่องอาศัยให้วิชชาได้ปรากฎ
ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ทรงดำเนินไปในทางดี คือ อริยมรรค-ปฏิปทา เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี ทรงรู้แจ้งโลก
เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง ทรงบังคับยานขึ้นจากหล่มได้อย่างยอดเยี่ยม
เป็นผู้ฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า ทรงนำเวไนยนิกร ออกจากแดนมนุษย์และแดนเทพ
เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทรงฝึกฝนจิตจนถึงแก่น ทรงปฏิบัติจิตจนรู้แจ้งจิต
ทรงพลังการฝึกปรืออันถูกชอบเป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานด้วยธรรม
พระผู้ทรงธรรมเป็นผู้จำเริญจำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์
2. อิติปิโสภะคะวา อะภินิหาระ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อุฬารัชฌาสะยะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปะนิธานะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา มะหากะรุณา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปะโยคะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ยุติ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ชุติ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา คัพภะโอกกันติ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา คัพภะฐิติ ปาระมิสัมปันโน
(อะภินิหาระวัคโค ทุติโย)
คำแปลอภินิหารวรรคที่2 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมีคือ พระบารมีเกี่ยวกับอภินิหาร พระบารมีเกี่ยวกับอัชฌาสัยอันโอฬาร
พระบารมีเกี่ยวกับพระปณิธาน พระบารมีเกี่ยวกับพระมหากรุณา พระบารมีเกี่ยวกับพระญาณ
พระบารมีเกี่ยวกับการประกอบความเพียร พระบารมีเกี่ยวกับข้อยุติของข้องใจ พระบารมีเกี่ยวกับจิตใจ
โชติช่วงชัชวาลย์ พระบารมีลงสู่พระครรภ์ พระบารมีดำรงอยู่ในพระครรภ์
3.อิติปิโสภะคะวา คัพภะวุฏฐานะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา คัพภะมะละวิระหิตะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อุตตะมะชาติ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา คะติ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะภิรูปะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สุวัณณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา มะหาสิริ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อาโรหะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปะรินาหะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สุนิฏฐะ ปาระมิสัมปันโน
(คัพภะวุฏฐานะวัคโค ตะติโย)
คำแปล คัพภวุฏฐานวรรคที่3 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีอยู่รอดจากพระครรภ์ พระบารมีปราศจากมลทินในการคลอด พระบารมี
มีพระชาติอันอุดม พระบารมีที่ทรงดำเนินไป พระบารมีทรงพระรูปอันยิ่งใหญ่ พระบารมีทรงมีผิวพรรณงาม
พระบารมีทรงมิ่งขวัญอันยิ่งใหญ่หลวง พระบารมีเจริญวัยขึ้น พระบารมีผันแปร พระบารมีในการคลอดสำเร็จ
4. อิติปิโสภะคะวา อะภิสัมโพธิ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สีละขันธะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สะมาธิขันธะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปัญญาขันธะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ทะวัตติงสะมะหาปุริสะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
(อะภิสัมโพธิวัคโค จะตุฏโฐ)
คำแปล อภิสัมโพธิวรรคที่4 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีในการตรัสรู้เองยิ่ง พระบารมีในกองศีล พระบารมีในกองสมาธิ
พระบารมีในกองปัญญา พระบารมีในมหาปุริสลักขณะสามสิบสอง
5. อิติปิโสภะคะวา มะหาปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปุถุปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา หาสะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ชะวะนะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ติกขะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปัญจะจักขุ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อัฏฐาระสะพุทธะกะระ ปาระมิสัมปันโน
(มะหาปัญญาวัคโค ปัญจะโม)
คำแปล มะหาปัญญาวรรคที่5 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีในมหาปัญญา พระบารมีในปัญญาอันหนาแน่น พระบารมีในปัญญาอันร่าเริง
พระบารมีในปัญญาอันแล่นเร็ว พระบารมีในปัญญาอันกล้าแข็ง พระบารมีในดวงตาทั้งห้า คือ ตาเนื้อ ทิพพจักษุ
ปัญญาจักษุ ธรรมจักษุ พระบารมีในการทำพุทธอัฏฐารส
6. อิติปิโสภะคะวา ทานะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สีละ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา เนกขัมมะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา วิริยะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ขันตี ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สัจจะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะธิษฐานะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา เมตตา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อุเปกขา ปาระมิสัมปันโน
(ปาระมิวัคโค ฉัฏโฐ)
คำแปล ปาระมิวรรคที่6 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีในการให้ปัน พระบารมีในการรักษากาย วาจา ใจ ให้เป็นปกติ
พระบารมีในการเว้น ขาดจากความประพฤติแบบประชาชนผู้ครองเรือน พระบารมีกำกับศรัทธาคือปัญญา
พระบารมีในความกล้าผจญทุกสิ่งด้วยความมีสติความพากเพียร พระบารมีในความต้องการเป็นพุทธะด้วยความมีสัจจะ
ความจริงใจต่อตนเองและผู้อื่น พระบารมีในการตั้งจิตไว้ในฐานอันยิ่ง พระบารมีในความเมตตา
พระบารมีในความอดทน พระบารมีในความวางใจตนได้
7. อิติปิโสภะคะวา ทะสะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ทะสะอุปะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ทะสะปะระมัตถะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สะมะติงสะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ตังตังฌานะฌานังคะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะภิญญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สะติ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สะมาธิ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา วิมุตติ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา วิมุตติญาณะ ปาระมิสัมปันโน
(ทะสะปาระมิวัคโค สัตตะโม)
คำแปล ทสบารมีวรรคที่7 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีสิบขั้นต้นบำเพ็ญด้วยวัตถุสิ่งของ
พระบารมีสิบขั้นกลางบำเพ็ญด้วยอวัยวะร่างกาย พระบารมีปรมัตถ์สิบขั้นสูงบำเพ็ญด้วยชีวิต
พระบารมีสามสิบทัศสมบูรณ์ พระบารมีในฌาน และองค์ฌานนั้นๆ พระบารมีทรงญาณอภิญญายิ่ง พระบารมี
มีสติรักษาจิต พระบารมีทรงสมาธิมั่นคง พระบารมีในวิมุตติความหลุดพ้น
พระบารมีที่รู้เห็นความหลุดพ้นของจิต
8. อิติปิโสภะคะวา วิชชาจะระณะวิปัสสะนาวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา มะโนมะยิทธิวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อิทธิวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ทิพพะโสตะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปะระจิตตะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปุพเพนิวาสานุสสะติวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ทิพพะจักขุวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา จะระณะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา จะระณะธัมมะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะนุปุพพะวิหาระ ปาระมิสัมปันโน
(วิชชาวัคโค อัฏฐะโม)
คำแปล วิชชาวรรคที่8 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีในวิปัสสนา วิชชาในวิชชา3 และจระณะ15 พระบารมีในวิชชามโนมยิทธิ
พระบารมีในอิทธิวิชชา พระบารมีในทิพพโสตวิชชา พระบารมีในปรจิตตวิชชา พระบารมีในปุพพนิวาสานุสสติวิชชา
พระบารมีในทิพพจักขุวิชชา พระบารมีในจรณวิชชา พระบารมีในวิชชาจรณธรรมวิชชา พระบารมีในอนุปุพพวิหารเก้า
9. อิติปิโสภะคะวา ปะริญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปะหานะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สัจฉิกิริยา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ภาวะนา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปะริญญาปะหานะสัจฉิกิริยาภาวะนา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา จะตุธัมมะสัจจะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปะฏิสัมภิทาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
(ปะริญญานะวัคโค นะวะโม)
คำแปล ปริญญาณวรรคที่9 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเพียบพร้อมในพระบารมี คือ พระบารมีกำหนดรู้ทุกข์ พระบารมีละเหตุให้เกิดทุกข์ คือ ตัณหา
พระบารมีทำจิตให้แจ่มแจ้ง คือ นิโรธ พระบารมีอันเป็นมรรคภาวนา
พระบารมีในการกำหนดรู้การละการทำให้แจ้งและการอบรมให้มีให้เป็น พระบารมีในธรรมสัจจะทั้งสี่
