ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
๑. อริยมรรคมีองค์ ๘ มรรค แปลว่า ทาง ,
อริยมรรค หมายถึง หนทางอันประเสริฐ 8 ประการ ที่ดับทุกข์ได้ วิธีปฏิบัติเพื่อดับทุกข์ หรือ มัชฌิมาปฏิปทา ทางสายกลาง คือเป็นการปฏิบัติที่ไม่ตึงและไม่หย่อนไปทางใดทางหนึ่ง
หรือจิตตภาวนา การทำจิตให้เจริญ การสร้างสมาธิและปัญญาให้เพิ่มมากขึ้น
๒. จิตตสิกขา ๓ ศิลสิกขา การศึกษาด้วยการปฏิบัติ ซึ่งองค์ทั้ง ๘ ของมรรคนี้
๑. ปัญญาสิกขา การศึกษาในเรื่องปัญญา สัมมาทิฎฐิ สัมมาสังกัปปะ
๒. จิตตสิกขา การศึกษา สมาธิ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ
๓. สีลสิกขา การศึกษาศีล สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ
ปัญญาก็คือความรอบรู้ในเรื่องการดับทุกข์,
สมาธิก็คือความตั้งมั่นแห่งจิต,
ศีลก็คือจิตที่เป็นปกติ (เพราะมีกายและวาจาที่เรียบร้อย)
ศีล สมาธิ และปัญญา หรือองค์ทั้ง ๘ ของมรรคนี้จะทำงานร่วมกันเป็นหนึ่งเดียว ซึ่งก็คือการทำจิตให้ว่างจากความรู้สึกว่ามีตัวตน-ของตน คือเป็นการใช้สมาธิมากำจัดความรู้สึกว่ามีตัวตน-ของตนออกไปโดยมีปัญญาควบคุมอยู่ และก็ต้องมีศีลหรือจิตที่ปรกติเป็นพื้นฐาน
๓. สัมมาทิฎฐิ ความเห็นถูกต้อง Right View, Right Understanding การมีดวงตาเห็นธรรม เริ่มศึกษาเรื่อง ธาตุ ขันธ์ อายตนะ กรรม กฎอิทัปปัจจยตา กฎไตรลักษณ์ รู้อกุศล อกุศลมูล กุศล กุศลมูล เห็นปฏิจจสมุปบาท อนุสัย อาสวะ สังโยชน์ แล้วเห็นแจ้งในอริยสัจ ๔ สัมมาทิฎฐิในระดับต้น เชื่อว่าให้ทานมีผล พ่อแม่มีพระคุณ ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบมีอยู่ นี้แล้วจึงจะมีคุณสมบัติพอที่จะมามีความเห็นถูกต้องในระดับปรมัตถธรรม(สูงหรือลึกซึ้ง)นี้ได้
๔. สัมมาสังกัปปะ ความดำริถูกต้อง Right thought, Intention, Mental Attitude, Motives, Aspiration ความปรารถนา ความใฝ่ฝัน หรือความมุ่งหมาย ในทางที่ดี หรือกุศลวิตก คือเป็นการตริตรึกหรือคิดนึกไปในทางที่ถูกต้อง
๑. เนกขัมมสังกับ ดำริที่จะออกจากกาม ไม่ลุ่มหลงกาม พ้นจากอำนาจกาม
๒. อพยาบาบสังกัป ดำริที่จะไม่พยาบาทมุ่งร้าย ไม่อาฆาตพยาบาทใคร
๓. อวิหิงสา ดำริที่จะไม่เบียดเบียนใคร ด้วยความโง่หรือด้วยความไม่รู้จริง
๕. สัมมาวาจาการพูดจาที่ถูกต้อง Right Speech
วจีสุจริต 4
๑. การมีเจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดไม่จริง
๒. การมีเจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดส่อเสียด ยุยงให้แตกสามัคคี
๓. การมีเจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดคำหยาบ
๔. การมีเจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อไร้สาระ
๖. สัมมากัมมันตะ การกระทำทางกายที่ถูกต้อง Right Action, Right Conduct, Right Behavious
กายสุจริต 3 ประกอบสัมมาชีพ
๑. การมีเจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการฆ่าหรือทำร้ายสิ่งที่มีชีวิต
๒. การมีเจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการถือเอาทรัพย์หรือสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้
๓. การมีเจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย
๗. สัมมาอาชีวะ การอาชีพถูกต้อง Right Livelihood, Right Living, Right Means of Livelihood, Right Pursuits คือให้ประกอบอาชีพที่สุจริตในการเลี้ยงชีวิต อาหาร เลี้ยงชีพชอบ พยายามชอบ
๘. สัมมาวายามะ ความพากเพียรถูกต้อง Right Effort, Right Endeavor, Right Exertionพยายามชอบ
ปธานสัมปธาน 4
๑. เพียรที่จะระวังไม่ให้บาปอกุศลเกิดขึ้น
๒. เพียรที่จะละบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้วให้หมดไป
๓. เพียรที่จะทำกุศลที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
๔. เพียรที่จะทำกุศลที่เกิดขึ้นแล้วให้สมบูรณ์
พระพุทธองค์ทรงสอนว่า “บุคคลจะล่วงพ้นทุกข์ได้เพราะความเพียร” คือการมีแต่ความรู้นั้นยังช่วยอะไรไม่ได้มาก จะต้องมีความเพียรที่จะปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง มั่นคง และกล้าหาญ จึงจะพ้นจากทุกข์ได้จริง.