พระบารมีในปฏิสัมภิทาญาณ
10. อิติปิโสภะคะวา โพธิปักขิยะธัมมะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สะติปัฏฐานะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สัมมัปปะทานะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อิทธิปาทะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อินทรียะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา พะละปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา โพชฌังคะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อัฏฐังคิกะมัคคะธัมมะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา มะหาปุริสะสัจฉิกิริยา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะนาวะระณะวิโมกขะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะระหัตตะพะละวิมุตติ ปาระมิสัมปันโน
(โพธิปักขิยะวัคโค ทะสะโม)
คำแปล โพธิปักขิยะวรรคที่10 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีในโพธิปักขิยธรรม พระบารมี มีพระปัญญาในสติปัฏ-ฐาน พระบารมี
มีพระปัญญาในสัมมัปปธาน พระบารมี มีพระปัญญาในอิทธิบาท พระบารมี มีพระปัญญาในอินทรีย์หก พระบารมี
มีพระปัญญาในพละห้า พระบารมี มีพระปัญญาในโพชฌงค์เจ็ด พระบารมี มีพระปัญญาในมรรคแปด
พระบารมีในการทำแจ้งในมหาบุรุษ พระบารมีในอนาวรณวิโมกข์ พระบารมีในวิมุตติอรหัตตผล
11. อิติปิโสภะคะวา ทะสะพะละญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ฐานาฐานะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา วิปากะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สัพพัตถะคามินีปะฏิปะทา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา นานาธาตุญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา นานาธิมุตติกะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อินทริยะปะโรปะริยัตตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา นิโรธะวุฏฐานะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปุพเพนิวาสานุสสะติญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา จุตูปะปาตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อาสะวักขะยะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
(ทะสะพะละญาณะวัคโค ทะสะโม)
คำแปล ทศพลญาณวรรคที่11 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระทศพลญาณบารมีอันได้แก่ พระบารมีรู้ฐานะและอฐานะ
พระบารมีรู้วิบากโดยฐานะโดยเหตุ พระบารมีรู้ปฏิปทายังสัตว์ไปสู่ภูมิทั้งปวง
รู้โลกมีธาตุอย่างเดียวและมากอย่าง พระบารมีรู้อธิมุตของสัตว์ทั้งหลาย
พระบารมีรู้อินทรีย์ยิ่งและหย่อนของสัตว์ พระบารมีรู้ความเศร้าหมองและความผ่องแผ้วเป็นต้น
แห่งธรรมมีฌานเป็นต้น พระบารมีรู้ระลึกชาติได้ พระบารมีรู้จุติและอุบัติของสัตว์
พระบารมีรู้การกระทำให้แจ้งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะมิได้
12 . อิติปิโสภะคะวา โกฏิสะหัสสานังปะกะติสะหัสสานังหัตถีนังพะละธะระ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปุริสะโกฏิทะสะสะหัสสานังพะละธะระ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปัญจะจักขุญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ยะมักกะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สีละคุณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา คุณะปาระมิสะมาปัตติ ปาระมิสัมปันโน
(กายะพะละวัคโค ทะวาทะสะโม)
คำแปล กายพลวรรคที่12 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีทรงกำลังช้างทั้งหลายตั้งพันโกฏิพันปโกฏิ
พระบารมีทรงพลังแห่งบุรุษตั้งหมื่นคน พระบารมีหยั่งรู้จักขุห้า คือ ตาเนื้อ ตาทิพย์ ตาญาณ ตาปัญญา
ตาธรรม พระบารมีรู้การทำยมกปาฏิหาริย์ พระบารมีในสีลคุณ พระบารมีแห่งคุณค่าและสมาบัติ
13. อิติปิโสภะคะวา ถามะพะละ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ถามะพะละญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา พะละ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา พะละญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปุริสะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะตุละยะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อุสาหะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา คะเวสิญาณะ ปาระมิสัมปันโน
(ถามะพะละวัคโค เตระสะโม)
คำแปล ถามพลวรรคที่13 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีที่เป็นกำลังเรี่ยวแรงแห่งจิต พระบารมีกำลังเรี่ยวแรง
พระบารมีที่เป็นพลังภายใน พระบารมีเรี่ยวแรงแห่งจิต พระบารมีรู้กำลังเรี่ยวแรง พระบารมีที่เป็นพลังภายใน
พระบารมีรู้กำลังภายใน พระบารมีไม่มีเครื่องชั่ง พระบารมีญาณ พระบารมีอุตสาหะ
พระบารมีการแสวงหาทางตรัสรู้
14. อิติปิโสภะคะวา จะริยา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา จะริยาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา โลกัตถะจะริยา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา โลกัตถะจะริยาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ญาณัตถะจะริยา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ญาณัตถะจะริยาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา พุทธะจะริยา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา พุทธะจะริยาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ติวิธะจะริยา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปาระมิอุปะปาระมิปะระมัตถะ ปาระมิสัมปันโน
(จะริยาวัคโค จะตุระสะโม)
คำแปล จริยาวรรคที่14 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีที่ทรงประพฤติ พระบารมีรู้การที่ทรงประพฤติ
พระบารมีที่ทรงประทานให้เป็นประโยชน์แก่ชาวโลก(สังคมโลก) พระบารมีรู้สิ่งที่ควรประพฤติแก่ชาวโลก
พระบารมีที่ควรประพฤติแก่ญาติวงศ์ พระบารมีรู้สิ่งที่ควรประพฤติให้เป็นประโยชน์แก่พระญาติพระวงศ์
พระบารมีที่เป็นพุทธ-จริยา พระบารมีรู้สิ่งที่ควรประพฤติโดยฐานเป็นพระพุทธเจ้า พระบารมีครบทั้งสามอย่าง
พระบารมีครบทั้งบารมีอุปบารมีและปรมัตถบารมี
15. อิติปิโสภะคะวา ปัญจุปาทานักขันเธสุอะนิจจะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปัญจุปาทานักขันเธสุทุกขะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปัญจุปาทานักขันเธสุอะนัตตะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อายัตตะเนสุติลักขะณะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อัฏฐาระสะธาตุสุติลักขะณะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา วิปะรินามะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
(ลักขะณะวัคโค ปัณณะระสะโม)
คำแปล ลักขณวรรคที่15 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีเห็นอนิจจลักขณะในการยึดติดขันธ์ห้า
พระบารมีเห็นทุกขลักขณะในการยึดติดขันธ์ห้า พระบารมีเห็นอนัตตลักขณะในการยึดติดขันธ์ห้า
พระบารมีรู้ลักษณะสามในอายตนะทั้งหลาย พระบารมีรู้ลักษณะสามในธาตุสิบแปดทั้งหลาย
พระบารมีรู้ลักษณะอันแปรปรวนไป
16. อิติปิโสภะคะวา คะตัตถานะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา คะตัตถานะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา วะสิตะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา วะสิตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สิกขา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สิกขาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สังวะระ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สังวะระญาณะ ปาระมิสัมปันโน
(คะตัตถานะวัคโค โสฬะสะโม)
คำแปล คตัฏฐานวรรคที่16 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีในสถานที่ไปแล้ว พระบารมีหยั่งรู้สถานที่ไป
พระบารมีอยู่จบพรหมจรรย์ แล้วพระบารมีหยั่งรู้ว่าอยู่จบพรหมจรรย์แล้ว พระบารมีในการตระหนัก
พระบารมีรู้ในการตระหนัก พระบารมีสำรวมระวังอินทรีย์ พระบารมีรู้ในการสำรวมระวังอินทรีย์
17. อิติปิโสภะคะวา พุทธะปะเวณี ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา พุทธะปะเวณีญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ยะมะกะปาฏิหาริยะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ยะมะกะปาฏิหาริยะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา จะตุพรหมวิหาระ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะนาวะระณะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะปะริยันตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สัพพัญญุตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา จะตุวีสะติโกฏิสะตะวัชชิระ ปาระมิสัมปันโน
(ปะเวณีวัคโค สัตตะระสะโม)
คำแปล ปเวณิวรรคที่17 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีในพุทธประเวณี พระบารมีรู้ถึงพุทธประเวณี
พระบารมีในการทำยมกปาฏิหาริย์ พระบารมีรู้ในการทำยมกปาฏิหาริย์ พระบารมีการอยู่อย่างประเสริฐ
พระบารมีรู้อย่างไม่มีอะไรกั้นกาง พระบารมีรู้อย่างไม่มีขอบเขต พระบารมีรู้สรรพสิ่งทั้งปวง
พระบารมีวชิรญาณประมาณยี่สิบสี่โกฏิกัปป์หนึ่งร้อย
พุทธคุณโดยพิศดาร (บทสวดคู่ พระอาการวัตตาสูตร)
อิติปิโส ภะคะวา กัมมัฏฐานัง สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ยะมะโลกา สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ปะฐะวีธาตุ สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อาโปธาตุ สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา เตโชธาตุ สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา วาโยธาตุ สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อากาสะธาตุ สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา วิญญาณะธาตุ สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา โลกะธาตุ สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา จักกะวาฬะธาตุ สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา จาตุมหาราชิกา เทวา สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ตาวะติงสา เทวา สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ยามา เทวา สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ตุสิตา เทวา สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา นิมมานะระตี เทวา สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ปะระนิมมิตะวะสะวัตตี เทวา สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา พรัหมะปะริสัชชา เทวา สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา พรัหมะปะโรหิตา เทวา สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา มหาพรัหมา เทวา สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ปะริตตาภา พรัหมา เทวา สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อัปปะมาณาภา พรัหมา เทวา สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อาภัสสะรา พรัหมา เทวา สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ปะริตตะสุภา พรัหมา เทวา สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อัปปะมาณาสุภา พรัหมา เทวา สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา สุภะกิณหะกา พรัหมา เทวา สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อะสัญญิสัตตา พรัหมา เทวา สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา เวหัปผะลา พรัหมา เทวา สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อะวิหา พรัหมา เทวา สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อะตัปปา พรัหมา เทวา สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา สุทัสสา พรัหมา เทวา สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา สุทัสสี พรัหมา เทวา สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อะกะนิฏฐะกา พรัหมา เทวา สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อากาสานัญจายะตะนะ พรัหมา เทวา สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา วิญญานัญจายะตะนะ พรัหมา เทวา สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา อากิญจัญญายะตะนะ พรัหมา เทวา สัมมาวิชชาจะระณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา เนวะสัญญานาสัญญา ยะตะนะ พรัหมา เทวา สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา โสตาปัตติมัคโค สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา โสตาปัตติผะโล สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา สะกิทาคามิมัคโค สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา สะกิทาคามิผะโล สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อะนาคามิมัคโค สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อะนาคามิผะโล สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อะระหัตตะมัคโค สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อะระหัตตะผะโล สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา นิพพานัง ปะระมัง สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา นะโมเมสัพพะพุทธานัง สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา นะโมโพธิมุตตะนัง สัมมาวิชาจะระนะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ตัณหังกะโร นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา เมธังกะโล นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา สะระนังกะโร นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ทีปังกะโร นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา โกญฑัญโญ นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา มังคะโล นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา สุมะโน นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา เรวะโต นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา โสภิโต นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อะโนมะทัสสี นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ปะทุโม นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา นาระโท นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ปะทุมุตตะโร นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา สุเมโธ นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา สุชาโต นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ปิยะทัสสี นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อัตถะทัสสี นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ธัมมะทัสสี นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา สิทธัตโถ นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ติสโส นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ปุสโส นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา วิปัสสี นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา สิขี นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา เวสสะภู นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา กะกุสันโธ นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา โกนาคะมะโน นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา กัสสะโป นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา โคตะโม นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
พระอาการวัตตาสูตร 5 วรรค
๑.อิติปิโส ภควา ทานปารมี ทานอุปปารมี ทานคตัสสริยะ สัมปันโน
โส ภควา สมติงสปารมีโย ปุโต โส ภควา
น ตัสส ภควโต อรหันตา สัมมาสัมพุทธัสส
อิติปิโส ภควา อรหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจรณสัมปันโน สุคโต โลกวิทู
อนุตตโร ปุริสทัมมสารถิ สัตถาเทวมนุสสานัง พุทโธ ภควาติ
อันนี้ชื่อว่า นะวะหะคุณวรรคที่ ๑
๒.อิติปิโส ภควา อุเปกขาปรมัตถปารมีโย
โส ภควา อุเปกขาปรมัตถปารมีโย
โส เทโส อนันตาทิคุโณ โส ภควา
อิติปิโส ปมาทัสส พลาพโล ปัญญาปัญญัง
โส ภควา พลังพลา
ปัญญังปัญญา ภาวนา เตชัง เตชา ทุปัญญัง ปัญญา สีลัญจ คุณะคุณัง จ โหตุ ปัจจโย
โส ภควา สัมปัณโน อิติปิโส อุตตมัง อุตตมา มหาทสพลังพลา
ปัญญัง ปัญญา เตชังเตชา ปุญญัง ปุญญา สีลัญจ คุณะคุณัง จโหตุ ปัจจโย
โส ภควา สัมปันโน โส ภควา อิติปิ สุขุมัง สุขุมา มหาทสพลังพลา
ปัญญังปัญญา เตชังเตชา ปุญญัง ปุญญา สีลัญจ คุณะคุณัง จโหตุ ปัจจโย สัมปันโน
โส ภควา อิติปิ สุขุมัง สุขุมา มหาทสพลังพลา
ปัญญังปัญญา สีลัญจ คุณะคุณัง จโหตุ ปัจจโย สัมปันโน
โส ภควา อิติปิ พุทธัสสะ สัมพุทโธ มหาทสพลังพลา
มุนีมุนา มหาคุณังคุณา ราชังปัญญาสีลัญจ คุณังวทัมมัง อภินิทารสัมปันโน
อิติปิโส ภควา อัตถชยสัมปันโน อิติปิโส ภควา ปณิธานะสัมปันโน
อิติปิโส ภควา ยนสัมปันโน อิติปิโส ภควา โยคะสัมปันโน อิติปิโส ภควา ปัพพะโยคะสัมปันโน
อิติปิโส ภควา ยุตตะสัมปันโน ยุตติสัมปันโน อิติปิโส ภควา โชติสัมปันโน
อิติปิโส ภควา โอคัณฑะสัมปันโน อิติปิโส ภควา กัมพินิสัมปันโน อิติปิโส ภควาติฯ
อันนี้ชื่อว่า ภังคนิวันตา วรรคที่ ๒
๓.อิติปิโส ภควา อะหะรังสัมปันโน อิติปิโส ภควา คัพภวุตถานัง สัมปันโน
อิติปิโส ภควา กัมพิชาติ สัมปันโน อิติปิโส ภควา สัมปุกุสลสัมปันโน
อิติปิโสภควา อรหสัมปันโน อิติปิโส ภควา ตะสัมปันโน อิติปิโส ภควา ปริวาระสัมปันโน
อิติปิโส ภควา นิอิมสมปุปัพพชายสัมปันโน อิติปิโส ภควา อภิสัมโพธิสัมปันโน อิปิโส ภควา ฯ
อันนี้ชื่อว่า ปริสัตตวันวรรคที่ ๓
๔.อิติปิโส ภควา สัมมาทิสัมปันโน
อิติปิโส ภควา ปัญญาสโน
อิติปิโส ภควา วิมุติสัมปันโน
อิติปิโส ภควา วิมุติยาสัมปันโน
อิติปิโส ภควา อภิคุณสัมปันโน
อิติปิโส ภควา สังขารักขันโธ อนิจจังลักขณสัมปันโน
อิติปิโส ภควา รูปักขันธา อนัตตา ลักขณปารมี สัมปันโน
อิติปิโส ภควา เวทนาขันธา อนัตตาลักขณปารมีสัมปันโน
อิติปิโส ภควา สังขารักขันธา อนัตตาลักขณปารมี สัมปันโน อิติปิโส ภควา ฯ
อันนี้ชื่อว่าปารสีตวรรคที่ ๔
๕.อิติปิโส ภควา ทาน ปารมีสัมปันโน
อิติปิโส ภควา อภิญญา ปารมีสัมปันโน