๙. สัมมาสติ การระลึกถูกต้อง Right Mindfulness, Right Attentiveness
สติปัฎฐาน 4
สติ หมายถึง แล่นมาทัน คือเป็นการระลึกได้ไม่หลงลืม
สัมปชัญญะ หมายถึง รู้สึกตัวอยู่ด้วยปัญญา ซึ่งเรามักเรียกรวมๆว่า
สติสัมปชัญญะ หมายถึง การระลึกเอาปัญญาออกมาใช้งานอยู่
สติสัมปชัญญะนี้ถ้าเป็นทางโลกก็หมายถึงการรู้สึกตัวอยู่ด้วยความรู้โลกๆ ซึ่งยังไม่ใช่สติสัมปชัญญะของมรรค จะต้องเป็นการรู้สึกตัวอยู่ด้วยปัญญาจึงจะเป็นสติสัมปชัญญะของมรรคที่แท้จริง
สัมมาสติที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ก็ได้แก่ “ภิกษุทั้งหลาย.
สัมมาสติเป็นอย่างไรเล่า เป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ, เป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา ทั้งหลายอยู่เป็นประจำ, เป็นผู้พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ, ย่อมเป็นผู้ พิจารณาเห็นธรรมะในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ . มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ ถอนความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้”.
สัมมาสตินี้ก็คือหลักในการปฏิบัติของมรรค คือให้เอาสิ่งที่เป็น กาย, เวทนา,จิต,และธรรมมาพิจารณาตามกฎไตรลักษณ์ ไปตามลำดับ โดยจะต้องไม่ให้มีความพอใจและไม่พอใจเกิดขึ้น
๑๐. สัมมาสมาธิ Right Concentration สมาธิถูกต้อง
ฌาน 4 พระพุทธองค์ทรงสอนว่าเป็นสมาธิขั้นสูงที่เรียกว่า ฌาน โดยเป็นรูปฌาน คือเป็นสมาธิที่เพ่งรูปเป็นอารมณ์ ซึ่งพระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ว่าเป็น ฌาน ที่ ๑ ถึงฌานที่ ๔ จิตจะบริสุทธิ์อ่อนโยนและเหมาะสมที่สุด จะสามารถกำจัดกิเลสให้ระงับดับลงสนิทจริงๆ แต่ก็ต้องมีองค์ประกอบอีก ๗ องค์ของมรรคมาเป็นบริวารคอยช่วยเหลือ ถ้าสามารถปฏิบัติได้ต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ ก็จะทำให้ความเคยชินของกิเลสก็จะเหี่ยวแห้งตายไปเองในที่สุด
๑๑. สมถะ - วิปัสสนา
๑. สมถะ การทำจิตให้สงบระงับ การเพ่งอารมณ์เพื่อให้จิตรวมกำลังเป็นอารมณ์เดียว โดยไม่เกี่ยวกับปัญญา ซึ่งผลจากการเพ่งก็จะได้สมาธิขั้นสูง(ฌาน)
๒. วิปัสสนา การทำจิตให้เกิดปัญญาเห็นแจ้ง การเพ่งค้นหาเหตุปัจจัย,และพิจารณาดูความเกิด-ดับ, ดูความไม่เที่ยง, เป็นทุกข์,และอนัตตา ซึ่งผลจากการเพ่งก็คือทำให้เกิดดวงตาเห็นธรรมและการบรรลุเป็นพระอริยบุคคลในทุกระดับ.
๑๒. วิมุตติ ๒ ความหลุดพ้นทั้งหลายนั้น(คือทั้งอย่างชั่วคราว,ข่มไว้ด้วยสมาธิและอย่างถาวร)
๑. ปัญญาวิมุตติ คือหลุดพ้นโดยมีปัญญานำ
๒. เจโตวิมุตติ คือหลุดพ้นโดยมีสมาธินำ ในการเกิดวิมุตติแต่ละครั้งนั้น จะต้องมีทั้งปัญญาและสมาธิมาทำงานร่วมกัน โดยมีศีลรองรับอยู่ ซึ่งบางคนก็มีสมาธิน้อย แต่อาศัยการเพ่งพิจารณามากกว่า ก็จะเกิดความหลุดพ้นแบบปัญญาวิมุตติได้ ส่วนบางคนมีสมาธิมากก็อาศัยสมาธินำโดยมีปัญญาควบคุมอยู่ข้างหลัง ก็จะเกิดความหลุดพ้นแบบเจโตวิมุตติได้.
๑๓. จิตว่าง คือ อริยมรรค มักเรียกว่ากรรมฐาน หมายถึง ที่ตั้งแห่งการงาน หน้าที่ในการกำจัดกิเลส (ทำลายอนุสัย ตัดสังโยชน์ หรือกำจัดทุกข์ หรือทำนิพพานให้แจ้ง) ซึ่งก็สรุปอยู่ที่ “การมีสติ ระวังไม่ให้นิวรณ์และกิเลสเกิดขึ้น และเพ่งให้จิตว่างจากความยึดมั่นว่ามีตัวตน-ของตน(หรือตัวเรา-ของเรา หรือตัวกู-
๑. สมมถะกรรมฐาน คือมีจิตที่สงบระงับเป็นที่ตั้ง
๒. วิปัสสนากรรมฐาน คือมีจิตที่รอบรู้เป็นที่ตั้ง