อิติปิโส ภควา สติยาระ ปารมีสัมปันโน
อิติปิโส ภควา สมิทาน ปารมีสัมปันโน
อิติปิโส ภควา สัมพิทา ปารมีสัมปันโน
อิติปิโส ภควา สัมปมาญาณ ปารมีสัมปันโน
อิติปิโส ภควา วิมุตติ ปารมีสัมปันโน
อิติปิโส ภควา ทวัตติงสมหาปุริสลักขณสัมปันโน
อิติปิโส ภควา อสีติพลปัญญา ลักขณสัมปันโน
อิติปิโส ภควา ทาน ปารมี
อิติปิโส ภควา ทาน อุปปารมี
อิติปิโส ภควา ทานปรมัตถ ปารมีสัมปันโน
อิติปิโส ภควา สัจจ ปารมี
อิติปิโส ภควา สัจจ อุปปารมี
อิติปิโส ภควา สัจจปรมัตถ ปารมีสัมปันโน
อิติปิโส ภควา เมตตา ปารมี
อิติปิโส ภควา เมตตา อุปปารมี
อิติปิโส ภควา เมตตา ปรมัตถปารมี สัมปันโน
อิติปิโส ภควา อุเปกขา ปารมี
อิติปิโส ภควา อุเปกขา อุปปารมี
อิติปิโส ภควา อุเปกขา ปรมัตถ ปารมีสัมปันโน
อิติปิโส ภควา สัมมุติ ปารมีสัมปันโน
อิติปิโส ภควา นิรุตติ ปารมีสัมปันโน
อิติปิโส ภควา สัมพิทาญาณ ปารมีสัมปันโน
อิติปิโส ภควา อิติปฏิพิทาญาณ ปารมีสัมปันโน
อิติปิโส ภควา ปัตตติสวารโพธิปักขยา ปารมีสัมปันโน
อิติปิโส ภควา โสตถาน ปารมีสัมปันโน
อิติปิโส ภควา อันย ปารมีสัมปันโน
อิติปิโส ภควา อปรยตน ปารมีสัมปันโน
อิติปิโส ภควา สัพพัญญาณ ปารมีสัมปันโน
อิติปิโส ภควา อรหัง สัมมาสัมพุทโธ น อุตัง สหเทสิถิตังฯ
อันนี้ชื่อว่า ปารมีทัตตวรรค ที่ ๕
อานิสงส์พระอาการวัตตาสูตร
พระอาการวัตตาสูตร พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ๒๘ พระองค์ที่ล่วงไปแล้วก็ดี พระพุทธเจ้าของเราในปัจจุบันนี้ก็ดี ได้ทรงตามกันมาทุกๆพระองค์ พระสูตรนี้ เป็นสูตรอันใหญ่ยิ่ง หาสูตรอื่นเปรียบเทียบมิได้ ด้วยพระไตรปิฎกทั้งสาม คือพระสูตร พระวินัย พระปรมัตถ์ ก็ร่วมอยู่ในพระสูตรนี้ โดยพรรณนาคุณพระสะมะติงสะ ๓๐ ทัศบริบูรณ์ เพราะฉะนั้นขอท่านทั้งหลายผู้ได้รับไปแล้ว อย่าได้ประมาททิ้งขว้างวางไว้ในที่อันไม่สมควร จงทำสักการะบูชาสวดมนต์ภาวนาสดับฟัง ตามสติกำลังด้วยเทอญ ทีนี้จะแสดงอานิสงส์ในพระอาการะวัตตาสูตรสืบต่อไป เอวัมเมสุตังเอกังสะมะยังภะคะวาราชะคะเห วิหะระติคิชฌะกูเฏ ปัพพะเตอะถะโขตยัสมาสาริปุสโต เยนะ ภะคะวา เตนุปะสังกะมิอุปะสังกะมิตตะวา ภะคะวันตัง อภิวาเทตตะวา เอกะมันตังนิสีทิ ณ บัดนี้จะแสดงความตามสมควรแก่เวยยากะระณะบาลี ที่มีมาในอาการะวัตตาสูตร โดยสรุปยุติในเรื่องความว่า ณ สมัยครั้งหนึ่งองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับระงับอิริยาบถ ณ คิชฌะกูฏ บรรพตคีรีวันใกล้กันกับมหานครราชคฤห์ธานี เป็นที่อาศัยโคจรบิณฑบาตพุทธาจิณวัตร อะถะโขอายัสมาสาริปุตโต ครั้งนั้นพระสารีบุตรพุทธสาวกผู้มีอายุเข้าไปสู่ที่เฝ้าสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายอภิวาทโดยอาการที่เคารพเป็นอันดีแล้ว ก็นั่งอยู่ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง อันปราศจากนิสัชชะโทษ ๖ ประการ เอกะมันตังนิสีทิสิสัชชะโขอายัสสะมะโตสาริปุตตัสสะ เมื่อพระสารีบุตรผู้มีอายุ นั่งอยู่ ณ ที่อันสมควรแล้ว จึงแลดูซึ่งสหธรรมมิกสัตว์ เกิดความปริวิตกในใจ คิดถึงการต่อไปในอนาคตภายหน้า อิเมโขสัตตานินะมูลาอิตีตะสิกขา อันว่าสัตว์ทั้งหลายเหล่านี้ ที่หนาไปด้วยกิเลสอาสวะและอวิชชาอาสวะ ยังไม่ล่วงซึ่งโอฆะทั้ง ๔ คือ กามะโอฆะ ทิฎฐิโอฆะ ภะวะโอฆะ อวิชชาโอฆะ อันเป็นโอฆะแอ่งกันดาร มีสันดานอันรกชัฏด้วยอกุศล คือ โลภะ โทสะ โมหะ ก็กระทำซึ่งการอันเป็นอกุศล เป็นอาจิณณะกรรม ก็ชื่อว่ากุศลมูลขาดเสียแล้ว มีสิกขาอันละเสียแล้ว จุตูสุอะปาเยสุวิปัจจันติ ก็เที่ยงที่ว่าจะไปไหม้อยู่ในอบายทั้ง ๔ เป็นที่ปราศจากความสุขคือ นรกและเปตะวิสัย อสุรการกำเนิด ดิรัจฉานกำเนิด ด้วยสัตว์ทั้งหลายหนาไปด้วยอกุศล จะยังตนให้ตกไฟไหม้อยู่ในอบายฉะนี้ พุทธะกะระกะธัมเมหิภะวิตัพพัง ธรรมเครื่องกระทำซึ่งความเป็นพระพุทธเจ้า คือ บารมี ๓๐ ทัศ จะพึงสามารถเพื่อจะห้ามกันเสียได้ จตุราบายิกะทุกข์ทั้งหลายนั้นพึงมีอยู่ เพราะพระบารมีธรรมของพระพุทธเจ้าทั้งหลายมีอยู่เป็นอันมาก จะมีอยู่แต่เท่านี้หามิได้ ธรรมทั้งหลายใดเป็นไปเพื่อจะให้สำเร็จพระโพธิญาณ อันสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแสดงไว้ในพระสูตร พระวินัย และพระปรมัตถ์อันเป็นธรรมคัมภีรภาพอันละเอียดนัก เป็นองค์ธรรมอันพระพุทะเจ้าทั้งหลายเสพแล้วโดยยิ่ง ล้วนเป็นนิยานิกะธรรม จะนำสัตว์ให้พ้นจากวัฏฏะสงสารทุกข์ได้ดังนี้ เมื่อพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรพุทธสาวกมีความปริวิตกในจิต ด้วยความกรุณาแก่ประชุมชนผู้เกิดมาภายหลัง จักให้ปฏิบัติในธรรมนั้นๆ ให้เป็นที่ป้องกันรักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยในอบายอย่างนี้ จึงยอกรกระพุ่มหัตถ์ประนมแทบบงกชบาทของสมเด็จพระบรมโลกนาถเจ้า แล้วจึงกราบทูลพระกรุณาว่า เยเกจิทุบปัญญาปุคคะลา ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า บุคคลทั้งหลายเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ที่เป็นผู้มีปัญญาทราม ยังหนาอยู่ด้วยโมหะ อวิชชา พุทธะการะกะธัมเมจะชานิตะวา หารู้จักพุทธะการะกะธรรม คือ พระบารมีแห่งพระพุทะเจ้านั้นไม่ เพราะความที่แห่งตนนั้นเป็นคนอันธพาล จะพึงกระทำซึ่งกรรมอันเป็นบาปทั้งปวง นับได้พันแห่งโกฎิเป็นอันมาก บางจำพวกก็พึงกระทำซึ่งมนุสสะฆาตะกะกรรม คือ ฆ่ามนุษย์เสีย เป็นต้น ฆ่าซิ่งกษัตริย์ชิงเอาราชสมบัติ และซึ่งมหาอำมาตย์และปุโรหิตาจารย์ ฆ่าซึ่งชนอันเป็นพาลและบัณฑิต ฆ่าบรรชิต คือ สมณะอันเป็นมหาสาวัชชะกรรมและครุกรรม โกจิโคนังวา มหิงสานังวา บางจำพวกฆ่าซึ่งโคและกระบือ ฆ่าสัตว์ดิรัจฉาน ฆ่าซึ่งแพะแกะ ฆ่าซึ่งคชสารอัสดรกุญชรชาติด้วยสามารถ ความประสงค์ซึ่งมังสะ และงาอังคาพยพน้อยใหญ่ คือ กระทำซึ่งปาณาติบาตดังกล่าวมาฉะนี้ ด้วยสามารถโทสะความโกรธ และโมหะความหลง ชนผู้เป็นคฤหัสถ์บางจำพวกผู้เป็นพาล จงใจจะพึงกระทำครุกรรมอันสาหัส คือ อนันตริยะกรรมทั้ง ๕ เป็นต้นว่า ฆ่าซึ่งบิดาและมารดา สาสนะโต ปาราชิกัง อาปัชเชยยะ ก็จะถึงซึ่งความแห่งตนเป็นผู้พ่ายแพ้จากพระศาสนาแท้จริง คฤหัสถ์ผู้ทำครุกรรม ฆ่าบิดามารดาดั้งกล่าวมานี้ ชื่อว่าปราชิกฝ่ายฆราวาส เบื้องว่าบรรพชิตทั้งหลาย ผู้ดำรงซึ่งสิกขาบทสังวรวินัย ไม่ตั้งอยู่ในอะธิศีละสิกขาล่วงพุทธอาชญา อันเป็นอาณาวิติกกะมะโทษต้องครุกาบัติและละหุกาบัติตามลำดับมา ฉินะมูลา จนถึงซึ่งปาราชิกาบัติ เป็นผู้ขาดจากมูลแห่งพระพุทธะวะจะนะในพระปิฏกทั้ง ๓ คือ พระวินัยปิฏก พระสุตตันตะปิฏก พระปรมัตถ์ปิฏก อันเป็นสาสะโนวาท เตปาปะกัมมังกัตตะวา ชนที่ได้สมมติว่าเป็นเป็นบรรพชิตทั้งหลายนั้น จะพึงกระทำกรรมเป็นบาป อันเป็นเหตุจะยังตนให้ถึงซึ่งนิระยะกะทุกข์ กายัสสะเภทา เบื้องหน้าแต่จุติจิต เพราะแตกจากชีวิตอินทรีย์แล้ว จะพึงไปบังเกิดในอเวจีนิระบาย ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ธรรมอันใดอันหนึ่งเล่าจะเป็นธรรมอันลึกสุขุมที่สามารถอาจเพื่อจะห้ามเสียได้ซึ่งสัตว์ทั้งหลายนั้น จะมีอยู่บ้างหรือพระพุทธเจ้าข้า เมื่อกราบทูลดังกล่าวคาถาทั้งหลาย ตามบรรยายพระพุทธภาษิตที่ได้แสดงซึ่งทุกข์ อันเป็นผลวิบากแห่งครุกาบัติ และละหุกาบัติ ยกปาราชิกสิกขาบทจัดเป็นมูลเฉทขึ้นแสดงเบื้องต้นโดยกระแสอนุสนธิว่า ทะสะวัสสะ สะหัสสาชิกานิติงสะสะหัสสะโกฏิโย ปาราชิกังสมาปัณโณ บรรพชิตผู้ล่วงเสียซึ่งสิกขาบท ถึงพร้อมแล้วซึ่งปาราชิก เป็นผู้มีมูลขาดจากพระศาสนา นิยามะคะติ ที่จะไปอุบัติในภพเบื้องหน้า คือจะไปบังเกิดในนรกขุมใหญ่ คือ อเวจี ไหม้อยู่ในไฟไม่ดับกำหนดได้ถึง ๓,๐๐๐โกฏิกับหมื่นปีเป็นที่สุด อาการะวัตตาสูตรนี้มีเนื้อความอันพิสดาร ถ้าแม้จะพรรณนาไปก็จะเป็นการเนิ่นช้าจำจะแสดงส่วนแห่งอานิสงส์ที่บุคคลได้สักการบูชาและนับถือและได้บ่นสาธยายจำทรงไว้ได้ดังนี้เป็นต้น ก็จะพึงมีอานิสงส์ผลอันใหญ่ ในลำดับนั้นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสแสดงซึ่งอาการะวัตตาสูตร กำหนดด้วยวรรค ๑๗ วรรค มีอะระหาทิคุณะวรรค เป็นต้น จนถึงประเวณีวรรคเป็นคำรบ ๑๗ ด้วยประการดังนี้แล้ว พระองค์ทรงบรรยายซึ่งอานิสังสคุณาภาพแห่งอาการะวัตตาสูตรแก่พระสารีบุตรต่อไปว่า ยัญจะสาริปุตตะรัตติง ดูก่อนสารีบุตร ก็ราษราตรีอันใดพระตถาคตได้ตรัสรู้ซึ่งพระอนุตตรสัมโพธิญาณเป็นวิมุติเสวตฉัตร ณ ดงไม้อสัตตะพฤกษ์โพธิมณฑล ก็ในราษราตรีนั้นแลพระตถาคตก็ระลึกซึ่งอาการะวัตตาสูตรอันมีคุณานุภาพเพื่อเป็นที่รักษาต่อต้านซึ่งภัยอันตราย และเป็นที่เร้นซ่อน เป็นคติที่จะให้ไปในเบื้องหน้าแห่งสัตว์โลก กับเทวโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์ เป็นไปกันด้วยสมณะและพราหมณ์และสมมติเทวดาและมนุษย์ และสามารถเพื่อจะห้ามเสียซึ่งบาปกรรมทั้งปวง เพราะพระตถาคตมาระลึกตามอยู่ ซึ่งธรรมทั้งหลายอันมรรคแห่งสัตว์ทั้งหลาย ให้ถึงซึ่งอันสิ้นไปแห่งทุกข์และภัยทั้งปวงในสงสารอย่างนี้ กำหนดเพียงไรแต่นิพพานธาตุ ชื่อว่า อนุปาทิเสสะ มีกัมมัชชะรูปและวิบากขันธ์อันกรรมและกิเลสเข้าถือเอาเหลืออยู่ไม่มีสิ้นเชื้อสิ้นเชิง เอตะถันตะเร ในระหว่าแห่งกาลนั้น กายกรรมแห่งพระตถาคตทั้งปวง ญาณะปุพพังคะมัง มีญาณเครื่องรู้เป็นประธานถึงก่อน คือว่าเป็นไปกันด้วยญาณอันปราสจากทาคือโมหะ แม้ถึงวจีกรรมและมโนกรรม แห่งพระตถาคตเจ้าก็เป็นไปแล้วด้วยญาณเหมือนกันอย่างนั้น อตีตานาคะตะปัจจุปันนัง และกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม แห่งพระตถาคตพุทธเจ้าที่เป็นส่วนอดีตกาลล่วงแล้ว และเป็นส่วนปัจจุบัน และส่วนอนาคตภายหน้าอันยังไม่มาถึง ก็เป็นญาณทัศนะเครื่องเห็นด้วยญาณ อัปปะฏิหะตัง อันโทษทั้งหลายเป็นต้นว่า อภิชฌาและโทมนัสไม่จำกัดได้แล้ว เป็นกรรมผ่องแผ้วในไตรทวารด้วยประการฉะนี้ เยเกจิสาริปุตตะ ดูกรสารีบุตร ครั้นเมืออาการะวัตตาสูตรนี้ ชนทั้งหลายเหล่าใดเหล่าหนึ่งได้กล่าวอยู่เป็นอัตตา บาปกรรมทั้งปวงก็จะไม่ได้ช่องที่นะหยั่งลงไปในสันดาน แม้ถึงผู้นั้น จัตตาโรมาเส สิ้นกาลประมาณไป ๔ เดือนเป็นกำหนด เป็นที่คุ้มครองป้องกันภัยอันตรายทั้งปวง ยกไว้แต่ภัยอันตรายบังเกิดแล้ว แต่ผลวิบากแห่งอกุสลกรรมตามมาเท่านั้น อนึ่ง บุคคลผู้ใดอุตส่าห์ตั้งจิตไม่คิดท้อถอย ได้สดับฟังซึ่งอาการะวัตตาสูตรนี้ก็ดี หรือได้เล่าเรียนบอกกล่าวก็ดี หรือได้เขียนเอง หรือให้ผู้อื่นเขียนก็ดี หรือได้จำทรงไว้ได้ก็ดี หรือได้ทำการสักการบูชานับถือก็ดี หรือได้ระลึกเนืองๆ โดยเคารพพร้อมด้วยไตรประณามก็ดี ปรารถนาสิ่งใดๆก็จะสำเร็จแก่บุคคลผู้นั้นตามประสงค์พร้อมทุกสิ่งสรรพ์ ตังตัสมา ทีปังกะหิ เพราะเหตุการณ์ณืนนั้นท่านผู้มีปรีชาประกอบด้วยศรัทธาและความเลื่อมใส จงกระทำซึ่งอาการะวัตตาสูตร อันจะเป็นที่ผ่อนพักพิงอาศัยในวัฏฏะกันดาร ประการหนึ่งว่าเกาะและผั่งอันเป็นที่ตั้งอาศัยแห่งชนทั้งหลายผู้สัญจรไปในชลสาครสมุทรทะเลใหญ่ ฉะนั้น อัฏฐะวีสะติยาจะอะวิชชะหิตัง ก็อาการะวัตตาสูตรนี้อันพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ๒๘ พระองค์ ที่ล่วงลับไปแล้วก็ดี อันพระตถาคตเจ้าบัดนี้ก็ดี มิได้สละละวางทิ้งล้างให้ห่างเลยสักพระองค์เดียว ได้ทรงตามกันมาทุกพระองค์ อนุตตะรัง พระสูตรนี้มีคุณานุภาพอันยิ่ง ไม่มีสูตรอื่นจะยิ่งกว่า ยะถาสะติยะถา พะลังสิกขิตัพพัง เพราะฉะนั้น ท่านผู้สัปบุรุษพุทธศาสนิกชน พึงศึกษาเป็นทางเล่าเรียนเขียนไว้โดยสมควรแก่สติกำลังอย่างไร อย่าให้ได้เสียคราวเสียสมัยที่ได้ประสบ สิกขิตุง อะสักโกนเตนะ ก็เมื่อไม่อาจเพื่อจะศึกษาได้ด้วยความที่ตนเป็นคนมัณฑะปัญญา ก็พึงจารึกไว้ในสมุดและใบลาน เพื่อให้เป็นที่น่าดู ที่น่านมัสการบูชาโดยเคารพ กาตุงอะสักกะโกนเตนะ ก็เมื่อไม่อาจเพื่อจะกระทำได้ดังกล่าวแล้วนี้ก็ให้พึงตั้งใจฟังโดยเคารพ ดำรงสติให้ระลึกตามทุกบททุกบาท อย่าให้เป็นสติวิปลาสปราศจากสติ เป็นแต่สักว่าอยู่อย่างนั้น สุวะนิตุงอะสะโกนเตนะ ก็เมื่อไม่อาจเพื่อจะจดจำดังกล่าวมาแล้วนี้ พึงไปสู่สถานที่อยู่แห่งบุคคลที่ได้เล่าบ่นสาธยาย พึงประคองซึ่งกระพุ่มหัตถ์ทัษนักสะโมทาน ฟังท่านสาธยาย สุนิตุงอะสักโกเตนะ ก็เมื่อไม่อาจฟังได้ดังนี้ พึงไปสู่สถานที่ท่านแสดงซึ่งอาการะวัตตาสูตรนี้ ก็พึงพิจารณาลูบคลำด้วยปัญญาว่า เอวังคุณะยุตโตโสภะคะวา สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า พระพุทธองค์ประกอบด้วยพระคุณอย่างนี้ๆ ให้พินิจนึกระลึกตามพระคุณที่กล่าวแสดงแล้วนั้น โสมะนัสสะชาโต ให้บังเกิดความโสมนัสยินดีด้วยปิติในพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ ก็จะห้ามกันเสียได้ซึ่งอกุศลบาปกรรม อันจะชักนำปฏิสนธิให้เกิดในอบายภูมิทั้ง๔ คือนรกและเปตะวิสัย อสุรกายดิรัจฉานกำเนิดดังนี้ ยังปะตะเถติ บุคคลนั้นจะประสงค์ซึ่งพัสดุสิ่งใดๆ ตามปรารถนา สิ่วนั้นๆ ก็จะสำเร็จพร้อมแก่บุคคลผู้นั้น ด้วยคุณานุภาพที่ได้ดำรงจิตคิดคำนึงตามในพระพุทธคุณที่ได้แสดงแล้วนั้น สะเธปุนัมปุนังตะมะนุสสะระนัง ก็นถ้าหรกว่าบุคคลผู้ใดมีศรัทธาระลึกตามอาการะวัตตาสูตรนี้เนืองๆ ยัตถกัตถะจิภะเวชาโต บุคคลผู้นั้นเมื่อละเสียซึ่งอัตภาพร่างกายในปัจจุบันชาตินี้แล้ว จะปกิสนธิในภพเบื้องหน้าในภพใดภพหนึ่ง ก็จักไม่เกิดในดิรัจฉาน ในเปตะวิสัย จักไม่ไปเกิดในสัญชีพนรก จักไม่ไปเกิดในสังฆาตะนรก ในโรรุวะนรก ในมหาโรรุวะนรก จักไม่ไปบังเกิดในดาปะนรก จักไม่บังเกิดในมหาดาปะนรก จักไม่บังเกิดในอเวจีนรก ดังนี้ด้วยผลานิสงส์ที่ตนได้เจริญซึ่งอาการะวัตตาสูตรอยู่เนืองๆ ดังกล่าวมาฉะนี้ อนึ่ง ในปัจจุบันภพนี้ ก็จะเป็นที่หลีกหลบอันตรายมิให้มาแผ้วพาน ติงสะภะยานิ และภัยคืออารมณ์ที่บุคคลพึงสะดุ้งกลัวนั้น ๓๐ ประการ อะหิภะยังวา คือ พัยอันบังเกิดแต่ทีฆะชาติงูอันมีพิษ ๑ กุกกุระภะยัง ภัยอันบังเกิดจากสุนัขบ้านและสุนัขจิ้งจอกที่ดุร้ายจะขบกัด ๑ โคณะภะยัง ภัยอันบังเกิดแต่โคถึกและโคเถื่อน ๑ มหิงสะภะยังวา หรือภัยอันเกิดจากกระบือเถื่อนและกระบือบ้านอันดุร้ายวิดชนให้เป็นอันตรายแก่ชีวิต ๑ สีหะภะยังวา หรือภัย คือราชสีห์ เสือโคร่ง และเสือเหลือง และเสือดาว และเสือบอง ก็ดี หัสถีอัสสะราชะโจระภะยังวา หรือภัยอันเกิดแต่คชสาร และภัยเกิดแต่อัสดรภาชีจตุรงคะชาติ และภัยอันเกิดจากพระราชาผู้เป็นจอมแห่งประชาชน หรือภัยอันบังเกิดแต่โจร และภัยอันเกิดแต่เพลิงและน้ำ และภัยอันเกิดแต่มนุษย์ที่เป็นไพรีหรือภัยเกิดแต่อมนุษย์ภูตผีปิศาจเข้าสิง บีบคั้นให้จลาจลวิกลจริตผิดมนุษย์ ทันฑะภะยังว่า หรือภัยถูกทัณฑ์ ถูกกระบอง ต้องอาชญา อุมมัตตะกะยักขะกุมภัณฑะ อารักขะเทวตาภะยังวา หรือภัยเกิดแต่ยักษ์และกุมภัณฑ์ จะมาบีบคั้นให้เป็นบ้าเสียจริตกิริยาแห่งมนุษย์ และภัยเกิดจากคนธรรพ คนธรรพ์ และอารักขเทวาขึ้งโกระ ปองทำร้ายวิหิงสาเบียดเบียน มาระภะยังวา หรือภัยเกิดแต่มารทั้ง ๕ จะมาผลาญให้เกิดการวิกลเป็นไปต่างๆ วิชชาธะระภะยังวา หรือภัยเกิดแต่วิชา ทรชนผู้ทรงไว้ซึ่งวิชา จะกระทำให้เป็นอันตรายด้วยอำนาจวิทยาคุณ สัพพะโลกาธิปติ ภะยังวา หรือภัยเกิดแต่มเหศวร เทวราชผู้เป็นใหญ่ในเทวโลกทั้งปวง รวมภัยเป็นที่บุคคลอันจะพึงสะดุ้งหวาดเสียว กลัว ๓๐ ประการ ภัยทั้ง ๓๐ ก็จะอันตรธาน พินาศไม่อาจเบียดเบียนให้เป็นอันตรายได้ จักขุโรคาทะโย ทั้งโรคาซึ่งจะบังเกิดเบียดเบียนกายเสียดแทงอวัยวะน้อยใหญ่ ทั้งภายในและภายนอก เป็นต้นว่าโรคในจักขุก็จะระงับดับเสื่อมสร่างลงเบาลง ชิคัจฉาปิปาสะ ภะยังวา หรือภัยอันเกิดแต่ความอยากเพื่อบริโภคอาหารและความหวังเพื่อจะดื่มกินซึ่งน้ำ เพราะความกระหายหอบด้วยโรคภายใน ก็จะวินาศหายด้วยคุณานุภาพ ที่ได้สาธยายท่องบ่นทรงจำ ซึ่งอาการะวัตตาสูตรนี้อยู่เนือง ๆ โดยนัยกล่าวมาด้วยประการฉะนี้ สะเจโยโกจิสาริปุตตะ ถ้าว่าบุคคลผู้หนึ่งจะพึ่งกระทำซึ่งปาณาติบาต คือปลงเสียซึ่งชีวิตชีวิตแห่งสัตว์ให้ตกร่วงไปเป็นวัชชะกรรม นำชักผลให้ไปปฏิสนธิในจตุรบายนั้นไซร้ อิมังสุตตังสุตะกาละโตปัฏฐายะ จำเดิมแต่ได้สดับฟังซึ่งอาการะวัตตาสูตรนี้ ด้วยศรัทธาจิตประสาทะเลื่อมใสก็อาจปิดกั้นไว้ซึ่งกรรมนั้น ทุกขะติงโสนะคัจฉะติ บุคคลผู้นั้นจะยังไม่ไปสู่ทุกขติกำหนดโดยกาลประมาณ ๙๐ แสนกัลป์ ฉะนี้นี่เป็นอานิสงส์ผลที่ได้ท่องบ่น ได้ทรงจำซึ่งกระแสแห่งอาการะวัตตาสูตร ให้เป็นวาจุคะตา (คล่องปาก) สะกะเตหังสัพพะรักเขหิ รักขิตุง อนึ่ง เคหะสถานทั้งสิ้นแห่งผู้นั้นจะมีผู้รักษาแล้วด้วยเครื่องรักษาทั้งปวง เทพยดาทั้งหลายในฉะกามาพจรสถานทั้งหกชั้นฟ้านั้น ย่อมจะพิทักษ์ให้นิราศภัยอันตราย เอวัง สาริปุตตะ อิมังสุตตังมะหิทธิกัง ดูกร สารีบุตร อาการะวัตตาสูตรนี้มีอิทธิฤทธิ์ใหญ่หลวง มหาเตชังมหานุภาวัง มีเดชานุภาพยิ่งนัก มีพละกำลังมาก มีอานิสงสะคุณอันไพศาลด้วยประการฉะนี้ สมเด็จพระบรมศากยมุนีสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสอธิบายซึ่งอิทธิเดชานุภาพแห่งอาการะวัตตาสูตรทั้งนี้แล้ว เทสะนากุฏังคัณหันโต เมื่อพระองค์ถือเอายอดแห่งเทศนา จึงตรัสซึ่งพระคาถาทั้งหลายดังนี้ว่า สัพพะเมกะมิทังสุตตังอภิธรรมปิฏะกัญเจวะ เป็นต้น อธิบายความในพระคาถาว่า อิทังสุตตังเอกัง อาการะวัตตาสูตรนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นพระสัพพัญญู รู้ซึ่งสังขะตะธรรมทั้งปวง ทรงตรัสว่าถ้าผู้ใดได้พิจารณาลูบคลำซึ่งพระอภิธรรมปิฏก พระสุตตันตะปิฏก พระวินัยปิฏก ด้วยประการฉะนี้แล้ว มหาเตชังอิทธิพลัง จะมีพระเดชามาก มีฤทธิ์และกำลังใหญ่หลวงประดับแล้วด้วยมรรค ๑๗ วรรค ดังกล่าวแล้วในหนหลัง ล้วนแต่แสดงซึ่งพุทธคุณ พุทธะคุณะคณาคันธา กลิ่นหอมทั้งหลายคือ ประชุมแห่งหมู่พระพุทธคุณ เป็นกลิ่นอันอุดมประเสริฐสูงสุดกว่ากลิ่นคันธชาติทั้งปวง ที่มนุษย์และเทวดากำหนดว่าเป็นกลิ่นอันดี อาการะวัตตาสูตตัมหิจะปากาสิตา คันธชาติแห่งหมู่พระพุทธคุณทั้งปวงเหล่านั้น เราผู้ตถาคตได้แสดงแล้วในอาการะวัตตาสูตรนี้ สัทธาหัตเถนะวิญญุนา วิญญูชนผู้มีปรีชา พึงลูบคลำเถิดด้วยมือ คือศรัทธาความที่ตั้งจิตไว้ชอบในกาลทุกเมื่อ พุทธคุณาบุปผาคือหมู่แห่งพระพุทธคุณทั้งหลายเป็นบุปผาชาติอันอุดมกว่าบุปผาชาติที่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายมานิยมว่าประเสริฐนั้น บุปผาชาติคือหมู่พระพุทธคุณทั้งนั้น เราผู้ตถาคตได้ประกาศแล้วในอาการะวัตตาสูตร ชะเนนะหิตะทาเมนะ ชนผู้รักใคร่ซึ่งประโยชน์เกื้อกูลอุดหนุนแก่ตนในโลกเบื้องหน้า พึงประดับประดาทัดทรงไว้ด้วยใจศรัทธาทุกเมื่อเถิด ดังนี้ ราโคจิตตังนะ ธังเสติราคะ คือ ความกำหนัด จะได้กำจัดซึ่งจิตแห่งบุคคลนั้นเรามิได้ ตะถาโทโสจะโมโหจะ อันโทสะและโมหะก็จะไม่กำจัดซึ่งจิตแห่งผู้นั้นให้ขุ่นข้องหมองมัวไปได้ ตะถาคะเตปะสาโทจะ บุคคลนั้นก็จะมีความประสาทะเลื่อมใสในพระตถาคตผู้เป็นอรหังสัมมาสัมพุทธเจ้า และจะมีคารวะเคารพในพระตถาคต และเคารพในพระสัทธรรม และพระสงฆ์ชินะบุตร สัทธาทิเกวิปุลละคะโต จะถึงซึ่งความไพบูลย์ด้วยคุณ มีศรัทธา เป็นต้น จะมากไปด้วยปรีชาปราโมทย์ ในพระพุทธคุณดังนี้ สัพพะทุกขาภะยัสสาโย ร่างกายอันบุคคลอบรมอยู่แล้วด้วยพระพุทธคุณ อันเป็นเครื่องหมดสิ้นแห่งทุกขภัย ไกลจากราคะกิเลสดังนี้ อัตโคเชฏโฐอนุตตะโร ก็เป็นกายเลิศประเสริฐยิ่ง ควรจะพึงบูชาประหนึ่งว่าเป็นเรือนเจดีย์ อันเป็นที่สักการบูชาฉะนั้น ตถาคะเตนะสัทธิง บุคคลที่มีจิตสันดานอบรมอยู่ด้วยพุทธคุณนั้น เหมือนอยู่ที่เดียวกันกับพระตถาคตพุทธเจ้า วิติกกะเมอุปะฐิเต ครั้นเมื่อถึงวัตถุอันพึงล่วงในสิกขาบทบัญญัติจักเป็น อานาวิติดกะโน จะมีปรากฏเฉพาะหน้าก็ดี บุคคลนั้นก็จักตั้งไว้ซึ่งหิริความละอาย และโอตัปปะความสะดุ้งต่อบาปและโทษทั้งปวง เป็นประหนึ่งว่าตั้งอยู่ในที่พร้อมหน้าแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ก็ไม่อาจล่วงเกินซึ่งสิกขาบทบัญญัติในครุกาบัติและละหุกาบัตินั้นๆ ได้ ข้อนี้ก็เป็นคุณาสะเรยยะทิฏฐะกรรมที่ได้หมั่นคำนึงซึ่งอะตุลยะบารมีที่กล่าวไว้ในอาการะวัตตาสูตรนี้ โยนะอุปารัมภาหิ ถ้าบุคคลผู้ใดมิได้ศรัทธาปสาทคุณความเลื่อมใส ย่อมไม่สดับฟังคำสั่งสอนแห่งสมเด็จพระชินวรวิสุทิศาสดาจารย์ เพราะเหตุแห่งทาที่เขามิได้ปราถนาก็จะไม่ได้ประสบความสรรเสริญและลาภยศ เป็นต้น อารากาสฐิติสัทธัมมัง บุคคลผู้นั้นก็จะตั้งอยู่ในที่ไกลจากพระสัทธรรม ประหนึ่งว่าพื้นปฐพี่เป็นของไกลกันกับอากาศ ฉะนั้น บุคคลผู้นั้นก็จักเสื่อมจากพระสัทธรรม ประหนึ่งว่าปริมณฑลแห่งพระจันทร์ อันหมดสีรัศมีในดิถีกาฬปักษ์ฉะนั้น โยจะตุกเฐนะจิตเตนะ บุคคลใดมีจิตยินดีแล้วด้วยศรัทธาปสาทคุณ ย่อมสดับฟังซึ่งคำสั่งสอนแห่งองค์พระศาสดา ผู้ผจญเสียซึ่งข้าศึกคือกิเลสและหมู่มารด้วยจิตชื่นบานอภิรมย์ ปราศจากโทษ มีอันปรารภ คือแลเห็นแก่ลาภยศและความสรรเสริญ เป็นต้น ดังกล่าวมาแล้วนี้ กิเลเสเขเปตะวา บุคคลผู้นั้นก็ยังกิเลสทั้งหลายให้หมดสิ้น ด้วยตะทังคะปะหาน แลวิขัมภะนะปะหาน โดยลำดับๆ กันไปจนถึงละกิเลสได้ด้วยสมุจเฉททะปะหาน หมดสิ้นเชื้ออุปาทาน อะนาสาโว เป็นผู้วิสิทธิในสันดาน ไม่มีอาสวะเครื่องดองเนืองนอง แต่ อนันตะชาติ ปรินิพพายิ ก็จะดับขันธ์ปรินิพพาน หมดภพสิ้นกันดาน คือ ชาติ ชรา พยาธิ และมรณะ อันเป็นบรมสุข ดังนี้ ด้วยอานิสงส์คุณที่ได้สดับและรับปฏิบัติตามทางพระสัทธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสสอนไว้ ธัมมะจารี ดุจหนึ่งนรชนทั้งหลายเหล่าใด ประกอบด้วยคุณ คือ ศรัทธา และปัญญา เป็นต้น เคารพในพระสัทธรรม และเอื้อเฟื้อในพระสัทธรรม อะสะจาโย เป็นผู้ไม่กล่าวดี คือ ไม่อวดแสดงซึ่งคุณที่มีในตน เป็นเหตุให้คนอื่นมีความพิศวง ชนทั้งหลายนั้นได้ซึ่งชื่อและปฏิบัติซื่อตรง ตามมรรคาแห่งอมตะธรรม คือ พระนิพพาน ความสุขสำราญกายสบายจิตก็จะบังเกิดในภพนี้และภพหน้า อีทิสา ด้วยตนเคารพนับถือพระสัทธรรม และปฏิบัติตามดังที่กล่าวมาแล้วด้วยประการดังนี้ อาการะวัตตานุภาเวนะสัตตาโหนติสุขัปปัตตา สัตว์ทั้งหลายจะถึงซึ่งความสุข นิระทุกข์นิระภัย ปราศจากอันตรายทั้งปวงก็ด้วยอานุภาพแห่งอาการะวัตตาสุตรนี้ เทวะมนุสสาจะอุโกพ เทวดาและมนุษย์ก็จะแลดูซึ่งกันและกัน ด้วยจิตเมตตา มิได้มีวิหิงสาอธรรมที่จะเบียดเบียนให้ได้ความลำบากการยระทมใจดังนี้ ด้วยอานุภาพแห่งอาการะวัตตาสูตรนี้ อันตะรายาอะเนญชา ภยันตรายทั้งหลายที่เป็นไปภายในและภายนอก มีมาก ใช่อย่างหนึ่งอย่างเดียว วินัสสันติอะเสสะโต ก็ย่อมวินาศเสื่อมสูญพินาศฉิบหายด้วยอานุภาพแห่งพระอาการะวัตตาสูตรนี้ ราชะโจรัคคินาปิจะ ภัยอันตรายทั้งหลายอันจะเกิดขึ้นแต่พระราชาผู้ปกครองรักษาบังคับอภิบาลมณฑล และจะเกิดแต่โจรจะทำร้ายและเพลิงไหม้ และน้ำท่วมมากเกินประมาณ อันตรายเหล่านั้นก็จะวินาศฉิบหายมิได้เหลือ ไม่อาจทำให้เป็นอันตรายแก่ชนนั้นได้ แม้นถึงว่าสัตว์ดุร้ายเป็นต้นว่าสีหาและพยัคฆา ก้ไม่อาจเบียดเบียนได้ ทำร้ายได้ สังสาเรสะรันโต เมื่อผู้นั้นยังท่องเที่ยวเวียนวนอยู่ในวัฏฏะสงสาร นิปุณาปฏิอายุโก จะเป็นผู้มีปัญญาอันละเอียดสุขุมภาพ และจะมีชนมายุยืนยงคงทนจนเท่าถึงอายุปริจเฉทกาลอายุขัยเป็นกำหนด จึงตาย จะได้ตายด้วยอากาละมรณะนั้นหามิได้ อโรคาจะ บุคคลนั้นจะเป็นคนผู้ไม่มีโรคาพยาธิที่จะเบียดเบียนเสียดแทงฟกช้ำระกำกาย อานาสะวังจะนิพภะยัง ก็สถานถิ่นประเทศใด อันสมเด็จพระพุทธเจ้าทั้งหลายได้แสดงไว้แล้วว่า เป็นที่ไม่มีอาสวะกิเลส และเป็นที่เกษมสุขสิ้นทุกข์ภัย ไม่มีข้าศึกสิ่งใดที่จะผจญให้ถึงซึ่งพ่ายแพ้ได้ นิพพานะมะตุลังสันตังละเภยยะ อะนาคะเต บุคคลผู้นั้นก็จะพึงได้สถานประเทศนั้น กล่าวคือพระนิพพาน อะตุสันตัง ไม่มีกรรมอื่นๆ ที่จะเป็นคุ่เปรียบให้เท่าถึงได้ เป็นธรรมอันระงับได้แท้ในอนาคตกาลเบื้องหน้า ยังไม่มีมาถึงดังนี้ เพราะอานิสงส์ผลที่ได้ระลึกตามเนืองๆ ซึ่งพระพุทธคุณวิบูลย์บารมี ทิพพะจักขุงวิโสธะยิ ผู้นั้นก็จักสำเร็จซี่งไตรวิชชาและอภิญญา ๖ ประการ จะยังทิพยจักขุญาณให้บริสุทธิ์ผุดผ่องใส อาจเห็นในรูปารมณ์โดยประสงค์ ประดุจหนึ่งว่าทิพย์จักษุแห่งองค์มเหสักขะเทวราชนั้น คัมภีรงนิปุนังธัมมังจะสุตตังปะวัตตะยิ ก็บุคคลผู้ใดมีความเลื่อมใสโสมนัสปรีดาปสาทศรัทธาเป็นเค้ามูลได้กระทำอัตถาธิบายอาการะวัตตาสูตรเป็นธรรมลึกซึ้งละเอียด อันเจือไปด้วยพระวินัยและพระปรมัตถปิฎกให้ประพฤติเป็นไป คือ จะได้จดจารึกลงไว้ในสมุดใบลานก็ดี เพื่อจะให้เป็นหิตานุหิประโยชน์แก่บุคคลผู้โสมนัสอันเป็นเวนัยต่อไป ณ เบื้องหน้า วะทิสสะติตัสสะยะโสยสะ กล่าวคือจะมีผู้บูชาและนับถือ จะเจริญแก่บุคคลผู้นั้นเป็นนิรันดร์มิได้ขาด พหุตัพภักโขภะวะติวิปปะวุตโถสะกังฆะราโยจะสุตตังสุณาติ บุคคลผู้ใดได้สดับฟังซึ่งพระสูตรนี้ โดยสักกัจจะวิธีเป้นเคารพ วิปปะวุตโถสะกังฆะรา ถึงจะมีกังวลการด่วนรีบร้อนต้องสัญจรออกจากบ้านเรือนแห่งตนไปแล้ว จะได้ขัดสนเสบียงอาหารที่จะบริโภคไปรายทางทุเรศกันดารมิได้ พะหุบตับภักโข ภะวะติ บุคคลนั้นจะมีอาหารบริโภคมาก ย่อมเป็นที่อาศัยแก่ชนทั้งปวง ฮะมิตตานับปะสะหันติ ศัตรูหมู่ปัจจามิตรทั้งหลายไม่ควรจะมาครอบงำย่ำยีได้ ที่เป็นทิฏฐะธัมมะเวทะนิยามิ สงค์ที่จะเกื้อหนุนในภพเบื้องหน้านั้นแสดงว่า โกฏิชาดาราทิสัมปันโนทานาวิเทนะกูสิโต บุคคลผู้นั้นได้ฟังซึ่งพระสูตรนี้ด้วยปสาทจิตผ่องใสโสมนัสปรีดา เมื่อดับขันธ์ไปในภพเบื้องหน้า จะสมบูรณ์ด้วยโภคสมบัติ หิรัญรัตนมณีเหลือล้น ขนขึ้นรักษาไว้ที่เรือนและคลัง เป็นต้น จะประกอบด้วยเครื่องอลังการ วิภูษิตพรรณต่างๆ ใช่อย่างหนึ่งอย่างเดียว มะหัพพะโลมะหาถาโม จะมีกำลังมาก แรงมาก แข็งขยันกล้าต่อยุทธนาสู้ข้าศึกศัตรูหมู่ไพรี ไม่ย่อท้อ กาโยสุวัณณะวัณโณ ทั้งฉวีวรรณก็ผ่องใสดุจทองธรรมชาติ ทั้งจักษุประสาทก็รุ่งเรืองงามบ่ได้วิปริต อาจะแลดูเห็นทั่วทิศานุทิศซึ่งสรรพรูปทั้งปวง ฉะติงสะกัปเปเทวินโท จะได้เป็นพระอินทร์ปิ่นภิภพดาวดึงส์กำหนดถึง ๓๖ กัลป์ โดยประมาณ ฉะติงสะจักกะวัตติโย จะได้สมบัติจักรพรรดิตราธิราชผู้เป็นอิศราในทวีปทั้ง ๔ มีทวีปน้อย ๒,๐๐๐ เป็นบริวารกำหนดนานถึง ๓๖ กัลป์ สุวัณระปาสาทะสัมปันโน จะถึงพร้อมด้วยปราสาทอันเป็นวิหารแห่งทอง ควรจะปรีดา บริบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ เป็นของเกิดสำหรับบุญแห่งบรมจักรพรรดิ์ตราธิราช จะตั้งอยู่ในสมบัติสุขในกำหนดกาล ติวิธะสุขังอิตฉันโต ผู้นั้นจะปรารถนาสุข ๓ ประการคือ สุขในมนุษย์ สุขในสวรรค์ และสุขในนิพพาน ก็จะได้สำเร็จสมปรารถนา มะติมัตถังสัญชานิตะวา เมื่อยังเวียนว่ายอยู่ในวัฏฏะสงสาร อานิสงส์คงจะอภิบาลตามประคองไปให้มีปัญญาเฉียบแหลมว่องไว จะเป็นผู้รู้อรรถและธรรมอันสุขุมละเอียดลึกซึ้ง อาจรู้ทั่วถึงด้วยกำลังปรีชาตะโตนิพานะสุขขัง จะเมื่อกาลอันเป็นอวสานที่สุดชาติก็จะได้บรรลุแก่อมตมหานิพพาน อันเป็นบรมสุข ตามอริยโวหาร นิระเยจาปิเตนะจะ อนึ่ง เมื่อบุคคลนั้นยังเวียนว่ายอยู่ในวัฏฏะสงสาร จะไม่ไปเกิดในดิรัจฉานกำเนิด จะไม่ไปเกิดในโลหะกุมภี และเวตรณี และอเวจีมหานรกใหญ่ทั้งหลาย นะวุตติกัปปะสะตะสะหัสสานิ กำหนดถึง ๙๐ แสนกัลป์เป็นประมาณ วัณฑาละทาสีกุจฉิมหิโลกันตนิระเยสุจะ อนึ่ง ผู้นั้นจะไม่ไปเกิดในตระกูลแห่งหญิงจัณฑาลเข็ญใจ และทาสีหินะชาติตระกูล และจะไม่ไปเกิดในโลกันต์นรกอันมีในโลก กุทิฏฐิมะหิ จะไม่ไปบังเกิดและยังไม่สุดสิ้นตามสนองไป คือจะไม่ได้เกิดเป็นหญิง และเป็นอุภะโตเพียญชนกอันมีเพศเป็นสองฝ่าย และมิได้เกิดเป็นบัณเฑาะเป็นกระเทยที่เป็นอภัพพะบุคคล อังคะปัจจังคะสัมปันโน ผู้นั้นเกิดในภพใดๆ จะเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยองคาพยพน้อยใหญ่บริบูรณ์ ไม่วิกลวิกาล สุรปาทีฆายุโก จะเป็นผู้มีรูปทรงสัณฐาณงามดี เป็นที่เลื่อมใสแก่มหาชนผู้ได้ทัศนาไม่เบื่อหน่าย จะเป็นผู้มีอายุยืนมีศีลศรัทธาทิคุณและบริบูรณ์ในการบริจาคทาน ไม่เบื่อหน่าย สัพพีติโยวิวัชชันตุ ทั้งสรรพอันตรายและความจัญไรภัยพิบัติก็จะขจัดบำบัดไป ทั้งสรรพอาพาธที่บังเกิดเบียดเบียนกายก็จะสงบระงับดับคลายลง ด้วยคุณานิสงสผลที่ตนได้สดับฟังพระสูตร พุทธะเวยากรณะภาษิตอันเป็นธรรมโอสถวิเศษ มรณกาเลอะสัมมุฬโห ในมรณาสัณกาลใกล้แก่มรณะก็จะเป็นผู้ไม่หลง จะดำรงสตินั้นไว้ได้ ให้เป็นทางสุคติที่จะดำเนินปฏิสนธิในภพเบื้องหน้า อุชุงคัจฉะติสุคะติง เมื่อแตกกายทำลายเบญจขันธ์แล้วก็จะตรงไปสู่สุคติ เสวยสุขสมบัติตามใจประสงค์ โยจะสัมมานุสสติสุตตะวินะยาภิธัมมัง นรชนผู้ใดเห็นตามโดยชอบซึ่งสูตรอันเจือปนด้วยประวินัย พระปรมัตถ์ มีนามบัญญัติว่าอาการะวัตตาสูตร มีข้อความดังกล่าวมาแล้วนั้นๆ สำเร็จดังกมลมุ่งมาตรปรารถนา โยจะปัตสะติสัทธัมมัง ก็บุคคลผู้ใดได้เห็นพระสัทธรรม บุคคลนั้นก็จะได้ชื่อว่าได้เห็นเราตถาคตพุทธเจ้า อะปัสสะมาในสัทธรรมมังปัสสันโตปิ ผู้ใดเมื่อไม่เห็นซึ่งพระสัทธรรม ถึงจะได้เห็นได้ประสบพบเราผู้เป็นตถาคต ก็ชื่อว่าไม่ได้ประสบพบเราผู้เป็นตถาคต เป็นผู้ไกลจากเราตถาคตดังนี้ องค์พระจอมมุนีผู้ทรงพระภาคตรัสประกาศซึ่งคุณเดชานุภาพ และอานิสังสะผลแห่งอาการะวัตตาสูตร โดยเวยยากรณะบาลีดังนี้จบลงแล้ว ธัมมาพิสมัย คือ ตรัสรู้มรรคและผลก็บังเกิดแก่หมู่ชนทั้งหลายที่ได้สดับฟังประมาณ ๘๐ พันโกฏิ ด้วยประการฉะนี้ อิทะมะโวจะภควา สมเด็จพระผู้ทรงมหากรุณาพระโสภาคย์ ตรัสแสดงซึ่งอาการะวัตตาสูตรนี้จบลงแล้ว พระสารีบุตร พุทธสาวก ก็ชื่นชมยินดีต่อพระพุทธภาษิตแห่งองค์สมเด็จพระภควันตะบพิธสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยประการฉะนี้ *********
อานิสงค์แบบย่อ
ในสมัยหนึ่งสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับอยู่ ณ เขาคิชฌกูฎบรรพตคีรี ใกล้ราชธานีราชคฤห์มหานคร ในสมัยครั้งนั้นพระสารีบุตรพุทธสาวก เข้าไปสู่ที่เฝ้าถวายอภิวาทโดยเคารพแล้วนั่งในที่ควรส่วนข้างหนึ่งเล็กแลดูสหธัมมิกสัตว์ทั้งหลาย ก็เกิดปริวิตกในใจคิดถึงกาลต่อไปภายหน้าว่า
พระสารีบุตรได้ปริวิตกในจิตว่าจะช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ที่ไม่รู้จักบารมีแห่งพระพุทธเจ้าได้อย่างไร
จึงได้กราบทูลถามองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า มีธรรมอันใดเล่า ที่จะลึกสุขุม
จะห้ามเสียซึ่งหมู่อันธพาลพังกระทำบาปกรรม ทั้งปวงไม่ให้ตกไปในนรกอเวจี
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงได้ตรัสถึงบทพระอาการวัตตาสูตรว่า อานิสงส์ดังนี้
ผู้ใดท่องได้ใช้สวดมนต์ปฏิบัติได้เสมอ มีอานิสงส์มากยิ่งนักหนา แม้จะปรารถนาพระพุทธภูมิ พระปัจเจกภูมิ
พระอัครสาวกภูมิ พระสาวิกาภูมิ จะปรารถนามนุษยสมบัติ สวรรคสมบัติ นิพพานสมบัติ นิพพานสมบัติ
ก็ส่งผลให้ได้สำเร็จสมความปรารถนาทั้งนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ได้เป็นพระพุทธเจ้าปัญญามาก
เพราะเจริญพระพุทธมนต์บทนี้ ถ้าผู้ใดปฏิบัติได้เจริญได้ทุกวันจะเห็นผลความสุขขึ้นเอง
ไม่ต้องมีผู้อื่นบอกอานิสงส์ แสดงว่าผู้ที่เจริญพระสูตรนี้ ครั้งหนึ่ง จะคุ้มครองภัยอันตราย 30
ประการได้ 4 เดือน ผู้ใดเจริญพระสูตรนี้อยู่เป็นนิจ บาปกรรมทั้งปวงก็จะไม่ได้ช่องหยั่งลงสู่สันดาน
เว้นแต่กรรมเก่าตามมาทันเท่านั้น ผู้ใดอุตสาหะ ตั้งจิตตั้งใจเล่าเรียนได้ สวดมนต์ก็ดี
บอกเล่าผู้อื่นให้เลื่อมใสก็ดี เขียนเองก็ดี กระทำสักการะบูชาเคารพนับถือ พร้อมทั้งไตรทวารก็ดี
ผู้นั้นจะปรารถนาสิ่งใดก็จะสำเร็จทุกประการ ท่านผู้มีปรีชาศรัทธาความเลื่อมใสจะกระทำซึ่งอาการวัตตาสูตร
อันจะเป็นที่พักผ่อน พึ่งพาอาศัยในวัฏฏสงสาร
ดุจเกาะและฝั่งเป็นที่อาศัยแห่งชนทั้งหลายผู้สัญจรไปมาในชลสาครสมุทรทะเลใหญ่
ฉะนั้น อาการวัตตาสูตรนี้ พระพุทธเจ้า 28 พระองค์ ที่ปรินิพพานไปแล้วก็ดี
พระตถาคตพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันก็ดี มิได้สละละวางทิ้งร้างให้ห่างเลยสักพระองค์เดียว
ได้ทรงพระเจริญตามพระสูตรนี้มาทุกๆ พระองค์
จึงมีคุณานุภาพยิ่งใหญ่กว่าสูตรอื่นไม่มีธรรมอื่นจะเปรียบให้เท่าถึงเป็นธรรมอันระงับไปโดยแท้ในอนาคตกาล
ถ้าบุคคลใดทำปาณาติบาต คือ ปลงชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไปเป็นวัชร กรรมที่ชักนำให้ปฏิสนธิในนรกใหญ่ทั้ง 8 ขุม
คือ สัญชีพนรก อุสุทนรก สังฆาตนรก โรรุวนรก ตาปนรก มหาตาปนรก อเวจีนรก เปรต อสุรกาย ดิรัจฉาน กำเนิดไซร้
ถ้าได้ท่องบ่นทรงจำจนคล่องปากก็จะปิดบังห้ามกันไว้ไม่ให้ไปสู่ทุคติกำเนิดก่อนโดยกาลนาน 90 แสนกัลป์
ผู้นั้นระลึกตามเนืองๆ ก็จะสำเร็จไตรวิชชาและอภิญญา 6 ประการ ยังทิพจักษุญาณให้บริสุทธิ์
ดุจองค์มเหสักข์เทวราชมีการรีบร้อนออกจากบ้านไป จะไม่อดอาหารในระหว่างทางที่ผ่านไป
จะเป็นที่พึ่งอาศัยแห่งชนทั้งหลายในเรื่องเสบียงอาหาร ภัยอันตราย ศัตรู หมู่ปัจจามิตร
ไม่อาจจะมาครอบงำย่ำยีได้ นี้เป็น
ทิฏฐธรรมเวทนียานิสงส์ปัจจุบันทันตาในสัมปรายิกานิสงส์ ที่จะเกื้อหนุนในภพเบื้องหน้านั้น
แสดงว่าผู้ใดได้พระสูตรนี้เมื่อสืบขันธประวัติในภพเบื้องหน้า จะบริบูรณ์ด้วยโภคสมบัติ
หิรัณยรัตนมณีเหลือล้นขนขึ้นรักษาไว้ที่เรือนและที่คลังเป็นต้น ประกอบด้วยเครื่องอลังการภูษิตพรรณต่างๆ
จะมีกำลังมากแรงขยันต่อยุทธนาข้าศึกศัตรูหมู่ไพรีไม่ย่อท้อ
ทั้งจะมีฉวีวรรณผ่องใสบริสุทธิ์ดุจทองธรรมชาติ
มีจักษุประสาทรุ่งเรืองงามไม่วิปริตแลเห็นทั่วทิศที่สรรพรูปทั้งปวงและจะได้เป็นพระอินทร์ปิ่นพิภพดาวดึงส
์อยู่ 36 กัลป์ โดยประมาณและจะได้เป็นบรมจักรพรรดิราชผู้เป็นอิสระในทวีปใหญ่ 4 มีทวีปน้อย 2000
เป็นบริวารนานถึง 26 กัลป์ จะถึงพร้อมด้วยปราสาทอันแล้วไปด้วยทอง ควรจะปรีดา บริบูรณ์ด้วยแก้ว 7 ประการ
เป็นของเกิดสำหรับบุญแห่งจักรพรรดิราช จะตั้งอยู่ในสุขสมบัติโดยกำหนดกาลนาน
ยังเวียนว่ายอยู่ในวัฏฏสงสารอานิสงส์คงอภิบาลตามประคองไปให้มีปัญญาฉลาดเฉียบแหลมว่องไวสุขุมละเอียดลึกซึ
้ง อาจรู้ทั่วถึงอรรถธรรมด้วยกำลังปรีชาญาณอวสานที่สุดชาติก็จะได้บรรลุพระนิพพาน
อนึ่งถ้ายังไม่ถึงพระนิพพานก็จะไม่ไปบังเกิดในอบายภูมิทั้ง 4 มี นรก เปรต อสุรกาย ดิรัจฉาน
กำเนิดและมหานรกใหญ่ทั้ง 8 ขุมช้านานถึง 90 แสนกัลป์ และจะไม่ได้ไปเกิดในตระกูลหญิงจัณฑาลเข็ญใจ
จะไม่ไปเกิดในตระกูลมิจฉาทิฏฐิ จะไม่ไปเกิดเป็นหญิง จะไม่ไปเกิดเป็นอุตโตพยัญชนก อันมีเพศเป็น 2 ฝ่าย
จะไม่ไปเกิดเป็นบัณเฑาะก์ เป็นกระเทยที่เป็นอภัพบุคคล บุคคลผู้นั้นเกิดในภพใดๆ
ก็จะมีอวัยวะน้อยใหญ่บริบูรณ์ จะมีรูปทรงสัณฐานงามดีดุจทองธรรมชาติ
เป็นที่เลื่อมใสแก่มหาชนผู้ได้ทัศนาไม่เบื่อหน่าย จะเป็นผู้มีอายุคงทนจนถึงอายุขัยจึงจะตาย
จะเป็นคนมีศีลศรัทธาธิคุณบริบูรณ์ในการบริจาคทานไม่เบื่อหน่าย จะเป็นคนไม่มีโรค-พยาธิเบียดเบียน
สรรพอันตรายความจัญไรภัยพิบัติ สรรพอาพาธที่บังเกิดเบียดเบียนกายก็จะสงบระงับดับคลายลงด้วยคุณานิสงส์
ผลที่ได้สวดมนต์ ได้สดับฟังพระสูตรนี้ด้วยประสาทจิตผ่องใส
เวลามรณสมัยใกล้จะตายไม่หลงสติจะดำรงสติไว้ในทางสุคติ เสวยสุขสมบัติตามใจประสงค์
นรชนผู้ใดเห็นตามโดยชอบซึ่งพระสูตรเจือปนด้วยพระวินัยพระปรมัตถ์มีนามบัญญัติชื่อว่า อาการวัตตาสูตร
มีข้อความดังได้แสดงมาด้วยประการฉะนี้
ขออนุญาตคัดลอกบทความ ขออนุโมทนาบุญ ด้วย
และข้าพเจ้าก็ขออนุญาตเผยแพร่ และขอให้ได้บุญกุศลร่วมกัน
(พระคาถาสุนทรีวาณี) (หัวใจพระอาการวัตตาสูตร)
มุนินทะ วะทะนัมพุชะคัพภะ สัมภะวะสุนทะรี ปาณีนัง สะระณัง วาณี มัยหัง ปิณะยะตัง มะนัง
พระสุนทรีวาณี:อีกภาคหนึ่งของทางฮินดูก็คือพระแม่สุรัสวดี เทพแห่งปัญญา การเจรจาค้าขาย
พระสุนทรีวาณี:มีความหมายว่าอย่างไรและมีความสำคัญในทางธรรมะแห่งพระพุทธศาสนาอย่างไร?
มุนินฺท วทนมฺพุช คพฺภสมฺภว สุนฺทรี ปาณีนํ สรณํ วาณี มยฺหํ ปิณยตํ มนํ
คาถาพระสุนทรีวาณี
ตั้ง นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ จบ)
มุนินทะ วะทะนัมพุชะ คัพภะสัมภะวะ สุนทะรีปาณีนัง สะระณัง วาณี มัยหัง ปิณะยะตัง มะนังฯ
(ท่อง สาม ห้า หรือ เจ็ด จบพร้อมคำแปล)
ทำการค้าขาย โชคลาภ ให้ภาวนาเพิ่มว่า...
เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก
โส มานิมา ฤ ฤา ฦ ฦา
สา มานิมา ฤ ฤา ฦ ฦา
คำแปล:นางฟ้า คือพระไตรปิฎกอันเกิดจากดอกอุบล คือพระโอษฐ์ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้พึ่งพำนักของสรรพสัตว์ทั้งหลาย ขอจงยังใจของข้าพเจ้าให้เอิบอิ่มปรีดาปราโมทย์ รู้แจ่มแจ้งแทงตลอดจำได้ ปฏิบัติตามได้ ในพระไตรปิฏกทั้งโลกียะและโลกุตตระนั้นเทอญ
ประวัติ พระสุนทรีวาณี
เป็นพระปางพิเศษ เป็นรูปเทพธิดาทรงอาภรณ์อันงดงามวิจิตร หัตถ์ขวาแสดงอาการกวัก คือ การเรียกเข้ามาหา หัตถ์ซ้ายหงายอยู่บนพระเพลา
(หน้าตัก) มีดวงแก้ววิเชียร (เพชร) อยู่ในหัตถ์
พระสุนทรีวาณี เป็นพระซึ่งเกิดจากการนิมิต แห่งพระคาถาสุนทรีวาณี ซึ่งเป็นคาถาที่ปรากฎ ในคัมภีร์สัททาวิเสส มี ๓๒ คำ
พระคาถานี้เป็นพระคาถาศักดิ์สิทธิ์ ผู้ใดเมื่อเรียนพระไตรปิฎก เรียนพระธรรม เรียนวิชา ภาวนาแล้ว ดับอวิชชา บังเกิดปัญญางาม ปัญญากลายเป็นสัญญา คือ ความทรงจำอันเลิศล้ำ โบราณาจารย์ได้สั่งสอนศิษยานุศิษย์ให้ท่องทุกครั้ง ที่เรียนพระไตรปิฎกตลอดมา
สืบได้ความว่า ผู้ที่ท่องคาถานี้เฉพาะในยุครัตนโกสินทร์ ดำรงสมณศักดิ์ เป็นสมเด็จพระสังฆราช ๓ พระองค์ เป็นพระสมเด็จ พระราชาคณะ เป็นพระคณาจารย์ผู้มากด้วยเมตตา
พระคาถาวาณีมีชื่อเรียกหลายอย่างเช่น พระคาถาอาราธนาธรรม, พระคาถาเรียกธรรม, พระคาถาบารมี 10 ทัศน์, พระคาถาหัวใจอาการวัตตาสูตร, หรือ คาถาหัวใจอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นคาถาประจำพระองค์ ของสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร สุก ไก่ เถื่อน ที่ทรงสอนให้พระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ให้ภาวนาก่อนที่จะนั่งเข้าที่ภาวนา หรือก่อนเรียนพระปริยัติทุกคราวไป เพื่อกันบาปธรรม หรือมารเข้ามาในใจ...
ภาพถ่ายที่วัดสุทัศน์ สมเด็จพระวันรัตแดง วัดสุทัศน์เทพวราราม กล่าวว่า พระอาจารย์ของท่าน ทั้งทางคันถธุระ และวิปัสสนาธุระ สอนให้บริกรรมพระคาถา วาณี ก่อนจะเริ่มเรียนเรียนพระปริยัติธรรม และเข้าที่ภาวนาทุกคราวไป ท่านยังกล่าวอีกว่าท่านพระมหาเถระผู้ใหญ่ทั้งหลายแต่กาลก่อน ล้วนนับถือพระคาถานี้อยู่ทั่วกัน จนกระทั้งอาราธนาธรรมก็ใช้คาถานี้
ที่มาและความสำคัญของพระคาถานี้มีกล่าวไว้ใน อาการวัตตาสูตร ว่า พุทธกรธัมเมหิตัพพัง ความว่า ธรรมเป็นเครื่องกระทำความเป็นพระพุทธเจ้าคือบารมี 10 ทัศ จะพึงมีอยู่ด้วย เพราะว่าบารมีธรรมของพระพุทธเจ้าทั้งหลายมีอยู่เป็นอันมาก ธรรมทั้งหลายใดเป็นไปเพื่อจะให้สำเร็จพระสัมมาสัมโพธิญาณ ดังที่พระพุทธองค์ตรัสกับพระสารีบุตรว่า ยัญ จ สารีปุตต รัตติง ดูกรสารีบุตร ในราตรีอันใด ตถาคตเจ้าได้ตรัสรู้ อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในวิมุติเศวตฉัตร ณ ควงไม้ อัสสัตถโพธิพฤกษ์ ก็ราตรีนั้นพระตถาคตเจ้านั้นจะระลึกถึง อาการวัตตาสูตร นี้ (พระคาถาวาณี ย่อมาจากอาการวัตตาสูตร) เป็นไปเพื่อต่อต้านรักษาภัยอันตรายและห้ามบาปธรรมทั้งปวง เพราะตถาคตมาตามระลึกอยู่ ซึ้งธรรมทั้งหลายอันเป็นมรรคาแห่งสัตว์ทั้งหลาย ให้ถึงความสิ้นไปแห่กิเลส ในกาลนั้นตถาคตเจ้าทั้งมวลมีญาณเครื่องรู้เป็นประธานก่อน เรียกว่า พุทธประเวณีญาณ แปลว่าญาณกำหนดรู้ธรรมเนียมแบบแผนขอ พระพุทธเจ้าทั้งหลายที่เคยปฏิบัติมา อันอาการวัตตาสูตรนี้ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย 28 พระองค์ที่ล่วงไปแล้วก็ดี และ ตถาคตเจ้าในบัดนี้ก็ดีมิได้ระวางสักพระองค์เดียวทำตามกันมาทุกพระองค์
สมเด็จพระวันรัตน์(แดง สีลวัฑฒโน)-ผู้อธิบายพุทธมนต์ด้วยศิลปะ ภาพพระบฎ -สุนทรีวาณี
ผลงานพิเศษชิ้นหนึ่งของพระวันรัตน์(แดง สีลวัฒโน) พระเถระที่พระปิยมหาราชทรงเคารพรูปหนึ่ง เชี่ยวชาญในพระปริยัติธรรมและพระไตรปิฎก ได้รจนาหนังสืออธิบายพระธรรมวินัยไว้หลายเรื่อง เพื่อเป็นคู่มือในการศึกษาของภิกษุ สามเณร คือภาพพระบฎ ที่มีชื่อว่า สุนทรีวาณี เป็นภาพแสดงความหมายในทางธรรม อธิบายพุทธมนต์ด้วยศิลปะ ท่านได้คิดแบบให้ช่างวาดขึ้น โดยถอดความหมายจากภาษาบาลีบทหนึ่งข้างต้น ท่านชอบใจเนื้อความในคาถานี้มาก จึงได้คิดถอดความหมายให้เขียนป็นภาพพระบฎไว้สักการะบูชา คือ
เขียนเป็นภาพนางมีเต้าถัน แต่ทรงเครื่องอย่างบุรุษ หมายความว่า เป็นรูปนางฟ้า หมายถึง พระไตรปิฎก บนฝ่ามือซ้ายมีเพชรวางอยู่ หมายความว่า พระนิพพาน เลิศกว่าธรรมทั้งปวง มือขวายกขึ้น หมายถึงพระธรรมคุณ คือ เอหิปัสสโก(เรียกให้มาดู) ดอกบัวที่รองรับรูปนางฟ้านั้น เปรียบด้วยพระโอษฐ์ของพระพุทธเจ้า มีรูปมนุษย์ นั่งบนดอกบัวซ้ายขวา หมายถึงคู่พระอัครสาวก รูปนาค หมายถึง พระอรหันตขีณาสพ รูปเทพยดา พรหม และสัตว์ต่างๆ หมายถึง เหล่าสัตว์ในกามภพ-รูปภพ-และอรูปภพ สระน้ำ หมายถึง สังสารสาคร
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทอดพระเนตรเห็นภาพพระบฎดังกล่าวนี้ ทรงพอพระราชหฤทัยเป็นอันมาก ถึงทรงพระราชดำริจะให้จารึกลงในแผ่นศิลา ประดิษฐานไว้ที่โรงเรียนวัดเบญจมบพิตร อันเป็นวัดที่ทรงสถาปนาขึ้น....
ภาพพระบฎจะได้นำลงเผยแพร่ พร้อมร้อยกรองบทกลอนถวายหลวงปู่ด้วย เพื่อให้ครบถ้วนสมบูรณ์แบบในจินตนาการของท่านในเชิงศิลป์ต่อไป
***ภาพพระบฎ-สุนทรีวาณี***
โอ้"สุนทราวาณี"โสภีเพริศ สุดประเสริฐงามแท้มาแต่ไหน?
เป็น"นางฟ้า"โฉมงามมีความนัย "ทรงเครื่องใหญ่อย่างบุรุษ"-องค์พุทธา
"ประทับนั่งบนดอกบัวบาน"ทั่วฐาน เด่นตระหง่านทรงประกาศพระศาสนา
คือ"พระไตรปิฎก"ที่ยกมา พรรณนา"พระธรรม"นำชีวี.....
"พระวินัย-พระสูตร-พระอภิธรรม" ทรงค่าล้ำแก่มนุษย์วิสุทธิ์ศรี
"พระหัตถ์ซ้าย""เพชร"วางอยู่ดูให้ดี ค่าควรมี"พระนิพพาน"สถานเดียว!!!
สุดประเสริฐเลิศล้ำธรรมทั้งปวง เพราะสิ้นห่วงทุกอย่างแท้ไม่แลเหลียว
"พระหัตถ์ขวายกขึ้น"มาเมตตาเทียว เชิญทีเดียว"เรียกหาให้มาดู!!!"
"พระธรรมคุณ"บุญของโลกดับโศกเศร้า ที่แผดเผาผู้คนวิมลหรูเป็น
"เอหิปัสสโก"โชว์ชวนดู เพื่อเรียนรู้"สู่นิพพาน"สราญรมย์
"ดอกบัวบานฐานานางฟ้า"นั้น เป็นสำคัญคือ"พระโอษฐ์"ประโยชน์สม
"แห่งองค์พระพุทธา"งามน่าชม ทรงอบรมสั่งสอนสุนทรธรรม....
"มนุษย์นั่งบนดอกบัวอยู่ซ้ายขวา" คือ"อัคราสาวก"ยกคมขำ
"ซุ้มนาคคือพระอรหันต์"ผู้มั่นธรรม เป็นผู้นำ"ขีณาสพ"นบพระคุณ
"เหล่าเทพ-พรหม-เต่า-กบน้อย-หอย-ปู-ปลา- สัตว์นานา"ในห้วงกรรมที่นำหนุน
ในกามภพ-อรูปภพไม่จบบุญ รูปภพหมุนเทพ-สัตว์-คนเป็นวนวง
"ในสระบัวคือธาราเต็มสาคร" ไม่ขาดตอน"สังโยชน์"-"โลภ-โกรธ-หลง"
เป็น"สังสารวัฏ-ห้วงน้ำใหญ่"ขอให้ปลง "นิพพาน"ส่งด้วย"สุนทรีวาณี"
เทอญฯ.....กัลยาณมิตร
หมายเหตุ:พระสุนทรีวาณี เป็นพระที่ทรงไว้ด้วยความเมตตาอย่างสูง เป็นพระที่เป็นสิริมงคล มหาลาภต่าง ๆ จึงเหมาะแก่ห้างร้าน บริษัท และร้านค้าทั่วไปจะมีไว้บูชาเพื่อเจริญด้วยลาภ ยศ ความสุข สรรเสริญ ตลอดจนการเจริญก้าวหน้าในอาชีพการงานของตน
ผู้บูชาเกิดความผ่องใส เกิดโชคลาภ และความสำเร็จสมหวัง..
*********
พระคาถาอาการะวัตตาสูตร(แปลไทย)
ประวัติพระอาการะวัตตาสูตร
เมื่อครั้งพุทธกาล พระสารีบุตรได้ปริวิตกในจิตว่าจะช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ที่ไม่รู้จักบารีแห่งพระพุทธเจ้าได้อย่างไรจึงได้กราบทูลถามองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า มีธรรมอันใดเล่าที่จะลึกสุมขุม จะห้ามเสียหมู่อันธพาลพึงกระทำบาปกรรมทั้งปวงไม่ให้ตกไปในนรกอเวจี องค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงได้ตรัสถึงบทพระอาการวัตตาสูตรว่า อานิสงส์ดังนี
ผู้ใดท่องได้ใช้สวดมนต์ปฏิบัติได้เสมอ มีอานิสงส์มากยิ่งหนักหนาแม้จะปรารถนาพระพุทธภูมิ พระปักเจกภูมิ พระอัครสาวกภูมิ พระสาวิกาภูมิ จะปรารถนามนุษย์สมบัติ นิพพานสมบัติ ก็ส่งผลให้ได้สำเร็จสมความปรารถนาทั้งนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ได้เป็นพระพุทธเจ้าปัญญามาก เพราะเจริญพระพุทธมนต์บทนี้ ถ้าผู้ใดปฏิบัติได้เจริญทุกวันจะเห็นผลความสุขขึ้นเอง ไม่ต้องมีผู้อื่นบอกอานิสงส์ แสดงว่าผู้ที่เจริญพระสูตรนี้ ครั้งหนึ่ง จะคุ้มครองภัยอันตราย 30 ประการได้ 4 เดือน ผู้ใดเจริญพระสูตรนี้อยู่เป็นนิจ บาปกรรมทั้งปวงก็จะไม่ได้ช่องหยั่งลงสู่อบายภูมิเว้นแต่กรรมเก่าตามทันเท่านั้น ผู้ใดอุสาหะตั้งจิตตั้งใจเล่าเรียนได้สวดมนต์ก็ดี บอกเล่าผู้อื่นให้เลื่อมใสก็ดี เขียนเองก็ดี กระทำสักการบูชาเคารพนับถือ พร้อมทั้งไตรวาทก็ดี ผู้นั้นจะปรารถนาสิ่งใดก็จะสำเร็จทุกประการ ท่านผู้มีปรีชาศรัทธาความเลื่อมใสจะกระทำซึ่งอาการวัตตาสูตรอันจะเป็นที่พักผ่อน พึ่งพาอาศัยในวัฎฎสงสาร ดุจะเกาะและฝั่งเป็นที่อาศัยแห่งชนทั้งหลายผู้สัญจรไปมาในชลสาครสมุทรทะเลใหญ่
พระคาถาอาการะวัตตาสูตร ( ฉบับแปลไทย )
ณ บัดนี้จะแสดงธรรม ที่มีมาในพระอาการะวัตตาสูตร ที่องค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าโคดม ทรงเสด็จประดับ ณ คิชฌกูฏบรรพตคีรีวันฯได้ทรงแสดงธรรมในพระบารมี คือบารมีที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงตรัสรู้ อันเป็นพระบารมีอันยิ่งใหญ่ คือ คุณธรรมที่ได้ทรงบำเพ็ญเพียรตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงที่สุด ในการตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณของพระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ ทรงได้ปฏิบัติตามกันมาเป็นลำดับดังนี้ แก่พระสารีบุตรและพระพุทธสาวกของพระองค์ให้รู้ตาม ในคุณอันยิ่งใหญ่ที่มีมานั้น ที่วงศ์สกุลแห่งพระตถาคตเจ้าทั้งหลายทรงได้ตรัสรู้แล้ว
1. พระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นพระอรหันต์ คือ เป็นผู้บริสุทธิ์ไกลจากกิเลส ทำลายกำแพงสังสารจักรได้แล้ว เป็นผู้ควรแนะนำสั่งสอนผู้อื่น ควรได้รับความเคารพบูชา เป็นต้น
2.พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ อำนาจแห่งบุญที่สร้างสมไว้และทรงบำเพ็ญเพียรมาด้วยพระองค์เอง
3.พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ความเพียบพร้อมในฐานะที่ทรงดำรงอยู่รอดในพระครรภ์มารดา
4.พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ ธรรมแห่งการตรัสรู้
5.พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ บุรุษผู้มีพระมหาปัญญาอันรอบรู้ชัด หยั่งรู้ในเหตุผล ทุกสรรพสิ่งฯลฯ อันยิ่งใหญ่
6.พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ การให้ การเสียสละ
7.พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ บารมีระดับต้น 10 อย่าง ได้แก่ ทานบารมีเป็นต้น เช่น สละทรัพย์สินเงินทองฯ
8.พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ วิชชาคือความรู้ จรณะคือความประพฤติ ปัญญาที่พิจารณาถึงสังขาร คือนามรูปโดยไตรลักษณ์ มีต่างกันออกไปเป็นชั้นๆต่อเนื่องกัน
11.พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระญาณอันเป็นกำลังของพระตถาคต 10 ประการ
16.พระพุทธเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมี คือ เป็นผู้รู้ในทุกหนทางที่ปฏิบัติดำเนินไป และทุกสถานที่ๆทรงเสด็จไป